รายงานพิเศษ : การประชุมจี-20 จะนำรอยยิ้มมาสู่ชาวโลกได้สมดังราคาคุยหรือไม่ (2 เม.ย.52 : 07.00 น.)

รายงานพิเศษ : การประชุมจี-20 จะนำรอยยิ้มมาสู่ชาวโลกได้สมดังราคาคุยหรือไม่ (2 เม.ย.52 : 07.00 น.)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้ประกาศ : บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 ชาติ หรือจี 20 ทยอยเดินทางมารวมตัวกันที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดจี 20 ที่กำลังจะมีขึ้นอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ ผลการหารือเพื่อแก้ไขวิกฤตการเงินโลกซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการประชุมครั้งนี้ จะสามารถทำให้ชาวโลกยิ้มรับด้วยความเห็นชอบ สมดังราคาคุยขององค์กรชั้นนำโลกอย่าง จี 20 ได้หรือไม่ ติดตามจากรายงานพิเศษ ผู้รายงาน : เวลาในขณะนี้ที่ประเทศอังกฤษเพิ่งจะเริ่มต้นวันใหม่ของวันที่ 2 เมษายน 2552 ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง เนื่องจากเวลาที่อังกฤษต่างจากเวลาในประเทศไทยถึง 6 ชั่วโมง และคาดว่าการประชุมกลุ่มจี 20 ที่จะมีบรรดาผู้นำชั้นมันสมองจากประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เข้าร่วมการประชุม กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ ขณะที่ เมื่อวันที่ 14-15 มีนาคมที่ผ่านมา บรรดารัฐมนตรีคลังจากประเทศสมาชิก จี 20 ได้จัดการประชุมขึ้นเป็นการโหมโรงไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งผลการประชุมมีทั้งด้านที่ให้ความหวัง และด้านที่รายละเอียดของแนวทางปฏิบัติยังคงเลือนลางไม่ชัดเจนนัก ดังนั้น เมื่อนำประเด็นต่างๆ ที่ได้จากการประชุมดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดจี 20 หนทางแห่งความหวังน่าจะอยู่ที่การดำเนินการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจับตามองอีกประการหนึ่งได้แก่ ข้อตกลงที่บรรดาประเทศสมาชิกจี 20 จะเพิ่มเงินสมทบให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ. ซึ่งรวมถึงประเทศจีน ว่าที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชียด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะสามารถแสดงความคิดเห็น มีปากมีเสียง และมีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กรชั้นแนวหน้าของโลกแห่งนี้ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งของการประชุมอันยิ่งใหญ่ที่มักจะมีขึ้นควบคู่กัน ก็คือการชุมนุมประท้วง โดยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ก็มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ กว่า 150 องค์กร ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เรียกร้องไม่ให้ปลดพนักงาน และควบคุมภาคการเงินให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวในเยอรมนีและฝรั่งเศส ก็รวมตัวประท้วงการประชุมจี 20 โดยสมาชิกคณะกรรมการคาทอลิกต่อต้านความหิวโหยและการพัฒนา หรือซีซีเอฟดี. ราว 1,000 คน ชุมนุมเคลื่อนไหวที่นครแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี ขณะที่ สมาชิกกลุ่มซีซีเอฟดี. อีกส่วนหนึ่งราว 200 คน ก็ชุมนุมเคลื่อนไหวที่กรุงปารีส ของฝรั่งเศส โดยกลุ่มดังกล่าวประท้วงต่อต้านที่กลุ่มจี 20 มีแนวคิดคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือด้านภาษีเพื่อแก้ปัญวิกฤติเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการประชุมสุดยอดจี 20 ได้แก่ การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดเสถียรภาพในตลาดการเงินและทำให้ธุรกิจ ตลอดจนครอบครัวสามารถผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการปฏิรูปและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงินและเศรษฐกิจโลก และผลักดันให้เศรษฐกิจโลกดำเนินไปบนหนทางที่จะนำไปสู่การเติบโตที่ยังยืน ทั้งนี้ ประชาคมโลกต่างเฝ้ารอและหวังว่าบรรดาผู้นำชั้นหัวกะทิของโลกจะกลั่นผลผลิตออกมาจากมันสมองที่เยี่ยมยอดของพวกเขา ประคับประคองให้เศรษฐกิจโลกสามารถยืนได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง สมดังราคาคุยแห่งความเป็นองค์กรชั้นนำของโลกได้หรือไม่ ขณะที่ชาวไทยทั่วทั้งประเทศต่างเฝ้ารอชมและฟังว่า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้รับเชิญไปร่วมการประชุมครั้งนี้ จะสามารถสร้างความประทับใจให้กับชาวโลกและชาวไทยอย่างไรบ้าง พรทิพย์ แสงมหาชัย เรียบเรียง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook