จักษุแพทย์เตือนโรคตาเสื่อมตาบอดได้

จักษุแพทย์เตือนโรคตาเสื่อมตาบอดได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คมชัดลึก : จักษุแพทย์เตือนโรคตาเสื่อมไม่ระวังตาบอดได้ แนะสังเกตหากมองเห็นจุดตรงกลางภาพเป็นสีดำ ภาพเบลอ บิดเบี้ยว รีบปรึกษาจักษุแพทย์ ชี้สิงห์อมควันเสี่ยง3 เท่า ระบุอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพตาทุก 1-2 ปี รศ.นพ.วิชัยประสาทฤทธาหัวหน้าหน่วยจอประสาทตาภาควิชา จักษุ วิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดเผยว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมหรือโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุพบมากในผู้สูงอายุวัย50ปีขึ้นไปและถือเป็นกลุ่มเสี่ยงควรสังเกตอาการหากมองเห็นจุดตรงกลางภาพเป็นสีดำภาพเบลอบิดเบี้ยวรีบปรึกษา จักษุ แพทย์ทันทีโดยเฉพาะอายุ40ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพตาทุก1-2ปีเพราะเมื่ออายุมากขึ้นสายตาเปลี่ยนแปลงได้เช่นต้อหินต้อกระจก โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุนี้มาจากหลายปัจจัยเช่นขบวนการเสื่อมสภาพของร่างกายพันธุกรรมการติดเชื้อสายตาสั้นมากๆการสูบบุหรี่ซึ่งหลักฐานการศึะเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง3เท่าและเกิดโรคนี้เร็วกว่าผู้ไม่สูบถึง10ปีรวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานฮอร์โมนทดแทนพบว่าเสี่ยงเป็นโรคนี้รศ.นพ.วิชัยกล่าว รศ.นพ.วิชัยกล่าวต่อว่าโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุแบ่งได้ออกเป็น2รูปแบบคือแบบแห้ง(DryAMD)และแบบเปียก(WetAMD)ซึ่งรูปแบบที่พบได้มากที่สุดคือแบบแห้งเกิดจากการเสื่อมสลายและบางลงของบริเวณศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา(Macula)จะทำให้การมองเห็นค่อยๆลดลงและเป็นไปอย่างช้าๆส่วนแบบเปียกนั้นแม้จะพบได้ประมาณ15-20%ของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมดแต่ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดตาบอดอย่างรวดเร็วเกิดจากการที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมาหากเส้นเลือดที่เปราะบางเกิดการรั่วซึมจะทำให้จุดรับภาพบวมภาพเริ่มพร่ามัวและตาบอดในที่สุด กควรงดสูบบุหรี่หลีกเลี่ยงแสงแดดควบคุมน้ำหนักไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูงรับประทานผักใบเขียวผลไม้ทุกวันรวมถึงสารอาหารที่มีประโยชน์กับดวงตาเช่นวิตามินซีวิตามินอีสังกะสีเบต้าแคโรทีนโอเมก้า3ลูทีนซีแซนทีนรศ.นพ.วิชัยกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ข่าวสังคมวันนี้ (ศุกร์ที่ 13 มี.ค. 52) จักษุแพทย์เตือนโรคตาเสื่อมตาบอดได้แนะวัย40ปีรับการตรวจสุขภาพตาทุก1-2ปี มองโลกงามผ่านดวงตาสวยด้วย เวป อาย-คิว บอกเล่าท้องถิ่น-อบต.เกาะคอเขา พร้อมรับ สึนามิผุด 3 หอเตือนภัย 1 อาคารหลบภัย ดวงตา กับพัฒนาการของลูกน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook