จุฬาฯเสวนา19ปีปฏิ-Loopสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย

จุฬาฯเสวนา19ปีปฏิ-Loopสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย

จุฬาฯเสวนา19ปีปฏิ-Loopสื่อวิทยุโทรทัศน์ไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จุฬาฯ จัดเสวนาสาธารณะ '19 ปี ปฏิ-Loop สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ไทย...ต่อไปอย่างไร' เพื่อระดมความคิดเห็นหาแนวทางขับเคลื่อนไปสู้เป้าหมาย

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการสื่อสันตภาพ สถานีวิทยุแห่งจุฬาและศูนย์สื่อสารองค์กรจุฬาฯ จัดการเสวนาสาธารณะเรื่อง 19 ปี ปฏิ-Loop สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ไทย...ต่อไปอย่างไร เพื่อทบทวนและวิพากษ์การปฏิรูปสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ของไทยที่ผ่านมา และระดมความคิดเห็นร่วมกันหาแนวทางขับเคลื่อนให้การปฏิรูปสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ดำเนินต่อไปสู่เป้าหมาย เสริมสร้างบทบาทสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง

โดยมี ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนา อาทิ ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ เลขาธิการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา อดีตอนุกรรมการด้านพิจารณาความจำเป็นในการใช้คลื่นในกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ นายจักรกฤษณ์ เพิ่มพูน อนุกรรมการด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ในกรรมาธิการด้านสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นายวิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ

ผศ.ดร.พิรงรอง กล่าวว่า การปฏิรูปคือการทำให้เกิกรูปแบบใหม่ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ไม่สามารถเรียกว่าการปฏิรูป

ทั้งนี้ ที่มาของการปฏิรูปสื่อไทยค่อนข้างสอดคล้องไปกับการปฏิรูปการเมือง ภายหลังจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เพิ่มองค์กรอิสระขึ้นมามากมาย รวมถึง กสทช. ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมสื่อ นอกจากนี้ แง่ความเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุ โทรทัศน์อยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐ ซึ่งนำไปสู่การควบคุมเสรีภาพและปิดกั้นสื่อ ทำให้สื่อถูกเหมารวมขาดความน่าเชื่อถือ และความชอบธรรมในสื่อข้อสังเกตต่อมาตราที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อ ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 จะเห็นว่า คลื่นความถี่ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึง แต่กลายไปเป็นหน้าที่ของรัฐ และหวนคืนสู่การควบคุมโดยรัฐ

อย่างไรก็ตาม แนวทางการปฏิรูปสื่อนั้น จะต้องสร้างและบังคับจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อ ในการทำเพื่อสาธารณประโยชน์ พร้อมกับการยกระดับมาตรฐานผู้รับสื่อให้มีการรู้เท่าทันสื่อด้วย


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล