20พรรคร่วมฟังกรธ. แจงร่างพ.ร.ป.ไร้เงาเพื่อไทย

20พรรคร่วมฟังกรธ. แจงร่างพ.ร.ป.ไร้เงาเพื่อไทย

20พรรคร่วมฟังกรธ. แจงร่างพ.ร.ป.ไร้เงาเพื่อไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พรรคการเมืองทยอยฟัง กรธ. ชี้แจงร่าง พ.ร.ป. กว่า 20 พรรค แต่ยังไร้เงาเพื่อไทย ขณะที่ ปชป. ร่วมฟัง จี้ ทบทวนระเบียบสมาชิก

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. จัดโครงการสัมมนาเรื่อง "ชี้แจงสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ... (ร่างเบื้องต้น) ซึ่งวันนี้ มีพรรคการเมืองร่วมลงทะเบียนกว่า 20 พรรค อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคกสิกรไทย พรรคพลังชล พรรคการเมืองใหม่ พรรคประชาสันติ พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย พรรคไทยรักธรรม พรรคไทยพอเพียง พรรคเอกราชไทย พรรคประชากรไทย แต่ไม่มีตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมแต่อย่างใด 

โดย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาจัดตั้งพรรค เพราะกลไกที่ออกแบบทำให้พรรคการเมืองต้องพึ่งพิงนายทุนมากขึ้น โดยเฉพาะการให้พรรคมีทุนประเดิม อย่างน้อย 1 ล้านบาท โดยเรียกเก็บจากสมาชิกพรรค และยังไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขการหาสมาชิกพรรคการเมือง ที่ทำได้ยาก ซึ่งหากทำไม่สำเร็จ ก็ส่งผลให้พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพ ถือเป็นการจำกัดสิทธิ์ ของพรรคการเมืองด้วย


ปชป.ร่วมฟังกรธ.แจงพรป.จี้ทบทวนระเบียบสมาชิก

นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนเข้ายื่นหนังสือถึง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนร่วมเวทีสัมมนาชี้แจงสาระสำคัญร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ที่ กรธ. จัดขึ้น โดยมีข้อเสนอขอให้ทบทวนกรอบเวลาในการจัดระเบียบสมาชิกพรรคการเมือง เรื่องการชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองจากเดิม 150 วัน เป็น 4 ปี ส่วนสมาชิกที่ไม่ได้ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองภายในกำหนดนั้น ไม่ควรกำหนดให้พ้นจากความเป็นสมาชิกโดยทันที เนื่องจากสมาชิกบางคนอาจไม่สะดวกในการชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้น ควรกำหนดว่า หากไม่ชำระค่าบำรุงก็ไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หรือสิทธิ์อื่น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ หากไม่ให้ชำระเงินผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะชำระเงินภายในเวลากำหนด

ขณะเดียวกัน ที่กำหนดให้ทุกสาขาพรรคการเมือง จะต้องมีสมาชิกที่จ่ายเงินค่าบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 500 คน นั้น เห็นว่า เป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง และเป็นไปได้ยาก เนื่องจากพรรคการเมืองใหญ่ มีสาขาพรรคในแต่ละภาคเป็นจำนวนมาก และท้ายที่สุดจะบีบให้เหลือเพียงภาคละหนึ่งสาขา ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของ กรธ. ที่ต้องการให้มีสาขาพรรคจำนวนมากเช่นกัน



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล