สธ.ดับฝัน "วู้ดดี้" คู่รักชายกฏหมายไม่อนุญาตทำอุ้มบุญ

สธ.ดับฝัน "วู้ดดี้" คู่รักชายกฏหมายไม่อนุญาตทำอุ้มบุญ

สธ.ดับฝัน "วู้ดดี้" คู่รักชายกฏหมายไม่อนุญาตทำอุ้มบุญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่ วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา ดาราพิธีกรชื่อดังออกมาระบุว่า ตนเตรียมที่จะทำการอุ้มบุญ หลังจากที่ได้แต่งงานกับแฟนหนุ่ม ซึ่งตอนแรกจะให้เพื่อนซี้ อย่าง สาวกาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ พิธีกรชื่อดัง เป็นคนทำอุ้มบุญให้ แต่ สาวกาละแมร์ ได้ออกมาปฏิเสธ โดยได้น้องสะใภ้จะอาสาเป็นคนอุ้มบุญแทนนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 กันยายน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า มาตรา 21 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การตั้งครรภ์แทนจะดำเนินการต้องเป็นกรณีที่เป็นสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ประสงค์จะมีบุตรแต่ภรรยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้

ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศไทย อนุญาตให้มีการจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น คู่รักชายรักชายยังไม่สามารถจดทะเบียนเป็นสามีภรรยากันได้ จึงไม่ถือเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แทนหรือทำอุ้มบุญได้ในประเทศไทย

ทพ.อาคม กล่าวอีกว่า กรณีที่เป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน จะต้องยื่นขออนุญาตจากคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (คทพ.) ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ยื่นขออนุญาตจะต้องเป็นผู้ให้บริการคือ แพทย์ โดยจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นราย ๆ ไป แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่ได้ดำเนินการยื่นขออนุญาตด้วยตัวเองจะมอบหมายให้ตัวแทน จึงอาจเป็นได้ว่าสามีภรรยาที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ยื่นขออนุญาตเอง แต่จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากแพทย์ที่จะให้บริการ สามีภรรยาไม่สามารถยื่นขออนุญาตเองโดยไม่มีหนังสือจากแพทย์

ทั้งนี้ ปัจจุบัน คทพ. มีการอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนแล้ว 57 ราย และมีอีกจำนวนหนึ่งที่ยื่นเรื่องมาขออนุญาตแต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

"ในส่วนของหญิงที่จะตั้งครรภ์แทนนั้น โดยหลักการจะต้องไม่เป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภรรยาที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน คือต้องไม่เป็นแม่หรือลูกของคู่สามีภรรยา และหากมีญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยา ที่สามารถตั้งครรภ์แทน ได้จะพิจารณาจากตรงนี้ก่อน หากพบว่าไม่มีตรงนี้ จึงจะพิจารณาให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้ ซึ่งหากเป็นน้องสะใภ้ก็สามารถตั้งครรภ์แทนได้ แต่จะต้องเป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนดด้วย อย่างเช่น มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 40 ปีบริบูรณ์ และเคยมีบุตรมาแล้วโดยการคลอดตามธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือในกรณีที่ผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง และเป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือชายที่อยู่กินฉันสามีภรรยา เป็นต้น" ทพ.อาคม กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook