จิตแพทย์คนดังชี้ ดีเจเก่ง มีปัญหาสุขภาพจิต คล้าย EQ ต่ำ

จิตแพทย์คนดังชี้ ดีเจเก่ง มีปัญหาสุขภาพจิต คล้าย EQ ต่ำ

จิตแพทย์คนดังชี้ ดีเจเก่ง มีปัญหาสุขภาพจิต คล้าย EQ ต่ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่โลกออนไลน์มีการเผยแพร่คลิปวีดีโอเหตุการณ์ รถกระบะถอยรถชนรถเก๋ง โดย "ดีเจเก่ง" นายภัทรศักดิ์ เทียมประเสริฐ ซึ่งเป็นคนขับรถกระบะ อ้างกับผู้ถ่ายคลิปว่า คนขับรถเก่งจะชกตัวเอง และชนท้ายรถเอง พร้อมพูดว่า "ขอความเห็นใจด้วยครับผม เจอคนแบบนี้ ในสังคมแบบนี้ แย่มากครับ" ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์นั้น

เฟซบุ๊ก นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล (Kampanart Tansithabudhkun, M.D.) ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชื่อดัง ได้โพสต์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ม.ค. มีข้อความดังนี้  

จากกรณีคดีดัง ผมมีคำถามและข้อแนะนำตามประสาคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมาสอบถามครับ ถ้าใครพอจำกรณีเหตุการณ์ของลูกชายนางสาวไทยคนหนึ่งที่มีกรณีขับรถแล้วทะเลาะกับคนขับรถเมล์จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้และมีการถอยรถที่ตัวเองขับขึ้นมาบนทางเท้าแล้วชนจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บไปหลายคน

จนล่าสุดศาลฎีกาได้มีการพิพากษาและลงโทษไปเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยเองก็มีประวัติการตรวจสภาพจิตจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์(นิติจิตเวช)ด้วยแต่มิได้เป็นข้อยกเว้นในการมิต้องรับโทษแต่คาดว่าจะเป็นการลดหย่อนโทษแทน

สมัยก่อนการถ่ายคลิปต่างๆ ยังไม่ได้ชัดเจนเท่ากับในสมัยปัจจุบันจากหลักฐานที่หลายคนได้ชมจากข่าวและติดตามจาก social media ในวันนี้ ผม มีคำถามที่อยากจะถาม ว่า

กรณีดังกล่าว ถ้าใครได้ชมก็จะเห็นว่ามีความตั้งใจที่จะถอยรถมาชนหลายครั้งมิใช่แค่ครั้งเดียว ซึ่งกรณีดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องของอุบัติเหตุแต่เกิดจากการถูกกระตุ้นอารมณ์และควบคุมอารมณ์มิได้แล้วก่อเหตุขึ้นมา อยากถามว่าพฤติกรรมดังกล่าวดูเหมือนกันพยายามฆ่าหรือทำร้ายให้บาดเจ็บ

พฤติกรรมแบบนี้ถือว่ายอมความตามกฎหมายอาญาได้หรือไม่? การกระทำดังกล่าวน่าจะอยู่ภายใต้อารมณ์ที่ขุ่นมัว และแสดงออกมาโดยการใช้ความก้าวร้าวรุนแรงต่อผู้อื่น แบบนี้ถือว่ามีปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่ควรใช้คำว่าโรคจิต เพราะโรคจิตในทางการแพทย์ จะหมายถึง กลุ่มคนที่มีความเจ็บป่วย เช่นมีหูแว่ว ประสาทหลอนมีอาการหวาดระแวงคำว่าโรคจิตกับปัญหาสุขภาพจิต 2 คำนี้ไม่เหมือนกัน

แต่คำว่าปัญหาสุขภาพจิตสามารถหมายรวมถึง คนซึ่งมีปัญหาบุคลิกภาพ (Personality Disorder ) ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของความสามารถในการควบคุมตัวเองที่ไม่ดี และพูดจาออกมาในเรื่องที่ไม่เป็นจริง เหมือนกับคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ( Low EQ)

ดังนั้นควรจะหาสาเหตุว่าการควบคุมอารมณ์ที่ไม่ดีมีต้นตอมาจากอะไรบ้าง เช่น จากนิสัยดั้งเดิมหรือมีปัญหาบุคลิกภาพเดิมที่ชอบใช้ความรุนแรงอยู่แล้วหรือไม่ เคยเป็นแบบนี้มาก่อนหรือไม่ หรืออยู่ภายใต้การมึนเมาของสารเสพติดหลายๆ อย่าง เช่น สุราหรือยาเสพติดหรือไม่

สิ่งเหล่านี้เมื่อมีการก่อคดีเกิดขึ้น ควรจะได้มีการตรวจสอบ มิใช่ปล่อยให้เรื่องราวจบลงง่ายๆ อย่างที่เห็นกันบ่อยๆ แล้ววันข้างหน้าปัญหาที่ไม่ได้จัดการจะกลับมาเกิดอีก แล้วจะมีใครรับประกันว่าจะไม่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้น

อยากเรียนถามนักกฎหมายหรือผู้รู้ว่าในกรณีแบบนี้สมควรยอมความได้หรือเปล่า หรือยอมความมิได้เนื่องจากเป็นคดีอาญา?

ฝากทิ้งท้ายไว้นะครับตอนนี้สังคมไทยได้เสพข่าวการใช้ความรุนแรงในสังคม จากคนหนุ่มคนสาวติดต่อกันแทบทุกวัน บางคราวบางคนหลังจากใช้ความรุนแรงแล้ว สื่อบ้างเจ้ายังเอามาลง ถ่ายรูปเซ็กซี่เอามาเผยแพร่ ราวกับว่าชื่นชมในรูปลักษณ์ ความสวยความงามโดยไม่ได้คำนึงถึงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจก่อนหน้านี้มาก่อนเลย

 อยากให้สื่อในประเทศไทย หัดใช้สมองคิด และเลิกชื่นชมคนที่รูปลักษณ์ภายนอกและชี้นำสังคมไปในช่องทางที่ผิดได้แล้ว มิใช่วันนี้ตบตีทำร้ายกันโกหกใส่กัน ก้าวร้าวใส่กัน แต่เนื่องจากเป็นคนหน้าตาดี ฐานะดีหรือเป็นคนดัง วันพรุ่งนี้ก็รีบดึงตัวมาออกรายการแล้วก็หาประเด็นสัมภาษณ์สร้างรายได้ให้กับรายการของตัวเอง บางเจ้าก็ช่วยกันแก้ตัวให้กัน แบบ"แถ"บ้าง หรือแถไม่รอดแล้ว ก็มาจบลงที่"รู้เท่าไม่ถึงการณ์" อีกตามเคย ขอพูดตรงๆนะครับมันเสื่อมมาก!

ปล.เคสคล้ายๆ แบบนี้ ถ้าจับมาตรวจปัสสาวะและตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด คงอึ้งไปได้อีกเยอะ ทำไมไม่ทำกันละครับ กฎหมายห้ามหรือไร?"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล (Kampanart Tansithabudhkun, M.D.)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook