อีกมุม กรุงเทพฯ แสงสีแห่งความสุข จุดเริ่มต้นรอยยิ้มคนไทย

อีกมุม กรุงเทพฯ แสงสีแห่งความสุข จุดเริ่มต้นรอยยิ้มคนไทย

อีกมุม กรุงเทพฯ แสงสีแห่งความสุข จุดเริ่มต้นรอยยิ้มคนไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากโข สำหรับของขวัญวันปีใหม่ที่ทางกรุงเทพมหานครมอบเป็นของขวัญให้แก่ คนกรุงและประชาชนทั่วประเทศได้เดินทางเข้ามาชมไฟลานคนเมือง "กรุงเทพฯแสงสีแห่งความสุข Bangkok Light of Happiness" กิจกรรมการประดับตกแต่งไฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2558 -30มกราคม 2559

ซึ่งหลังจากเดินชมจนทั่วก็ไม่ได้เกิดความรู้สึกด้านลบแต่อย่างใด เพราะตั้งแต่เดินเข้ามาภายใน ถนนดินสอ ก็พบ เหล่าพ่อค้าแม่ค้า ที่มาขายของ ในทุกๆ วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า ถนนคนเดิน ตั้งหน้าตั้งตาขายดิบขายดีกันทุกร้าน ที่สำคัญ รสชาติอาหารแต่ละร้าน อร่อยถูกปากไปหมด ตลอดทางจึงได้สัมผัสกับรอยยิ้มของทั้งคนซื้อและคนขาย พอเดินเข้ามาภายในลานไฟ สิ่งที่ได้รับมากกว่าการมาดูไฟคือ ได้สัมผัสบรรยากาศแห่งครอบครัว อบอุ่น พ่อจูงลูก แม่อุ้มลูก บางคนพาอาม่า อากงเข็นรถเข็น เพื่อมาดูไฟ มาถ่ายรูปครอบครัว และได้รับรอยยิ้มกลับบ้าน

ที่สำคัญยังมีกิจกรรมมากมายภายในงานอีกด้วย โดยกิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 1-4 ทุ่มของทุกวัน โดยทางกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการแสดงร่วมสร้างสีสัน เพื่อสร้างความสุข แก่ผู้คนที่แวะมาเที่ยวชมไฟอีกด้วย

แค่นี้ ก็ถือว่าคุ้มค่ามากแล้ว กับการมาเที่ยว 1 ครั้ง แค่ได้เห็นรอยยิ้มคนไทยด้วยกัน และถ่ายรูปกับหลอดไฟ หลายล้านดวง หลากสีสันก็ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่ดีอีก 1 ปี

กรุงเทพฯ แสงสีแห่งความสุข (BangkokLightofHappiness) เป็นนิทรรศการประดับไฟครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการออกแบบประยุกต์แผงไฟให้สอดคล้องกับศิลปะและเรื่องราวในวรรณคดีไทยโดยใช้ตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานครพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณทรงเครื่องอันหมายถึงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชาเป็นแนวคิดหลักรวมถึงสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานครอันได้แก่ พระที่นั่งอนันตสมาคมวรรณคดีไทยเรื่องเล่าโบราณคติความเชื่อพุทธ-จักรวาลในแบบพุทธ-ฮินดูอาทิอิเหนาสมบัติอัมรินทร์คำกลอนกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานไตรภูมิพระร่วงเป็นต้นโดยการออกแบบได้ยึดสีหลักของพระวรกายพระอินทร์ตามคัมภีร์ฤคเวทตอนต้นและตอนปลายการออกแบบลวดลายดอกไม้เป็นลายประยุกต์จากบทพรรณนาโวหารในวรรณคดีไทยเช่นดอกพุทธชาดดอกมะลิลาดอกเกี้ยวเกล้าดอกรสสุคนธ์ดอกกุหลาบดอกกระดังงาเป็นต้นนอกจากนั้นลวดลายในแผงไฟยังใช้แนวจินตนาการจากนาฏกรรมไทย คือ รำย่าหรันตามนกยูง และบทเพลงบุหลันลอยเลื่อนรวมถึงสัตว์มงคล 9 ชนิด ได้แก่ นกยูง เป็นสัตว์มงคลสัญลักษณ์ของความงดงามความรักความสุขความโชคดีความเจริญในด้านการเงิน โลมา เป็นสัญลักษณ์ของ ความรัก ความโชคดี ความสำเร็จ ความอุดมสมบรูณ์ และมิตรภาพอันดีงาม กวางทอง แทนเทพเจ้าลกใน ฮกลกซิ่วหมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์ มั่งมีศรีสุข อุดมสมบูรณ์ อายุยืน นกฮูก สัญลักษณ์แห่งความฉลาดรอบรู้ กระต่าย เป็นสัญลักษณ์ของความอายุยืน ความมีอำนาจ เป็ดน้ำ แทนความอุดมสมบรูณ์ พบเห็นได้ตามตู้พระธรรมตู้พระไตรปิฎก หรือจิตรกรรมฝาผนัง นกแก้ว สัญลักษณ์ของความรัก ความปรารถนาดี ผีเสื้อ สัญลักษณ์ของความสุขสบาย ความสุขไร้กังวล และนกพิราบ แทนสันติภาพและความปรารถนาดี

เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 18.00-24.00 น. ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มกราคม นี้


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook