นักวิชาการเสนอแผน3ระยะรับมือภัยแล้ง

นักวิชาการเสนอแผน3ระยะรับมือภัยแล้ง

นักวิชาการเสนอแผน3ระยะรับมือภัยแล้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการเสนอแผน 3 ระยะรับมือ ผลกระทบภัยแล้งปีหน้า จัดระบบสำรองน้ำ กติกาใช้อย่างชัดเจน ชี้ ภัยแล้งส่งผลกระทบโดยตรงภาคเกษตร หนุนแนวทางรัฐบาลส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำ ผลกระทบและทางออกของภาคเกษตร ว่า จากการบริหารจัดการน้ำในปี 2558 ที่วางแผนจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 2,900 ล้าน ลบ.ม. แต่กลับปล่อยน้ำ 4,113 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเกินจำนวน ทำให้น้ำเหลือกักเก็บในเขื่อนลดลง จึงส่งผลกระทบให้เกิดภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งส่งผลให้เกินความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย อีกทั้ง ในภาคการเกษตร ยังมีผลกระทบต่อเกษตรกรายย่อยสูง ก่อให้เกิดความเสียหายของ GDP ปี 2558 ไป 0.52% ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาครวมประเทศลดลง

ดังนั้น ตนเองจึงได้เสนอแผนรับมือ 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ควรจัดระบบเตือนภัยให้ทันสมัยจัดระบบสำรองน้ำและกติกาจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งในระยะกลาง ควรจัดระบบอนุรักษ์ป่า พัฒนาฝาย และดูแลคุณภาพน้ำ และระยะยาว ควรดำเนินการในโครงการพัฒนาน้ำ ขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ทั้งนี้ หากได้รับความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ จะทำให้สถานการณ์น้ำดีขึ้น ที่สำคัญ รศ.ดร.สุจริต ได้เสนอว่าในอนาคตควรมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำยืดหยุ่น เพื่อการจัดการน้ำ ในลักษณะของอ่างพ่วง และอ่างฝาย


ด้าน ศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงผลกระทบภัยแล้งต่อภาคเกษตรและการปรับตัวด้วยการเกษตรแบบใหม่ ว่า ผลกระทบของความแห้งแล้งโดยตรงต่อภาคการเกษตร ทำให้ลดผลิตภาพของพืชเกษตร ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ และประมง โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรายย่อย ส่งผลให้อัตราการตายของปศุสัตว์และสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบโดยอ้อมคือทำให้ลดรายได้ของครัวเรือนเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ภาษีลด หนี้เพิ่ม

สำหรับแนวทางการปรับตัวรับมือของเกษตรกร ควรงดปลูกพืชในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะขาดน้ำผิวดิน ใต้ดิน หรือพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ พืชตระกูลถั่ว ทั้งถั่วเหลืองและถั่วเขียว รวมทั้งมองว่าควรมีแนวทางการ่วมมือเกษตรกรแบบใหม่ ซึ่งยึดความแม่นยำ การเก็บข้อมูลพร้อมพิกัด และจัดการความแปรปรวน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล