หน้าที่ของรัฐ ในการจัดสวัสดิการให้ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

หน้าที่ของรัฐ ในการจัดสวัสดิการให้ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

หน้าที่ของรัฐ ในการจัดสวัสดิการให้ประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ มีการรายงานความคืบหน้าออกมาโดย นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) เมื่อวานนี้ (21 ต.ค.) มีประเด็นที่น่าสนใจมากนะครับ ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งในหมวดดังกล่าวนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย ทีเดียว

ซึ่งในหลักของหมวดนี้ ก็ว่ากันด้วย สิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงออก พูดเขียน การแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพ ในการประกอบอาชีพ โดยการจำกัดเสรีภาพตามมาตรานี้จะเป็นไปเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้เกิดการแข่งอย่างเป็นธรรม ป้องกันและขจัดการผูกขาด และคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

มีประเด็นที่น่าสนใจยิ่งตามที่ โฆษก กรธ.แถลงก็คือ การกำหนดสิทธิหลายแบบของบุคคลที่อยู่ภายในรัฐนั้นๆ โดยสิทธิต่างๆนี้รัฐจะต้องดูแล ซึ่ง ที่ประชุม กรธ.ได้หารือว่ากรณีดังกล่าวควรเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ควรมีให้กับประชาชนหรือบุคคลในรัฐมากกว่า ไม่ควรจะเป็นเรื่องของสิทธิ

จึงย้ายประเด็นดังกล่าวไปอยู่ในหมวดใหม่ ที่จะบัญญัติขึ้นคือ หมวดหน้าที่ของรัฐ ที่รัฐจะต้องดำเนินการเรื่องต่างๆ จัดการสวัสดิการและเรื่องต่างๆให้กับประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาของฝ่ายการเมืองแอบอ้างนำสิ่งที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไปเป็นนโยบายของพรรคการเมือง จึงต้องบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรง

ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าจะเป็นหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วย การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการทางสังคม การเดินทาง เสรีภาพการรวมกลุ่มของประชาชน การสงเคราะห์ผู้พิการ เป็นต้น

ทั้งนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ การแยกหมวด ในเรื่องหน้าที่ของรัฐ ออกมาชัดเจน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิการของรัฐที่ต้องจัดการ ต้องดำเนินการให้กับประชาชน โดยมิให้ขาดตกบกพร่อง และย้ำว่าสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของของรัฐที่ต้องดำเนินการเพื่อดำรงสุขให้กับประชาชนให้กับสังคม

และในเรื่องนี้ ในอนาคต เพื่อนำมาให้แล้ว ที่สำคัญยิ่งก็คือ จะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้กับบุคคลากรของรัฐ ซึ่งก็คือข้าราชการทุกหมู่เหล่า ต้องตระหนักว่า ในการดูแลทุกข์ สุข ให้บริการพื้นฐานเหล่านั้น เป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการ และต้องทำด้วยความสำนึก ไม่ตั้งตนเป็นเจ้านายเหนือประชาชน เหมือนที่ผ่านๆมา

และในการให้บริการก็ต้องทำอย่างเต็มความสามารถ ด้วยจิตวิญญาณของวิชาชีพ อย่างแท้จริง เพราะ ล่าสุดเพิ่งเห็นข่าว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้ทั้งหมดนะครับ ก็คือข่าวที่ว่า โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ระนอง รักษาหนุ่มเคราะห์ร้ายที่ตกสะพานขาหัก ซี่โครงหัก ด้วยการใส่เฝือกให้แล้วให้ยาแก้ปวดมา 3 ถุง เสร็จไล่กลับบ้านไม่มีการให้พักดูอาการที่ค่อนข้างหนัก จนชาวบ้านต้องมาร้องต่อผู้สื่อข่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางโรงพยาบาลคงต้องออกมาชี้แจงอธิบายให้ชัดเจนว่าทำไมถึงมีวิธีปฏิบัติกับผู้ป่วยดังนั้น ข้อเท็จจริง อาการของผู้บาดเจ็บมากน้อยแค่ไหน แต่โดยทั่วไปหากขนาดซี่โครงหัก แต่ไม่มีการให้พักดูอาการจนแน่ใจว่าปลอดภัย ก็คลางแคลงใจอยู่ไม่น้อย...

นี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ เกิดขึ้น และเชื่อว่าที่ผ่านมา ในการดูแลประชาชน การให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐนั้น เจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงานมีปัญหาในทางปฏิบัติพอสมควร ....ดังนั้นส่วนตัวแล้ว ในประเด็นหน้าที่ของรัฐในเรื่องสวัสดิการนี้ เราต้องสนับสนุนให้มีการร่างไว้ในรัฐธรรมนูญตามข้อสังเกตของ กรธ. สิ่งที่อยากเห็นหากรัฐธรรมนูญผ่านออกมาใช้ ก็คือ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความสำนึกในหน้าที่ ตามจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพอย่างแท้จริง.....

โดย...เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook