ครม.เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียน-MOUน้ำ

ครม.เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียน-MOUน้ำ

ครม.เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียน-MOUน้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียน เตรียมลงนามเดือน พ.ย. นี้ พร้อมเห็นชอบปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ - อาเซียน ค.ศ. 2025 พร้อมเห็นชอบกรอบการหารือทวิภาคีไทย-มาเลเซีย, ความร่วมมือยุทธศาสตร์ร่วมชายแดน

พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียน ภายหลังปี 2558 ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมและอากาศ โดยจะมีการลงนามรับรองในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกดำเนินการลดการปล่อยกาศเรือนกระจก และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ขณะเดียวกัน ได้เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทยและจีน เพื่อขยายความร่วมมือการใช้และพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและเสมอภาค โดยจะสนับสนุนสถาบันการวิจัยร่วมกันพร้อมแลกเปลี่ยนนักวิชาการระหว่างกัน 

นอกจากนั้น ได้เห็นชอบ ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ - อาเซียน ค.ศ. 2025 ในการกำหนดการทำงานร่วมกันของประเทศอาเซียน ภายหลังปี 2558 ซึ่งจะประกาศใช้ภายหลังการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสิ้นปีนี้ 

นอกจากนี้ พล.ต.วีรชน ยังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกรอบการหารือการประชุมกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคมนี้

พร้อมยังเห็นชอบกรอบการหารือการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ร่วมชายแดนไทย-มาเลเซีย รวมถึงคณะกรรมการร่วมว่าด้วยยุทธศาสตร์พื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมด้านการเมืองและความมั่นคง ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ต่อการแก้ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ และการบริหารพื้นที่ชายแดน การคมนาคมข้ามแดนและการผ่านแดน รวมถึงเขตเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมกัน และโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลก เชื่อมจังหวัดนราธิวาสของไทยและกลันตันของมาเลเซีย ความร่วมมือแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ที่จะมีการเชื่อมโยงแผนปฏิบัติงานระหว่างพื้นที่ภาคใต้ของไทย และทางเหนือของมาเลเซีย โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทย-มาเลเซีย และการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมในพื้นที่ชายแดน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ชายแดนร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ ความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น ประมง ท่องเที่ยว พลังงาน สาธารณสุข การต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นต้น






แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook