สถานีโทรทัศน์ลาวเผยแนวทางทำข่าวยังมีข้อจำกัด

สถานีโทรทัศน์ลาวเผยแนวทางทำข่าวยังมีข้อจำกัด

สถานีโทรทัศน์ลาวเผยแนวทางทำข่าวยังมีข้อจำกัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานีโทรภาพป้องกันความสงบ สปป.ลาว เปิดเผยแนวทางการทำข่าว ยอมรับยังมีข้อจำกัดในเรื่องบุคลากรและเครื่องมือ

นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวฯ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมาปาณี ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวฯ เข้าพบและประชุมร่วมกับคณะบรรณาธิการฝ่ายสื่อ กระทรวงป้องกันความสงบ ที่นครเวียงจันทน์ เพื่อร่วมพูดคุย ศึกษาดูงาน โดยมี พันโทพรสวรรค์ อุดมเพชร รองกรมบรรณาธิการข่าวสาร กระทรวงป้องกันความสงบ พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ

พันโทบุญดี สุริยะคาน สถานีโทรภาพป้องกันความสงบ หรือ ปทส. เล่าให้ฟังถึงการตั้งสถานีโทรภาพ ว่า ในช่วงก่อตั้งมี เจ้าหน้าที่เพียง 6 คน ปัจจุบันมีบุคลากร กว่า 70 คน ผลิตรายการโทรภาพ ทั้งหมด 13 รายการ จะเน้นข่าวเป็นหลัก กว่า 80 % ที่เหลือเป็นรายการสาระบันเทิง ซึ่ง วัตถุประสงค์หลักๆของ การจัดตั้งสถานีข่าวของ กระทรวงป้องกันความสงบ คือ ต้องการเผยแพร่แนวนโยบายของพรรค กฎหมายกฎระเบียบของรัฐบาล ส่งข่าวสารให้ ประชาชน สำหรับสื่อวิทยุ นั้น ทิศทางข่าว จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับ สถานีโทรภาพ คลื่น FM 101.5 Mhz เริ่มเปิดสถานีตั้งแต่ตี 5 ปิดสถานี เที่ยงคืน มีรูปแบบรายการเน้นข้อมูลข่าวสาร ผลงานของกระทรวงป้องกันความสงบ และเปิดโอกาส ให้ประชาชนชาวลาวได้มีส่วนร่วม โดยการโทรศัพท์ เข้ามาแจ้งเบาะแสยาเสพติด เพื่อนำไปสู่การจับกุม ส่วนหนังสือพิมพ์ นั้น เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตีพิมพ์เพื่อจัดจำหน่ายเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ หยุดวันเสาร์และอาทิตย์ โดยผู้ที่ซื้อจะต้องสั่งจองเข้ามาก่อน เล่มละ 3000 กีบ ขณะที่วารสาร นั้น เป็นรูปแบบของรายเดือน ซึ่งในสาวนของนิตยสาร จะแตกต่างกับนิตยสาร แบบอื่น เพราะนิตยสารป้องกันความสงบ จะเน้นการเผยแพร่ผลงานของกระทรวงป้องกันความสงบ ทฤษฎี และกิจกรรม รวมถึงเป็นบทเรียนให้กับ จนท.ได้ศึกษา ส่วนการหาข่าวของสถานีข่าว นั้น จะมีหน่วยงานต่างๆ ส่งข่าวมาให้ แต่หากเป็นเหตุการณ์ ที่อยู่ตามแขวงต่างๆทั่วประเทศ จะมีผู้สื่อข่าวส่งภาพและข่าวมาที่ส่วนกลางเพื่อเผยแพร่

ทั้งนี้ ตัวแทนของกระทรวงป้องกันความสงบ ยอมรับว่า สถานีข่าว นี้เพิ่งก่อตั้งขึ้น ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนอข่าวสารที่เป็นผลงานของของกระทรวง และรัฐบาล แต่ด้วยข้อจำกัดในหลายๆด้าน จึงทำให้ การนำเสนอข่าวสารยังไม่ทันสมัยมากนัก ทั้งเรื่องบุคลากร และเครื่องมือ




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล