เลิศรัตน์อุบนั่งกรธ.-นันทวัฒน์ค้านใช้รธน.เก่าต้นแบบ

เลิศรัตน์อุบนั่งกรธ.-นันทวัฒน์ค้านใช้รธน.เก่าต้นแบบ

เลิศรัตน์อุบนั่งกรธ.-นันทวัฒน์ค้านใช้รธน.เก่าต้นแบบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'พล.อ.เลิศรัตน์' ระบุ อย่าด่วนสรุปใครนั่ง กรธ. บ้าง ชี้ยังมีเวลาอีกหลายสัปดาห์ ปัดข่าวถูกทาบทามจาก คสช. - 'รศ.ดร.นันทวัฒน์' มองยาก หากนำร่างเดิมมาปรับปรุงต่อ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีตโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวการมีชื่อติด 1 ในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวน 21 คน ว่า อย่าเพิ่งด่วนสรุปตอนนี้ว่าใครจะได้เข้าไปเป็นทำหน้าที่เพราะยังเหลือเวลาในการแต่งตั้งอีกประมาณ 3 สัปดาห์ พร้อมยังปฏิเสธถึงการถูกทาบทามจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วย

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงเรื่องการแต่งตั้งบุคคลที่จะไปทำหน้าในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ว่า อาจเป็นได้ที่อดีตสมาชิก สปช. จะได้เข้าไปเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ แต่จะเป็นใครบ้างจะต้องรอดูอีกครั้ง

 

'นันทวัฒน์'อุบนั่งกรธ.ค้านใช้รธน.เก่าต้นแบบ

รศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า คุณสมบัติบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ควรจะต้องมีความรู้ในแต่ละด้านเช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทั้งหมด เพราะไม่ได้เป็นงานที่ยากมากนัก หากนำร่างเดิมที่เพิ่งถูกคว่ำมาปรับปรุงต่อ เนื่องจากในร่างดังกล่าวมีส่วนดีอยู่มากและไม่เห็นด้วย ที่จะนำรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือ 50 มาเป็นต้นแบบเพราะล้าหลังไปแล้ว

ทั้งนี้ ในฐานะนักกฎหมาย มองว่าคนที่จะเป็นประธานนั้นจำเป็นจะต้องเป็นนักกฎหมาย แต่เมื่อถูกตามว่า ได้รับการติดต่อทาบทามจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อทำหน้าที่ ในส่วนของ กรธ. หรือไม่ รศ.ดร.นันทวัฒน์ ตอบสั้นๆ เพียงว่า เป็นคณบดีต้องทำงานเต็มเวลา หากไปเอง ไม่สมัครแน่นอน แต่หากมหาวิทยาลัยส่งไปเหมือนครั้ง สปช. ก็คงปฏิเสธไม่ได้

 

'เจษฎ์'ยังตอบไม่ได้ร่วมกรธ.อีกหรือไม่

รศ.ดร.เจษฎ์ โทณวณิก อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ไม่สามารถตอบได้ว่าหากได้รับการทาบทามไปร่วมทำงานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) อีกครั้งจะไปหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิด และในเวลานี้พยายามที่จะเร่งเคลียร์งานเก่าที่ค้างอยู่ให้เสร็จ

พร้อมกันนี้ รศ.ดร.เจษฎ์ ยังได้กล่าวถึงคุณสมบัติของคนที่จะไปเป็น กรธ. ว่า ควรเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่มีการระบุว่า คนเป็นประธานไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย ก็อาจเป็นได้ แต่ก็ต้องมีความรู้ในด้านการเมือง เข้าใจบริบทต่างๆ พอสมควร หรืออาจเคยใช้รัฐธรรมนูญ และเป็นที่น่าเชื่อถือของสังคม เพื่อดึงความสามารถของกรรมการคนอื่นๆ มาใช้ในการทำงานได้มากที่สุด


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล