เปิดปมขัดแย้งจีน-อุยกูร์ : อีกหนึ่งผลพวงจากประวัติศาสตร์สู่เกมการเมืองโลก

เปิดปมขัดแย้งจีน-อุยกูร์ : อีกหนึ่งผลพวงจากประวัติศาสตร์สู่เกมการเมืองโลก

เปิดปมขัดแย้งจีน-อุยกูร์ : อีกหนึ่งผลพวงจากประวัติศาสตร์สู่เกมการเมืองโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการนำเสนอเรื่องของชาวอุยกูร์มากเป็นพิเศษ จากความขัดแย้งภายในประเทศ กลายเป็นประเด็นในเวทีการเมืองโลก โดยที่ประเทศไทยเองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายๆ คนอาจจะอยากรู้ว่าชาวอุยกูร์เป็นใคร?

ทำไมจึงสร้างแรงกระเพื่อมในเวทีโลกได้ถึงขนาดนี้ และที่มาที่ไปของเรื่องราวทั้งหมดคืออะไร? Sanook! News มีคำตอบ

ชาวอุยกูร์คือชนชาติที่อยู่ในเขตปกครองตนเอง "ซินเจียงอุยกูร์" ซึ่งอยู่ในความดูแลของจีน อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินใหญ่

อย่างที่ทราบกันว่าจีนคือประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประชากรในจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ หากอ้างอิงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในยุคปฏิวัติโดยเหมา เจ๋อ ตุง ชาวจีนจะถูกแบ่งออกเป็นชนชาติต่างๆ มากกว่า 60 ชนชาติ ในจำนวนนี้มี 10 ชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลาม และหนึ่งในนั้นคือ "อุยกูร์"

ย้อนกลับไปในยุคก่อนปฏิวัติ ดินแดนของชาวอุยกูร์เคยเป็นอิสระมีโอกาส ได้ปกครองตนเองเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็มีการประกาศตั้งตัวเป็นรัฐอิสระ ภายใต้ชื่อ "เตอร์กิสถานตะวันออก" ในช่วงปี 2492 แม้ในเวลาต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะรวบรวมอำนาจได้แบบเบ็ดเสร็จ การเรียกร้องเอกราชของเตอร์กิสถานตะวันออกก็ยังมีเป็นระยะเหมือนคลื่นใต้น้ำ

แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่า กลุ่มเรียกร้องเอกราชนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอิสลาม และสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวตุรกีไม่พอใจรัฐบาลไทยจนถึงขั้นออกมาทำลายทรัพย์สินที่สถานกงสุลไทยในอิสตันบูล ประเทศตุรกี ก็เป็นเพราะว่าชาวอุยกูร์มีเชื้อสาย "เติร์ก" หรือเชื้อสายเดียวกันกับชาวตุรกีนั่นเอง

อันที่จริง ชาวอุยกูร์ มีอยู่ทั่วโลก แต่ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็คือที่เขตการปกครองพิเศษซินเจียงอุยกูร์แห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ที่นี่ไม่ได้มีแต่ประชากรเชื้อสายอุยกูร์เท่านั้น หากแต่ยังมีผู้คนเชื้อสายฮั่นที่ทางการจีนส่งเข้ามารวมอยู่ด้วย

ความขัดแย้งในพื้นที่เริ่มตั้งแต่มุมมองระหว่างเชื้อชาติ เพราะสำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวอุยกูร์คือชนกลุ่มน้อย แต่ในพื้นที่นี้ ชาวอุยกูร์จะถือว่าชนชาติอื่นๆ รวมถึงชาวฮั่นเป็นชนกลุ่มน้อย เมื่อคิดจากจำนวนของประชากรแบบแบกแย่งตามเชื้อชาติ

ถึงแม้ว่าชาวอุยกูร์ในพื้นที่จะมีมากกว่าชาวฮั่นราวๆ 4% แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้กลับถูกจำกัดสิทธิในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะการทำกิจกรรมตามธรรมเนียมอิสลาม ที่ไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกเท่าที่ควร นั่นคือชนวนความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 6 ปี

การปะทะครั้งแรกๆ เกิดขึ้นในปี 2552 ชาวอุยกูร์ออกมาประท้วง เหตุการณ์รุนแรงเพราะมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรวมทั้งชาวฮั่น

เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จนถึงตอนนี้ชาวอุยกูร์ก็ยังเชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่าที่ข่าวรายงาน เพราะยังมีผู้สูญหายไปหลังเหตุการณ์สงบลง

จะเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับชนชาติอุยกูร์เริ่มมาจากวัฒนธรรมและศาสนาที่แตกต่างกัน แต่มันไม่ได้จบแค่นั้น

เพราะท้ายที่สุดทางการจีนก็เชื่อว่าชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งต้องการแบ่งแยกดินแดน ด้วยเหตุที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง จึงมีความเป็นไปได้ที่ชาวอุยกูร์จะผลักดันเพื่อให้เกิดการหลอมรวมแผ่นดินกับประเทศเหล่านั้น ซึ่งก็ถือว่าเข้าข่ายกบฏแบ่งแยกดินแดนเลยทีเดียว

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากหลายๆ ฝ่ายจะมีความกังวลว่าชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับจีนจะต้องเจอกับประสบการณ์ที่โหดร้ายจนถึงแก่ชีวิต

และทันทีอเมริกายื่นมือเข้ามา นั่นแปลว่ามันกลายเป็นเกมระหว่าง 2 ขั้วอำนาจไปแล้วเช่นกัน ไม่ได้เป็นแค่ความขัดแย้งระหว่างคนต่างเชื้อชาติศาสนาอีกต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook