สมาคมประมงไทยจัดเสวนากระตุ้นเศรษฐกิจ

สมาคมประมงไทยจัดเสวนากระตุ้นเศรษฐกิจ

สมาคมประมงไทยจัดเสวนากระตุ้นเศรษฐกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

8 สมาคมภาคเอกชนธุรกิจการประมงไทย ร่วมจัดการเสวนาความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยรองปลัด ก.เกษตรฯ เชื่อหารือวันนี้ช่วยหาทางออกเศรษฐกิจประมง ขอทุกหน่วยช่วยแก้ปัญหา

8 สมาคมภาคเอกชนธุรกิจการประมงไทย ได้แก่ สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย, สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย, สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย, สมาคมกุ้งไทย, สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป, สมาคมอุสาหกรรมทูน่าไทย, สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ร่วมจัดการเสวนาความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ในวันนี้ ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินีรอยัล เมอริเดียน เพื่อกระตุ้นสังคมให้ตระหนัก และรับรู้ถึงความสำคัญของการประมง และเพื่อเป็นสื่อกลางให้แก่ผู้ประกอบอาชีพประมง โดยนำเสนอข้อเท็จจริงและผลกระทบที่ได้รับ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม โดยมี นายวิมล จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการเปิดงาน

ทั้งนี้ การจัดสัมมนาจะแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกจะเป็นการเสวนาในหัวข้อ "ความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงต่อเศรษฐกิจไทย" และช่วงที่ 2 จะเป็นการเสวนาในหัวข้อ "ปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการประมงของไทย" นอกจากนี้ ในช่วงท้ายของงาน จะมีการลงนาม MOU โครงการจัดหาระบบติดตามเรือ (VMS) ร่วมกันระหว่าง องค์การสะพานปลา, สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย

 

กษ.ขอทุกหน่วยช่วยแก้ปัญหาประมง

นายวิมล จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการเปิดงานเสวนา เรื่อง ความสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินีรอยัล เมอริเดียน โดยกล่าวว่า รัฐบาลและข้าราชการ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และมีความรู้สึกที่ดีต่อชาวประมงและอุตหกรรมการประมง แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการแก้ปัญหานั้น รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพียงฝ่ายเดียว หากแต่จะได้รับความร่วมมือจากชาวประมงและผู้ประกอบการทั้งระบบทุกมิติ ซึ่งตนเชื่อว่า ในวันนี้จะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมปรึกษา หารือเพื่อร่วมกันหาทางออกของปัญหา

นอกจากนั้น ยังระบุว่า การเสวนาในครั้งนี้ยังได้สะท้อนถึงปัญหาการประมง ทั้งห่วงโซ่การผลิตและการจำหน่าย ซึ่งผลผลิตการประมงของไทย ถือเป็นผู้นำการผลิต แต่เมื่อสภาพทรัพยากรเสื่อมโทรม ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น ทุกหน่วยงานจึงต้องร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มีความมั่นคงในระยะยาว

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook