โพลชี้คนกังวลแล้งน้ำไม่พอขอเร่งช่วย-แนะทำฝนหลวง

โพลชี้คนกังวลแล้งน้ำไม่พอขอเร่งช่วย-แนะทำฝนหลวง

โพลชี้คนกังวลแล้งน้ำไม่พอขอเร่งช่วย-แนะทำฝนหลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวนดุสิตโพล เผย ประชาชนกังวลสถานการณ์ภัยแล้งจะมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รัฐควรเร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว ด้าน นิด้าโพล ระบุ ปชช. หนุนทำฝนหลวงเติมน้ำ ขุดเจาะน้ำบาลดาลใช้ แก้ภัยแล้งเฉพาะหน้า

จากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ส่งผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทางรัฐบาลจึงต้องเตรียมการรับมือและเร่งแก้ปัญหา เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,252 คน ระหว่าง วันที่ 23-27 มิถุนายน 2558 สรุปผลได้ ดังนี้


เมื่อถามประชาชนคิดอย่างไรกับสถานการณ์ภัยแล้ง พบว่า ร้อยละ77.24 ระบุเป็นปัญหาที่กระทบทุกๆด้าน ร้อยละ 76.12 กังวลจะมีน้ำใช้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ร้อยละ 72.52 ระบุเกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงธรรมชาติถูกทำลายและร้อยละ64.14 ระบุ สถานการณ์รุนแรงขึ้นทุกปีภาครัฐควรหาทางแก้ไขโดยเร็ว

และเมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้ง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.26 ระบุ ฝีมือมนุษย์ ตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า ร้อยละ 80.83 การเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ ฝนไม่ตกตามฤดูกาลร้อยละ78.12 ระบุ การพัฒนาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มีมากขึ้น และร้อยละ 75.08 เจ้าหน้าไม่เอาจริงเอาจัง มีบทลงโทษไม่รุนแรง

และประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าแนวทางแก้ไขปัญหา “ภัยแล้ง” คือ ร้อยละ79.95 ระบุ การทำฝนหลวง ฝนเทียม ร้อยละ 78.91ระบุ ขุดเจาะน้ำบาลดาลมาใช้ ร้อยละ 67.01 ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบร้อยละ62.86 ระบุ สร้างเขื่อน อ่างกักเก็บน้ำ

 

นิด้าโพล เผยประชาชนเห็นควรทำฝนหลวงเติมน้ำ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”  ร่วมกับ “คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน  เรื่อง “ปัญหาภัยแล้งปี 2558” ทำการสำรวจระหว่างวันที่  25 -26 มิถุนายน 2558  จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาภัยแล้งและแนวทางใดในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้งพบว่า ร้อยละ 68.96  ระบุ เกิดจากป่าถูกทำลายไปกว่า 26 ล้านไร่ จนเกิดภูเขาหัวโล้น และทำให้ไม่มีฝน รองลงมา  ร้อยละ 36.80 ระบุ เกิดจากปรากฏการณ์ เอลนิโญ ทำให้เกิดร้อนแล้งไปทั่วภูมิภาค ร้อยละ 11.44 ระบุ กรมชลประทานไม่ใส่ใจคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 9.76 ระบุว่า เกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของตนเองผิดพลาด

เมื่อถามถึงแนวทางในการเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมพบว่า ร้อยละ 53.20 ระบุ ควรทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รองลงมา ร้อยละ 28.72 ระบุ ควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด ร้อยละ 27.44 ระบุว่า ควรเจาะน้ำบาดาลมาใช้เพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ควรจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร และร้อยละ 13.28 ระบุว่า ควรจัดลำดับความเร่งด่วนในการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่การเกษตร

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล