ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2558
ศ.ธเนศ บอก รธน.ไทย เป็นประเทศแรกให้สิทธิ์หญิง-ชายเท่าเทียมกัน มองหากร่างตามเจตนารมณ์ควรให้เป็นที่ยอมรับของทุกคน ด้าน 'เกื้อ' มองไม่เป็นธรรม ส.ว.มาจากลต.ทางอ้อม ขณะ 'วรเจตน์' ชี้ รธน.ปี 2489 เป็นฉบับที่ดี
บรรยากาศการปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2558 ครบรอบ 83 ปี การอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 ล่าสุด ศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปราย "ปรีดี พนมยงค์ กับ รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่ท่านเกี่ยวข้อง" โดยกล่าวว่า รัฐธรรนูญไทยเป็นประเทศแรกที่ไม่กำหนดเรื่องเพศภาพ ให้สิทธิ์หญิง-ชายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีการเปลี่ยนแปลงให้มีหลายมาตราขึ้น แยกเป็นหมวด และรัฐธรรมนูญปี 2489 ถือว่ามีความสำคัญที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น พร้อมกับมีการก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญในอดีตกับฉบับที่กำลังร่างอยู่ในขณะนี้ว่า มีการจำกัดสิทธิ์ทางการเมืองของนักการเมือง ซึ่งก็เหมือนกับในอดีต โดยมองว่าไม่ควรที่จะมีการจำกัดจนเกินไป และหากต้องการร่างตามเจตนารมณ์ ก็ควรที่ทำให้เป็นที่ยอมรับของทุกคน
"เกื้อ" มองไม่เป็นธรรม ส.ว.มาจากลต.ทางอ้อม
นายเกื้อ เจริญราษฎร์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อภิปรายเรื่อง "ปรีดี พนมยงค์ กับ รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่ท่านเกี่ยวข้อง" โดยกล่าวว่า รัฐธรรมนูญควรที่จะบัญญัติเพียงหลักสำคัญ ๆ และมีความครอบคลุม ไม่ควรที่จะบัญญัติลงไปทุกเรื่อง ส่วนระบบ 2 สภา ที่ใช้วิธีการเลือกตั้งทั้งแบบทางตรง และการเลือกแบบทางอ้อม โดยยกตัวอย่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปรีดี พยนมยงค์
ทั้งนี้ ยังได้กล่าวถึงที่มา ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ว่า ไม่เข้าใจถึงให้ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม และมาจากข้าราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมองว่ายังไม่มีความเป็นธรรม
'วรเจตน์' ชี้ รธน.ปี 2489 เป็นฉบับที่ดี
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กล่าวว่า ความสำคัญของรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับมีความสำคัญที่ต่างกัน รวมถึงโครงสร้างการปกครอง แต่ไม่แน่ใจว่ารัฐธรรมนูญนี้ได้คิดหรือเขียนร่างมาก่อนรัฐประหารหรือไม่ ทั้งนี้ ในการร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความสมบูรณ์ จึงต้องผู้มาช่วยดำเนินการร่างในสำเร็จ และใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อใช้ในการปกครอง และในปัจจุบันนี้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเข้าใจว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พยายามไม่ให้มีความเป็นราษฎร แต่ต้องการให้เป็นความพลเมือง แต่การพยายามทำลายความเป็นราษฎรนั้น ไม่สามารถลบความเป็นราษฎรได้ เพราะประเทศไทยยังคงใช้สภาผู้แทนราษฎรอยู่ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2489 ถือว่าเป็นที่ดีฉบับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจสูงสุด และรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ที่ผ่านมา มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น