เด็กปี 4 ตีแผ่ประสบการณ์ตรง วันที่ก้าวผ่านการรับน้อง

เด็กปี 4 ตีแผ่ประสบการณ์ตรง วันที่ก้าวผ่านการรับน้อง

เด็กปี 4 ตีแผ่ประสบการณ์ตรง วันที่ก้าวผ่านการรับน้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยหนึ่งๆ ได้เป็นผลสำเร็จ เป็นเรื่องที่น่ายินดีให้แก่เด็ก ม.6 ที่จะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเต็มตัว แต่สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับผู้ปกครองและตัวน้องๆ เอง คงหนีไม่พ้นเรื่อง "การเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องของแต่ละมหาวิทยาลัย" ที่น้องๆ จะต้องเจอ จากหน้าหนังสือพิมพ์บ้าง ออกข่าวทีวีบ้าง การรับน้องแบบโหดๆ แบบรุนแรงที่เกิดขึ้นออกสื่อลงข่าวอยู่ทุกวัน เป็นการสร้างความหนักใจไม่แพ้เรื่องการเรียนเลยทีเดียว

ช่วงระยะหลัง หลายสถาบันเริ่มมีมาตรการและบทลงโทษอย่างจริงจังให้กับรุ่นพี่ที่ทำเกินกว่าเหตุ แต่อาจจะมีเล็ดลอดออกมาบ้าง เพราะกิจกรรมการรับน้องยังต้องดำเนินต่อไปตาม...ประเพณีนั่นเอง

พูดถึงข้อดี-ข้อเสีย ของการรับน้องในรั้วมหาวิทยาลัยที่ถือว่าเป็นประเพณีสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นที่ปฎิบัติต่อๆ กันมา

ข้อดี

- ฝึกให้มีระเบียบวินัย ให้เรารู้จักมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง การตรงต่อเวลาสำคัญมาก 
- ฝึกการมีน้ำใจและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันหมด รวยจนไม่สำคัญ ลงเรือลำเรือกัน ทุกคนคือเพื่อนกันหมด ไม่ดูถูกคนอื่น และรู้จักเคารพพี่ ไม่ข่มคนอื่น 
- ฝึกให้มีความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ

ข้อเสีย

- การใช้ความรุนแรงนำไปสู่การตัดสินใจและมีอารมณ์ส่วนตัวเหนือเหตุผล
- การด่าทอที่หยาบคาย รวมถึงการใช้อารมณ์ และสร้างความก้าวร้าวเกิดขึ้นในหมู่คณะ 
- การกระทำการเกินกว่าเหตุ นำมาสู่การสูญเสีย และสร้างความเสื่อมเสียมาสู่สถาบัน

ลองคิดดูหากไม่มีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นก่อนที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เด็กปี 1 แบบเราจะต้องทำตัวอย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นมันก็สะท้อนได้อย่างหนึ่งคือ

การรับน้องช่วยให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคีในหมู่คณะ และมีความอดทน ลดความขี้ขลาด ขี้กลัว และการแสดงถึงการมีสปิริตและศักยภาพของแต่ละบุคคลล ในการที่จะทนแรงกดดันของสังคมได้

ประสบการณ์ตรงที่ทำให้รู้สึกดีจากรับน้องของรุ่นพี่

จากประสบการณ์ที่เคยผ่านการรับน้องของมหาวิทยาลัยครั้งหนึ่งในชีวิตยังคงจดจำได้ไม่ลืม เเละ คงลืมไม่ลง เมื่อสมัยเข้าปี 1 คือเริ่มการจากการที่เราต้องรู้จักเพื่อนหรือได้รับการติดต่อจากรุ่นพี่บางคนแล้ว ก่อนน่าที่จะต้องการเข้ารับน้อง

กฎของการรับน้องนั้นก็เป็นที่รู้ดีกันอยู่เเล้ว ว่าการตรงต่อเวลา คือห้ามมาสาย เป็นอันขาด !! (เเม้เเต่วินาทีเดียวก็ถือว่าสาย) แต่สุดท้ายเราเองไปสายอยู่ดี แค่ 1 นาทีเท่านั้น สิ่งที่ตามมาก็คือ พี่ว้าก (ใช้เรียกพี่ที่ดุๆ) พี่ๆทุกคน รวมถึงเพื่อนๆ ที่มายืนเข้าเเถวรอนั้น ต่างมีสีหน้าที่บ่งบอกว่า นี่คือการทำความผิดที่ถือว่าร้ายเเรง เเละบทลงโทษต้องใช้กับคนที่ทำผิดกฎอยู่เเล้ว สิ่งเเรกเลยที่ต้องรับ คือ เสียงอันโหดร้ายของ พี่ว้าก ด่าทอ โน่น นี่ นั่น...

และนั่นคือจุดเริ่มต้น ของการลงโทษ ในการรับน้องในครั้งนี้ เมื่อผิดก็ต้องมีคำขอโทษ เพื่อที่จะมีการให้อภัยกันตามมา และบทลงโทษคือการที่ต้องตะโกนแหกปาก พูดคำว่า ขอโทษเพื่อนๆ (หลาย 10 รอบ) บวกกับการปั่นจิ้งหรีด 

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่การทำกิจกรรมรับน้องซักที เสียงแรกที่ได้ยินคือ เข้าแถว !! และสั่งให้เรา ยืนก้มหน้าหลับตา !! คือการบังคับให้เราสงบนิ่ง และรอทำกิจกรรมต่อไป รุ่นพี่จะจัดเตรียมกิจกรรมมาเพื่อให้น้องๆ อย่างเราๆ ได้ทำร่วมกัน เริ่มแรกคือรู้จักชื่อเพื่อนๆ ให้ได้ทั้งหมดและจากนั้นต้องจำชื่อรุ่นปีทุกชั้นปี 

ต่อด้วยกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนๆ เพื่อให้เราสนิทสนมกันมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า "การละลายพฤติกรรม" นั่นเอง บ้างก็ร้องรำ ทำเพลง เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน และที่สำคัญสร้างความสามัคคีให้มีความปรองดองกัน สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ 

มาถึงคิวของ "พี่ว้าก" พี่เหล่านี้หน้าที่หลักของเขาคือการได้แกล้งเราสารพัด ให้วิ่งไปรวมกันอยู่กลางแจ้งบ้าง ทิ้งให้ยืนอยู่ตรงนั้นนานๆ จนเพื่อนบางคนถึงกับเป็นลมล้มพับไปเลยก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่ร้ายแรงมากนัก

นี่คือช่วงเวลาของการรับน้องที่ครั้งหนึ่งเคยได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ ไม่ว่าสิ่งที่พี่เค้าจะให้ทำนั้นจะโหดร้ายซักแค่ไหน บางทีก็มีสุขและทุกข์ปะปนกันไป นั่นแสดงถึงการสร้างระเบียบวินัยให้กับตัวเราเอง ให้มีความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่เข้ามากดดัน เพื่อให้เราแสดงสปิริตเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเราจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าต้องเกิดสถานการณ์ที่แย่ๆ เราก็ต้องรับมือให้ได้


และที่สำคัญนิสิตปี 1 ต้องประพฤติปฎิบัติเพื่อให้กิจกรรมรับน้องเป็นประเพณี และเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อเกิดความต่อเนื่องนั้นก็คือ

นับเป็นประสบการณ์ที่ดีของตัวเอง โชคดีที่ไม่เจอการรับน้องแบบโหดๆ เหมือนที่อื่นๆ เหมือนที่เป็นข่าว

จากการมองดูและได้สัมผัสจริงจนกระทั่งข้ามผ่านมาแล้ว การรับน้องโดยรวมคือสร้างความพี่น้องกันจริงๆ ในหมู่คณะ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน วันนี้เราเห็นแล้วว่าคำว่ารุ่นพี่รุ่นน้องในสังคมนอกรั้วสถาบันมันแข็งแรงมากจริงๆ  

เขียนโดย: poothai

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook