จตุรงค์ชี้ทำประชามติมี2แบบรอดูหลังแก้ไขร่างแล้ว

จตุรงค์ชี้ทำประชามติมี2แบบรอดูหลังแก้ไขร่างแล้ว

จตุรงค์ชี้ทำประชามติมี2แบบรอดูหลังแก้ไขร่างแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร'ชี้ ทำประชามติ มี 2 แบบ รอดูหลังแก้ไขร่างแล้ว ขณะต่างประเทศ จับตาดูไทยเลือกตั้ง ด้าน 'ประภาส' บอกต้องชัดเจน ควรยกเลิกมาตรา 44

นายจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า หลายประเด็นที่ยังมีการถกเถียงซึ่งส่วนตัวนั้น สนใจในส่วนของการเลือกตั้ง ส.ว.ของรัฐธรรมนูญร่างแรก เนื่องจากเห็นว่า หากไม่แก้จะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เคยเสนอประเด็นการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน เข้าด้วยกัน เพราะมองว่า ทั้ง 2 องค์กรนี้ มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน การแยกกันจะทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ว่าจะแก้หรือไม่ ส่วนในเรื่องพรรคเมืองนั้น เข้าใจว่าจะต้องสร้างความโปร่งใส แต่จะต้องไม่สร้างเงื่อนไขเยอะเกินไป

อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องคิดแล้วว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำประชามติแล้วไม่ผ่านจะทำอย่างไรต่อไป เพราะขณะนี้ต่างประเทศ กำลังจับตาดูประเทศไทย ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร ส่วนเรื่องการทำประชามตินั้น มี 2 แบบ คือ ทำทั้งฉบับ และทำบางประเด็น แต่เห็นว่าครั้งนี้ ควรทำทั้งฉบับ ทั้งนี้จะต้องรอดูหลังจากที่มีการแก้ไขร่างแล้วจะเป็นอย่างไร

 

'ประภาส'ชี้ทำประชามติต้องชัดเจน ควรยกเลิกมาตรา44

นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2558 ว่า จะต้องมีหลักการ การทำประชามติให้มีความชัดเจน ไม่ใช่คิดว่าจะทำก็ทำเลย ซึ่งจะต้องมีการศึกษากระบวนการต่างๆ อีกมากมาย  ทั้งนี้ เนื้อหาสาระจะต้องเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก และควรสร้างบรรยากาศที่ดี พร้อมทั้งต้องการให้ยกเลิกการใช้มาตรา 44 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย

 

"ปองขวัญ" บอกควรให้ ปชช.แสดงความเห็นอย่างอิสระ

น.ส.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ตัวแทนกลุ่มเรียกร้องประชามติ กล่าวว่า หลักการทำประชามติและหลักการของประชาธิปไตย ในเรื่องของกฎหมายมหาชน จะต้องผูกพันกับประชาชน ซึ่งขณะนี้ การร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อยู่ในช่วงที่ประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น จึงเห็นว่าจะต้องเปิดเวทีให้ประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ เพราะหากยังประกาศใช้มาตรา 44 อยู่ จะทำให้ประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดได้อย่างหลากหลาย ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อการทำประชามติแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องไม่ตั้งองค์กรเดิมเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญ โดยต้องการให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเลือกผู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง เข้ามาเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล