สพฐ.เผยร.ร.2พันแห่งปล่อย-กดเกรด

สพฐ.เผยร.ร.2พันแห่งปล่อย-กดเกรด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน ว่า หลังจากที่ สพฐ. มีนโยบายนำคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินจบหลักสูตร โดยนำคะแนน O-NET มาปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ให้เป็นคะแนน Adjusted GPAX แล้วใส่คะแนนดังกล่าวไว้ในสมุดพกด้วย ควบคู่ไปคะแนน GPAX และคะแนน O-NET

ทั้งนี้ สพฐ. ได้ร่วมกับนักวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ศึกษาและสร้างสูตรคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับนำคะแนน O-NET มาปรับคะแนน GPA และได้ทดลองนำสูตรดังกล่าว มาใช้กับคะแนน GPA ของนักเรียน ม.6 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 2,685 โรงเรียน ในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และสังคม

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ผลจากการทดลองสูตรพบว่า มีโรงเรียนที่ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ออกมาสูงกว่าคะแนน GPA ของร.ร. ซึ่งหมายถึงว่าโรงเรียนแห่งนั้นกดเกรดนักเรียน จำนวน 1,235 แห่ง และมีโรงเรียนที่ค่าเฉลี่ยของคะแนนต่ำกว่าคะแนน GPA ซึ่งหมายถึงว่าโรงเรียนแห่งนั้นปล่อยเกรด จำนวน 1,225 แห่ง ขณะเดียวกันมีเพียง 125 แห่งที่ให้เกรดปกติ

อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะต้องทดลองสูตรดังกล่าว อีก 2 ครั้งกับคะแนน GPA ของนักเรียนม. 6 ปีการศึกษา 2550 และ 2551 ก่อนที่จะนำคะแนนดังกล่าวมาใช้จริงในการประเมินจบการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ซึ่งระหว่างนี้ สพฐ.จะติดตามดูคะแนนของโรงเรียนที่ปล่อยเกรดว่าได้มีการพัฒนาการให้เกรดที่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ เพื่อจะได้ไปปรับปรุงระบบการให้เกรดของร.ร.กลุ่มนี้ นายสมเกียรติ กล่าว

ด้าน นางจิตรียา ไชยศรีพรหม ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ สพฐ.จะจัดให้มีการประเมินการทดสอบทางการศึกษา หรือ NT นักเรียน ป.- ทุกคนใน 5 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย และจะสุ่มสอบระดับชั้นป.6 จำนวน25% รวมทั้งหมด2.5 แสนคน ในวิชาภาษาอังกฤษ และวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามโครงการวิจัยในยุทธศาสตร์ปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้มอบให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งจัดสอบนักเรียนชั้นป.2, ป.5 และม.2 ทุกคนในพื้นที่อย่างน้อย 2 วิชาคือ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ สำหรับข้อสอบนั้น ระดับ ป.3 และ ป.6 จะใช้ข้อสอบจากส่วนกลางส่วนการจัดสอบระดับ ป.2, ป.5 และม.2 จะมอบให้เป็นหน้าที่ของ สพท.ดำเนินการ

รายการคมชัดลึกตอน-ภาษีที่ดินและมรดกเก็บได้จริงหรือ?

ทันทีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเดินหน้าผลักดันกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดก ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนักว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทนแรงเสียดทานได้หรือไม่ ภาษีที่ดินและมรดกจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook