สธ.เผย ครอบครัวยุคใหม่เปราะบาง สถิติหย่าร้างสูงขึ้นในรอบ 9 ปี
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ns/0/ud/311/1555602/530465-01.jpgสธ.เผย ครอบครัวยุคใหม่เปราะบาง สถิติหย่าร้างสูงขึ้นในรอบ 9 ปี

    สธ.เผย ครอบครัวยุคใหม่เปราะบาง สถิติหย่าร้างสูงขึ้นในรอบ 9 ปี

    2014-04-14T13:19:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    โฆษก สธ. เผยครอบครัวยุคใหม่ เปราะบางน่าห่วง สถิติการหย่าร้างสูงขึ้น ปี 55 พบจดทะเบียนใหม่กว่า 3 แสนคู่ แต่หย่าร้าง ยุติชีวิตคู่กว่า 1 แสนคู่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในรอบ 9 ปี

    พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ครอบครัวไทยยุคใหม่เปราะบาง น่าเป็นห่วง ปัญหาหย่าร้างสูงขึ้น ในปี 2555 มีคู่จดทะเบียนสมรสใหม่ทั่วประเทศจำนวน 314,338 คู่ และมีคู่สมรสเก่าจดทะเบียนหย่ากว่า 111,377 คู่ โดยการจดทะเบียนหย่าเพิ่มสูงกว่าช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 27 ทั้งนี้ สาเหตุพื้นฐานมาจากทั้ง 2 ฝ่าย ถูกกดดันทั้งจากความเครียดจากงาน และค่านิยมใหม่การพึ่งลำแข้งตัวเอง ความอดทนจึงมีน้อยลง จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งชีวิตคู่

    ซึ่งผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากหย่าร้างกันของสามีภรรยา จะพบว่า การเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองเพียงลำพัง หรือเรียกว่าครอบครัวเดียวมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การยุติบทบาทสามีภรรยาแล้วแต่ยังต้องคงบทบาทความเป็นพ่อแม่ให้เข้มแข็งต่อไป ถึงแม้ปัจจุบันเด็กอาจจะเริ่มเข้าใจการไม่อยู่ร่วมกันของพ่อแม่ แต่เด็กก็หวังว่าจะได้รับการดูแลจากทั้งพ่อและแม่ ในรูปแบบที่อาจจะแตกต่างออกไป เช่น ลูกอยู่กลับใครเป็นหลัก อยู่กับพ่อหรือแม่ โดยฝ่ายที่ดูแลลูกเป็นหลักควเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายสามารถทำอะไรให้กับลูกบ้าง เช่น พบปะลูกโดยเสมอ มีกิจกรรมร่วมกันในโอกาสสำคัญ หรือให้วันสำคัญสำหรับลูก ทั้งนี้ จะช่วยให้เด็กได้รับความอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ส่งผลให้อนาคตของเด็กและสังคมในอนาคตด้วย

    อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการหย่าร้างของชีวิตคู่ ขึ้นอยู่กับคนสองคน ทั้งสองควรมีการปรับตัวเข้าหากัน ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา เพราะแต่จะสร้างความขัดแย้งมากขึ้น หรือสุภาษิตโบราณที่ว่า ให้เอาน้ำเย็นเข้าลูบ หรือใจเย็นๆ ไว้ก่อน คุยกันด้วยเหตุผลจะช่วยสร้างความเข้าใจกันดียิ่งขึ้น และเนื่องในวันครอบครัว ซึ่งเป็นวันสำคัญ อยากให้ครอบครัวใหม่และครอบครัวเดิม แสดงความรัก ความผูกพัน เอาใจใส่ต่อกัน เติมความสุขในพื้นที่ครอบครัว แม้สถานการณ์ทางสังคมจะเปลี่ยนไป มีความรุนแรงหรือกดดันมากขึ้นก็ตาม