วิกฤติยูเครนสงครามประชาชน

วิกฤติยูเครนสงครามประชาชน

วิกฤติยูเครนสงครามประชาชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานการณ์การชุมนุมประท้วง ที่ประเทศยูเครน ยังไม่คลี่คลายลงเลยแม้แต่น้อย แม้ว่า  ไมโกลา อาซารอฟ นายกรัฐมนตรี รวมถึง และคณะรัฐบาลจะลาออกแล้ว ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง เมื่อช่วงวันที่ 28 มกราคม  ที่ผ่านมา

โดยหลังจากที่ตัดสินใจยุติปัญหา นายกฯ ยูเครน เปิดเผยว่า เพื่อให้สถานการณ์ยุติลง ย้ำว่า ประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช ของยูเครน  ควรเคารพการตัดสินใจของตนเอง

"ผมตัดสินใจที่จะขอให้ประธานาธิบดียอมรับการลาออกของผม เพื่อให้สถานการณ์สงบลง และแก้ปัญหาได้อย่างสันติ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยูเครนกำลังบ่อนทำลายความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ"

แม้ว่า นายกรัฐมนตรี จะยอมสละตำแหน่งเพื่อประเทศ แต่ทางฝั่ง กลุ่มผู้ประท้วงชาวยูเครนหลายร้อยคนยังคงปักหลักชุมนุมประท้วงต่อที่บริเวณจัตุรัสอิสรภาพกลางกรุงเคียฟ และไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป้าหมาย ของพวกเขาคือ ประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช ต้องลาออกไปด้วย และ ยังเรียกร้องให้  เพราะเห็นว่า ประชาชนทนต่อพฤติกรรมของนายยานูโควิชไม่ไหว จากกรณี

ปัญหาเริ่มปะทุมาจาก กรณีรัฐบาลที่ไม่ยอมฟังเสียงประชาชน ลงนามข้อตกลงกระชับสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป (อียู) ภายใต้การกดดันจากรัสเซีย เป็นเหตุให้ฝ่ายค้าน และ ประชาชน 45 ล้านคน ทั่วประเทศ ออกมาขับไล่ เนื่องจากเห็นว่า รัฐบาล ไม่ยอมฟังเสียงประชาชน 

ซึ่งนับว่า เป็นการประท้วงที่ดุเดือดมากที่สุด ครั้งประวัติศาสตร์ ของยูเครน ใกล้กลายสภาพเป็นสงครามกลางเมือง

แม้ว่ารัฐบาลจะออกกฏหมาย ห้ามชุมนุมประท้วง ก็ไม่มีผล กลับทำให้สถานการณ์ตรึงเครียดลงไปอีก ซึ่งมีผู้ชุมนุมถูกจับไปหลายราย แต่หลังจากนั้น มีการยกเลิกกฏหมาย ดังกล่าว ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้ประท้วง

อย่างไรก็ตาม ด้านวิตาลี คลิทช์โก แกนนำกลุ่มผู้ประท้วง  ระบุกับกลุ่มผู้ประท้วงที่รวมตัวกันอยู่ที่จัตุรัสอิสรภาพว่า การต่อสู้จะยังคงมีต่อไป พร้อมระบุว่า การยกเลิกกฏหมาย ดังกล่าวแทนที่จะทำให้ความตึงเครียดลดลง กลับทำให้ความตึงเครียดเพิ่มขึ้น และยืนกรานในจุดยืนเดิมที่จะให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงโดยไม่มีเงื่อนไข

การต่อสู้ ของประชาชน ชาวยูเครน คือการต่อสู้ของประชาชน ของแท้ เนื่องจาก รัฐบาลไม่ฟังเสียง เดินหน้ามุ่งแต่ผลประโยชน์ จนนำพามาสู่การนองเลือด ซึ่งนั่นเป็นการบ่งบอกว่า ผู้นำของประเทศควรจะต้องถามความเห็น และ เสียงประชาชนเสียก่อน ไม่ว่าจะเสียงน้อย เสียงมาก เพราะการจะนำประเทศไปสู่การพัฒนา มันต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน ไม่ใช่หาความเห็นแค่คนในสภา เพราะอย่างไร คนในสภา ถ้าผลประโยชน์เอื้อตัวเอง ก็คงเห็นชอบแน่ๆ แม้นรู้ว่า อนาคตประเทศจะเกิดหายนะ  ซึ่งถ้าติดตามข่าวในแต่ละวัน วิกฤติ ดังกล่าว ยังมองหาทางออกไม่เจอ ว่าสถานการณ์จะจบลง ถ้าประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช ดื้อดึงรักษาเก้าอี้ต่อไป เชื่อได้เลย วิกฤติก็จะทวีรุนแรงมากขึ้น และ บานปลาย ถึงขั้นอาจมีการสู้รบ กันเหมือน ประเทศในแถบแอฟริกา ก็เป็นไปได้


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล