คุมอี-เพย์เมนต์

คุมอี-เพย์เมนต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คอลัมน์ เศรษฐกิจพาที

ถุงแดง

ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.เป็นต้นไป พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้แล้ว

เหตุผลที่ต้องนำกฎหมายมาใช้เนื่องจากปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ในการชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หรือค่าบัตรเครดิต ในระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เพย์เมนต์

ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปชำระยังที่ทำการของบริการประเภทนั้นๆ เพราะนอกจากจะต้องเสียเวลาแล้ว ยังอาจจะต้องเสียอารมณ์ เมื่อมีผู้ที่มาชำระค่าธรรมเนียมเยอะ จนต่อแถวกันยาวเหยียด

แต่อะไรที่มีประโยชน์ย่อมจะมีโทษอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการลักเงินโดยใช้ช่องทางการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้

ส่งผลให้ความมั่นใจของผู้ใช้บริการลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากหวาดกลัวภัยเหล่านี้ และส่วนหนึ่งยังไม่มีความอุ่นใจว่าการชำระเงินทางช่องทางนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเอง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คลอดกฎหมายขึ้นมาควบคุมและดูแลอี-เพย์เมนต์

ธุรกิจอี-เพย์เมนต์ ที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมมีทั้งหมด 8 ประเภท 1.การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ 2.บริการเครือข่ายบัตรเครดิต 3.บริการเครือข่ายอีดีซี 4.บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน 5.บริการหักบัญชี 6.บริการชำระดุล 7.การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผ่านเครือข่าย และ 8.บริการรับชำระเงินแทน

ใครที่เข้าข่ายธุรกิจบริการดังกล่าวตอนนี้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook