กุมารแพทย์จี้ก.อุตสาหกรรมซ้ำคุมของเล่นไร้มาตรฐาน

กุมารแพทย์จี้ก.อุตสาหกรรมซ้ำคุมของเล่นไร้มาตรฐาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อเวลา 10.30 น. ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และ พญ.นิตยา คชภักดี จากสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าว อันตรายจากของเล่นเด็ก โดยมีการเผยผลสำรวจการเก็บตัวอย่างของเล่นเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ในปี 2551 ภายหลังจากที่ได้เคยมีการจัดเก็บทดสอบไปแล้วก่อนหน้านี้

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ในวันเสาร์ที่ 10 มกราคม ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติ ในฐานะกุมารแพทย์ จึงอยากออกมากระตุ้นให้หันสนใจปัญหาเด็กที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องอันตรายที่เกิดจากของเล่น ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและไอคิวของเด็ก ทั้งนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

// //

พญ.นิตยา กล่าวว่า การเล่นของเล่นถือเป็นชีวิตจิตใจของเด็ก เด็กจะสอบเล่นมากกว่าการกิน การเรียน การนอน ดังนั้นของเล่นจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาการของเด็ก แต่จากผลการวิจัยพัฒนาการเด็กปฐมวัยก่อน 6 ขวบ โดยสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2544 ในเด็กจำนวน 3,000-4,000 คน พบว่า ในจำนวนนี้ร้อยละ 28 มีพัฒนาการที่ช้า และในปี 2547 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 29.9 และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2550 เป็นร้อยละ 32 ดังนั้นในเด็ก 10 คน จะมีเด็กที่พัฒนาการล่าช้าถึง 3 คน เป็นพัฒนาการล่าช้าทั้งด้านภาษา การใช้กล้ามเนื้อมือ ส่งผลต่อการพัฒนาไอคิวเด็กตามมา นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่า เด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยที่ 91.9 ขณะที่ค่าเฉลี่ยไอคิวมาตรฐานจะอยู่ที่ 90-110 แสดงให้เห็นว่า เด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยต่ำมาก โดยเกินค่ามาตรฐานขั้นต่ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ยังพบอีกว่า ร้อยละ 41 ของเด็กไทย มีไอคิวอยู่ที่ 88.1 ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานมาก นอกจากนี้ยังพบจำนวนเด็กที่มีไอคิวต่ำกว่า 70 ในระดับปัญญาอ่อนถึงร้อยละ 4 ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก เนื่องจากในแต่ละประเทศจะมีเด็กที่มีไอคิวระดับนี้ไม่เกินร้อยละ 3 จึงถือว่า ไอคิวเด็กไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง หากปล่อยไว้จะส่งผลต่อประเทศ เนื่องจากเป็นอนาคตของชาติ

ของเล่นมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไอคิวเด็กไทยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เพราะเป็นเครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และการเข้าสังคม แตรมีของเล่นอย่างเดียวไม่พอจะต้องมีคนดูแล ร่วมเล่นอย่างถูกต้อง และให้ความรู้ความเข้าใจ สมวัย เล่นอย่างสร้างสรรค์ และไม่ก่อให้เกิดอันตราย

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า ของเล่นต้องมีการควบคุมมาตรฐานตามกฎหมายโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการตรวจสอบที่เรียกว่า มอก. แต่จากสำรวจในปี 2551 โดยเก็บตัวอย่างของเล่นที่เล่นแล้วจากศูนย์พัฒนาเด็กในสังกัด กทม. 23 ศูนย์ จำนวน 40 ชุด มาทำการตรวจหาสารตะกั่ว พบว่า ร้อยละ 17 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด และยังได้เก็บตัวอย่างของเล่นที่วางขายหน้าโรงเรียนใน กทม. 26 แห่ง พบว่า ของเล่นร้อย 15 มีสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐานกำหนด ขณะที่ของเล่นที่จำหน่ายในท้องตลาดที่ได้จัดเก็บจากพื้นที่ กทม. พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี จำนวน 26 ชุด พบว่า ร้อยละ 18 ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ทั้งมีเสียงดังที่เกิตค่ามาตรฐาน 75-85 เดซิเบล เป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทการได้ยิน เส้นสายยาวเกิน 30 ซม. เสี่ยงต่อการพันรัดคอเด็ก และมีช่องรูกว้าง 5-12 มิลลิเมตร เสี่ยงต่อนิ้วติดค้างในช่องดังกล่าว ส่วนร้อยละ 7.5 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน หากได้รับซ้ำๆ จะส่งผลต่อเซลล์สมองของเด็กทำให้พัฒนาการล่าช้า ไอคิวลดลง นอกจากนี้หลายรายการยังไม่พบชื่อผู้ผลิต จำหน่าย และนำเข้า ที่ถือว่ากฎหมายตั้งแต่แรกแล้ว

ตัวอย่างของเล่นที่เก็บสำรวจ พบว่า บางชิ้นที่สารตะกั่วซึ่งพบจากสีที่ใช้สูงจนน่าตกใจ เช่น รถเด็กเล่นที่ขายหน้าโรงเรียน มีสารตะกั่วสูงถึง 1,900 พีพีเอ็ม ส่วนมือถือเด็กเล่น อยู่ที่ 1,500 พีพีเอ็ม ขณะที่ค่ามาตรฐานสารตะกั่วกำหนดให้ไม่เกิน 90 พีพีเอ็มในสารละลาย หรือค่าสารตะกั่วรวมต้องไม่เกิน 600 พีพีเอ็ม ดังนั้นค่าที่พบจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเด็กนำของเล่นเข้าปาก สารตะกั่วในของเล่นจะเข้าสู่ร่างกายไปสะสมไว้ในกระดูก และละจะละลายจะเข้าสู่เนื้อเยื่อ ส่งต่อไปยังสมอง เป็นผลให้เด็กมีไอคิวต่ำ พัฒนาการช้า มีผลต่อระบบประสาท ทำให้เด็กยิ่งเล่นยิ่งฉลาดน้อย เพราะมีการศึกษายืนยันว่า เด็กที่ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดสูงจะมีไอคิวต่ำ นพ.อดิศักดิ์ กล่าว

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า การตรวจสอบมาตรฐานของเล่น ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะตรวจสอบก่อนวางจำหน่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยไม่มีการก็บตัวอย่างตรวจหลังจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ทำให้ของเล่นส่วนใหญ่ที่วางขาย โดยเฉพาะของเล่นราคาถูกจะมีการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็ก และในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าถึงร้อยละ 90 อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบ เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมมีเจ้าหน้าที่ตรวจมาตรฐานสินค้าควบคุม ซึ่งมีถึง 30 รายการ รวมถึงของเล่นเด็ก เพียง 8-9 คน ขณะที่ต้องเก็บตัวอย่างตรวจทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ได้ดำเนินโครงการ ปีแห่งของเล่นปลอดภัย โดยขอความร่วมมือกุมารแพทย์ทั่วประเทศช่วยเฝ้าระวังของเล่นอันตราย หากมีเด็กบาดเจ็บจากของเล่นให้เก็บตัวอย่างให้ราชวิทยาลัยฯ เพื่อส่งตรวจและวิเคราะห์ต่อไป

นอกจากนี้ขอให้ภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และภาคเอกชน ร่วมสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดของเล่น เพื่อให้เด็กๆ เข้าถึงของเล่นที่มีมาตรฐาน และมีความหลากหลายเพื่อช่วยเด็กๆ ให้มีพัฒนาการที่ดี เนื่องจากพบว่า ของเล่นที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจะมีราคาสูงมาก ทำให้เด็กด้อยโอกาส ฐานะยากจน ไม่มีโอกาสได้เล่น แต่กลับต้องเล่นของเล่นที่ไม่คุณภาพและอันตราย อย่างไรก็ตามอยากฝากให้ผู้ปกครองเลือกซื้อของเล่นโดยดูมาตรฐาน มอก. แม้ว่าจากการสำรวจจะพบว่า มีบางชิ้นที่ตกมาตรฐาน แต่ก็สามารถตรวจสอบที่มาและตามควบคุมได้

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook