ต่อเนื่อง-การเมืองไม่แทรก หัวใจปฏิรูปการศึกษารอบ 2

ต่อเนื่อง-การเมืองไม่แทรก หัวใจปฏิรูปการศึกษารอบ 2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
10 ปีที่ผ่านมานักวิชาการและคนในแวดวงการศึกษาเห็นพ้องว่าปฏิรูปการศึกษาล้มเหลว เปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ.บ่อยครั้ง แถมชูนโยบายประชานิยม พัฒนาด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นหลักแทนที่จะ พัฒนานักเรียน ครูและโรงเรียน แก่นแท้แห่งการปฏิรูปการศึกษา

// //

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนักวิชาการด้านการศึกษาและเศรษฐศาสตร์แถวหน้าของเมืองไทยวัย 62 ปี สะท้อนมุมมองผ่าน คม ชัด ลึก ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

การศึกษาที่ผ่านมา ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และถูกแทรกแซงทำให้การบริหารจัดการไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน เพราะรัฐบาลแต่ละชุดที่เข้ามาล้วนดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ไม่มีใครสานต่อนโยบายที่มีอยู่ ดังนั้น การแก้ปัญหาการศึกษาที่ดีที่สุด รัฐบาลต้องต่อเนื่อง และการเมืองต้องไม่แทรกแซงการศึกษา โดยเฉพาะครูต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ตราบใดที่ครูยังมีส่วนได้ส่วนเสียเรื่องการเมืองอยู่ การศึกษาไทยคงไม่ดีขึ้น รศ.วรากรณ์ให้มุมมอง

พร้อมฝากถึง จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ว่าขอให้ตั้งใจจริงแก้ปัญหาการศึกษา เพราะการศึกษาไม่ได้เป็นเรื่องของนโยบายประชานิยม แต่เป็นการพัฒนาเด็ก พัฒนาประเทศให้เท่าทันนานาชาติ ผลักดัน นโยบายการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งโจทย์ใหญ่ของการปฏิรูปการศึกษารอบสองรู่หลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่อง ครู กับ การประเมินวิทยฐานะ ที่เป็นสาเหตุให้ครูทิ้งลูกศิษย์ เพื่อไปทำผลงานวิชาการ ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำลง

การพัฒนาครูนอกจากปรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะแล้ว ยังต้องเร่งสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้ครูสร้างสรรค์เทคนิคการสอน พัฒนาความรู้ของเด็ก และพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูไปพร้อมๆ กัน

ปัญหาใหญ่ของมหาวิทยาลัยในปีนี้ ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จะส่งผลให้นิสิต นักศึกษานับแสนคนต้องตกงาน รศ.วรากรณ์ แนะวิธีรับมือว่า ระยะสั้นมหาวิทยาลัยต้องเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา เริ่มตั้งแต่การกรอกใบสมัครงาน เทคนิคสัมภาษณ์ วิธีหางาน การแต่งตัวไปสมัครงาน และควรเปิดหลักสูตรสั้นที่ตรงตามความต้องการของตลาดเพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพให้แก่นิสิต นักศึกษาทั้งด้านไอที ภาษา การจัดการในออฟฟิศและงานเลขานุการ

ระยะยาวทุกมหาวิทยาลัยต้องจัดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น เลือกผลิตเฉพาะสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยถนัด โดยเฉพาะในกลุ่มของมหาวิทยาลัยรัฐที่ต้องสร้างกระแส สนับสนุนสาขาที่สังคมต้องการมากกว่าสาขาทำเงิน เช่น สาขาโบราณคดี ปรัชญา เพราะสาขาเหล่านี้นอกจากสังคมต้องการแล้ว ยังช่วยยกระดับจิตใจคนในสังคมอีกด้วย

ทุกมหาวิทยาลัยต้องเตรียมรับมือคือ การเปิดเสรีการศึกษา ซึ่ง รศ.ดร.วรากรณ์ มั่นใจว่า ไทยรับมือกับเรื่องนี้ได้แน่นอน เพราะนี้แต่ละมหาวิทยาลัยมุ่งพัฒนาความรู้ ความชำนาญตามศักยภาพของตนเอง และปรับปรุงจุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเป็นตัวเลือกทางวิชาการค่อนข้างดีแล้ว

ทุกมหาวิทยาลัยล้วนมีคุณภาพดี และแตกต่างกัน ไม่ว่ามหาวิทยาลัยผลิตรถเบนซ์ รถยนต์ หรือรถจักรยาน หากผลิตรถจักรยานแต่เป็นรถจักรยานชั้นเยี่ยม คงดีกว่าเป็นมหาวิทยาลัยผลิตรถยนต์ย่ำแย่ ส่งซ่อมจนเบื่อหน่าย มหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกันค่าเล่าเรียนสูง หรือค่าเล่าเรียนถูก แต่ถ้ามหาวิทยาลัยทุกแห่งมุ่งผลิตบัณฑิตคุณภาพมากกว่าปริมาณ และไม่ได้ผลิตบัณฑิตบ้าปริญญาเพียงอย่างเดียว ในปีการศึกษา 2552 หรือปีไหนๆ มหาวิทยาลัยคงไม่ประสบวิกฤติแน่นอน อดีต รมช.ศึกษาธิการ แนะทิ้งท้าย

0ชุลีพร อร่ามเนตร 0

เสียงเล็กๆ นวันเด็กขอนายกฯช่วยคนไทยรักกัน

วันเด็กแห่งชาติปีนี้...ผู้ปกครองต่างพาบุตรหลานไปเที่ยวชมตามสถานที่ต่างๆ ที่เปิดเป็นพื้นที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ทำเนียบรัฐบาล ที่เคยโอ่อ่ากว้างใหญ่ กลับแคบลงไปถนัดตา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook