รัก+เข้าใจ สิทธิพื้นฐานเด็กไทยที่เกือบถูกลืม

รัก+เข้าใจ สิทธิพื้นฐานเด็กไทยที่เกือบถูกลืม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยต้องได้รับนอกจากการใช้ชีวิตและการอยู่รอด การปกป้องคุ้มครอง พัฒนา การมีส่วนร่วมแล้ว คม ชัด ลึก มีมุมมองจากผู้ใหญ่ที่ทำงานเพื่อเด็กที่ต่างเห็นพ้องในทิศทางเดียวกันว่า การมอบความรักและความเข้าใจเด็กอย่างลึกซึ้งทั้งจากพ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งคุณครูก็เป็นสิทธิสำคัญซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเด็กไทยยุคนี้

// //

การเข้าใจถึงความต้องการของลูกเพื่อส่งเสริมอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพนั้นไม่ได้เป็นเพียงการพูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกับลูกเท่านั้น รศ.พญ.นิตยาคชภักดี ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดลให้มุมมองว่าการเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัยเป็นกลไกสำคัญเบื้องต้น

สมองของเด็กแต่ละช่วงวัยมีลำดับขั้นพัฒนาแตกต่างกันทั้งการพูดการอ่านการเขียนการเข้าใจสิ่งต่างๆหรือการแสดงออกเด็กวัยแรกเกิดถือว่าเขามีตัวตนมีบุคลิกในแบบของเขาผู้ใหญ่ต้องมีความรู้เบื้องต้นเรื่องพัฒนาการของเด็กแล้วสังเกตพฤติกรรมของเขาว่าเป็นอย่างไรเพื่อส่งเสริมด้วยความเข้าใจอย่างสอดคล้องกับตัวเด็กให้มากกจะทำให้ทราบถึงความสามารถในการรับข้อมูลต่อยอดรวมทั้งธรรมชาติใฝ่รู้อีกด้วยหลังจากนั้นพ่อแม่ก็จะสามารถขยายความรู้ของเด็กให้กว้างไกลออกไปด้วยการชักชวนให้เขาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆอย่างลึกซึ้งมองต่างมุมสนใจสิ่งแวดล้อมทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและส่งผลให้เด็กมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์นำไปสู่การส่งเสริมพัฒนาการขั้นถัดไป

รศ.พญ.นิตยา ย้ำว่าการร่วมมือกันทั้งที่บ้านและโรงเรียนเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญเพื่อร่วมกันทำความเข้าใจเด็กตั้งแต่การเลือกโรงเรียนให้ลูกควรเลือกโรงเรียนที่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ของลูกความชอบความถนัดรวมทั้งแนวทางการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวอีกทั้งวัยเด็กอยากรู้อยากเห็นต้องการคำอธิบายและแบบอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อพ่อแม่ใกล้ชิดและตามทันโลกผู้ใหญ่ควรพร้อมเป็นที่ปรึกษารับฟังทุกข์สุขสนใจเขาเปิดใจกว้างรับฟังเขา

สอดรับกับมุมมองของ รศ.ยืนภู่วรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผู้มีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์มากว่า30ปีแนะว่าพ่อแม่ควรเปิดใจรับและปรับตัวซึ่งเป็นหนทางที่จะเข้าถึงจิตใจเด็กยุคนี้ได้อยรทัดฐานของผู้ใหญ่เป็นที่ตั้งในการวัดความแตกต่างของพฤติกรรมถือเป็นช่องว่างระหว่างวัยที่นับวันจะห่างกันมากขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันว่าเด็กกับผู้ใหญ่จะอยู่กันอย่างไรให้มีความสุขมีความเข้าใจกัน

ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจเด็กผู้ใหญ่ควรเป็นที่ปรึกษาให้เด็กได้ค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบปลูกฝังพื้นฐานจิตใจที่ดีสร้างเวลาคุณภาพขณะอยู่กับลูกเรื่องนี้ต้องลงมือคิดและทำตั้งแต่ลูกยังเด็กยังอยู่ในวัยที่เชื่อฟังพ่อแม่เพราะหากล่วงเลยไปถึงวัยรุ่นก็อาจสายเกินไป รศ.ยืน กล่าวทิ้งท้าย

0ทีมข่าวการศึกษา0

ภูมิใจไทย:ก้าวสำคัญของเนวิน

การเมืองแบบไทยๆ อะไรๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ฟัดกันแทบจะตายกันไปข้าง วันหนึ่งก็อ้าขาผวาปีกเข้าหากันได้อย่างไม่เคอะเขิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook