เสวนามธ.โคทมหนุนนิรโทษ-นิรันดร์จี้ลงโทษคนผิดก่อน

เสวนามธ.โคทมหนุนนิรโทษ-นิรันดร์จี้ลงโทษคนผิดก่อน

เสวนามธ.โคทมหนุนนิรโทษ-นิรันดร์จี้ลงโทษคนผิดก่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันนี้ มีการเสวนาเวทีสาธารณะ เรื่อง แนวทางการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดยมีการเชิญตัวแทนฝ่ายต่างๆ เพื่อมาพูดคุยและหารือ เรื่อง แนวทางการนิรโทษกรรมประชาชน และการสร้างบรรทัดฐานทางการเมือง โดยมีวิทยากรที่น่าสนใจ คือ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน, นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35, นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย และ นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้แต่อย่างใด น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า แนวทางในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ประชาชน รัฐบาลต้องนำข้อเสนอของ คอป. มาพิจารณาให้มากขึ้น เพราะมีแนวทางที่ชัดเจนในการหาทางออกเรื่องนี้มากมาย ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มากกว่านี้ โดยเฉพาะด้านประชาเสวนา โดยยึดตามหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึง ทางรัฐบาลต้องนำความจริงมาเปิดเผยแก่สังคม เพื่อเป็นบทเรียนไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีกในอนาคต และนำคนที่กระทำความผิดมาลงโทษ 'โคทม' มอง ออกพรบ.นิรโทษ เป้าอยู่ที่ผู้ได้รับผลกระทบนายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิพฤษภาประชาธรรม กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนต้องสร้างบรรยากาศการทางการเมืองที่ดีก่อน หลังจากนั้น เมื่อสังคมมีความพร้อม จึงเริ่มออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบจำกัดเงื่อนไข  ทั้งนี้ เมื่อสังคมมีความพร้อมอีกครั้ง โดยมีการลดการใช้ความรุนแรงทางการเมืองและบรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น จึงขยายไปสู่การนิรโทษกรรมแบบไม่จำกัดเงื่อนไขได้ อย่างไรก็ตาม การนิรโทษกรรมต้องมองเป้าหมายที่ผู้ได้รับผลกระทบเป็นสำคัญ พร้อมย้ำว่าการสร้างความปรองดอง ไม่สามารถเกิดขึ้นในรัฐสภาฝ่ายเดียวได้ 'กิตติศักดิ์'เห็นว่าควรนิรโทษเฉพาะผู้ร้องขอนายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็น เรื่องแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ว่า ส่วนตัวมองว่า การนิรโทษกรรม ควรใช้แบบจำกัดเงื่อนไข โดยนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ร้องขอเท่านั้น ซึ่งต้องแสดงหลักฐานและให้การต่อคณะกรรมการพิเศษที่มีการจัดตั้งขึ้น และให้นิรโทษกรรมตามความผิด ภายใต้เหตุผลที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง พร้อมสาบานตนว่า มีความสำนึกในความผิดที่กระทำ และจะไม่กระทำความผิดดังกล่าวนั้นอีก ส่วนคนที่ให้การเท็จนั้น จะถูกอัยการเพิกถอนการนิรโทษกรรมในภายหลัง ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่า แนวทางนี้จะสามารถนำไปสู่ความปรองดองในสังคมได้ 'อดุลย์' ระบุ นิรโทษต้องกำหนดกรอบบุคคลชัดเจนนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา '35 กล่าวว่า แนวทางในการนิรโทษกรรมนั้น จะต้องมีการกำหนดกรอบบุคคลที่สมควรได้รับการนิรโทษกรรมอย่างชัดเจน และต้องนำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม พร้อมนำความจริงมาตีแผ่ให้สังคมได้รับทราบ และผู้ที่สมควรได้รับการนิรโทษกรรม จะต้องสำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ ภายใต้เงื่อนไขและกำหนดของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทุกฝ่ายต้องมีความพึงพอใจ ไม่ใช่เฉพาะภาคการเมืองพอใจฝ่ายเดียว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของสังคมส่วนรวม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook