อ่านเล่นๆ ก่อนวันครู

อ่านเล่นๆ ก่อนวันครู

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เลาะเลียบคลองผดุงฯ

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com

โครงการ World Education Indicators (WEI) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการร่วมระหว่าง UNESCO Institute of Statistics (UIS) และ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) จัดตั้งเพื่อพัฒนาดัชนีตัวชี้วัดด้านนโยบายการศึกษา และร่วมกันจัดทำสถิติดัชนีและตัวชี้วัดสภาวการณ์ทางการศึกษาเปรียบเทียบระดับนานาชาติ และประเทศไทยเป็นสมาชิก มาตั้งแต่ปี 2540

ในรายงานการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ.2549 ระบุว่า จากการศึกษาสภาวการณ์ครูไทยเปรียบเทียบกับนานาชาติ พบว่า ครูไทยต้องรับภาระหนัก เห็นได้จากขนาดของชั้นเรียน ระดับประถม และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีขนาดชั้นเรียนเฉลี่ย 24 และ 35 คนต่อห้อง

ในขณะที่ประเทศในกลุ่ม WEI มีขนาดชั้นเรียนเฉลี่ย 28 และ 34 คนต่อห้อง และประเทศในกลุ่ม OECD มีขนาดชั้นเรียนเฉลี่ย 21 และ 24 คนต่อห้อง ตามลำดับ

ครูไทยมีชั่วโมงการสอนรวมในระดับประถมศึกษา 800-1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1,000-1,200 ชั่วโมง และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ 1,122 ชั่วโมง

ในขณะที่ครูของประเทศในกลุ่ม WEI มีชั่วโมงสอนต่อปีทั้ง 3 ระดับที่ 872, 864 และ 858 ชั่วโมงตามลำดับ ส่วนครูของประเทศในกลุ่ม OECD มีชั่วโมงสอนต่อปีที่ 805, 704 และ 663 ชั่วโมง ตามลำดับ

จากการวิจัยในโครงการ TIMSS และ SACMEQ ของแอฟริกาใต้และตะวันออก ระบุตรงกันว่า นักเรียนจะเรียนและได้ความรู้เป็นอย่างดีจากครูที่มีทักษะทางวิชาการสูงมากกว่าครูที่มีทักษะทางวิชาการต่ำ

ดังนั้น จึงไม่แปลกเมื่อเด็กที่เข้ารับการทดสอบทำคะแนนได้คล้ายกับครูของตน

ทั้งนี้ องค์กรแรงงานสากลและองค์การวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เตือนไว้เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้วว่า

ปัญหาการขาดแคลนครูควรแก้ด้วยวิธีการพิเศษ แต่ต้องไม่เป็นผลเสียต่อมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับแล้ว หรือหากจะคิดทำอะไรใหม่จะต้องคำนึงถึงความสูญเสียต่อการศึกษาของเด็กน้อยให้มากที่สุด

ฝากให้ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และรมช.ศธ.อ่านเล่นๆ ก่อนวันครู

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook