เอกชนแนะหาเงินอัดฉีดเพิ่มเติม หนุนใช้งบแสนล้านกระตุ้นศก.-จี้ประเมินผลทุก 1-3 เดือน

เอกชนแนะหาเงินอัดฉีดเพิ่มเติม หนุนใช้งบแสนล้านกระตุ้นศก.-จี้ประเมินผลทุก 1-3 เดือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงการที่คณะรัฐมนตรีจะเพิ่มงบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 แสนล้านบาท และใช้งบประมาณช่วยเหลือการว่างงานถึง 5,200 ล้านบาท ว่า เป็นสิ่งที่เหมาะสมเพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องทำและดูแลในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่สิ่งสำคัญรัฐบาลจะต้องมีการใช้งบประมาณตรงจุดและถึงเป้าหมาย เพื่อให้งบประมาณมีผลทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้มองว่า การใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญคือ จะต้องให้ถึงมือประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกร ส่วนการต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติ เพื่อไทยทุกคน มองว่าเป็นการบรรเทาผลกระทบให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ส่วนในระยะยาว หากประชาชนเริ่มปรับตัวได้รัฐบาลก็ควรยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพราะไม่ทำให้เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง

ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งผลักดันงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจให้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็ว เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบอย่างเร็วที่สุดในเดือนเมษายน 2552 และหากเป็นไปได้อยากเสนอให้กระทรวงการคลังไปศึกษาข้อกฎหมายว่าสามารถนำเงินส่วนอื่น เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศ หรือเงินคงคลัง มาใช้จ่ายเพื่ออัดฉีดเม็ดเงินในโครงการต่างๆ ล่วงหน้าได้หรือไม่ และเมื่องบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมีผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวค่อยนำเงินมาคืนกระทรวงการคลัง

// //

ทั้งนี้หากมีช่องทางสามารถดำเนินการได้ก็จะทำให้เงินกระจายสู่รากหญ้าได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรประเมินผลการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจทุก 1-3 เดือน ว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจและเพียงพอหรือไม่ หากงบประมาณไม่เพียงพอรัฐบาลควรจะเสนองบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก

ขณะที่นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะภาคเอกชนที่ทำธุรกิจค้าปลีก กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐด้านต่างๆ ที่ตั้งเป้าหมายให้เม็ดเงินถึงประชาชนระดับรากหญ้าและเกษตรกร เนื่องจากจะมีส่วนช่วยให้บรรเทาภาระจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ประชาชนได้รับในขณะนี้ซึ่งมีความชัดเจนว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากสหรัฐและลุกลามเข้าสู่ประเทศไทยและน่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนระดับรากหญ้า

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐจะช่วยให้กำลังซื้อของประชาชนไม่ลดลงมากเกินไป ในส่วนธุรกิจค้าปลีก หากกำลังซื้อประชาชนไม่ลดลงมาก ธุรกิจค้าปลีกปีนี้น่าจะขยายตัวได้ระดับ 3-5% แต่หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย อาจทำให้ธุรกิจค้าปลีกทรงตัวจนถึงติดลบได้ นายปิยะวัฒน์ กล่าว

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook