พณ.เผย เงินเฟ้อ ก.ย. แตะ 4.03%

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ อัตราเงินเฟ้อ ประจำเดือน กันยายน 2554 ว่า อัตราเงินเฟ้อ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบชะลอลง อยู่ที่ร้อยละ 4.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่ำสุด ในรอบ 6 เดือน ทั้งนี้เป็นผลมาจากดัชนีราคาในหมวดอาหาร และเครื่องดื่ม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.84 โดยสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น ได้แก่ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป หลังจากได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ มีการขยายตัวลดลงร้อยละ 0.33 เนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ปรับราคาลดลง รวมทั้งอัตราค่าโดยสารสาธารณะ
โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2554 ว่า อัตราเงินเฟ้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
ดัชนีในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.36 เครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.05 แต่
อย่างไรก็ตามยังมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีในปีนี้จะขยายตัวตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ร้อยละ 3.2-3.7
เนื่องจากในช่วงเดือน ก.ย.เป็นต้นไป ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อจะลดลง รวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อการปรับ
ราคาสินค้าน้อยมาก เนื่องจากมีการตรวจสอบการฉวยโอกาสขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า นโยบายในการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนของรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้น ทั้งนโยบายในการรับจำนำข้าวเปลือกที่อัตราตันละ 15,000-20,000 บาท การปรับเงินเดือนปริญญาตรีให้กับข้าราชการเดือนละ 15,000 บาท และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้กำลังการผลิตลดลง ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ปรับราคาลดลงด้วย ทั้งนี้ต้นทุนพลังงาน ถือเป็นต้นทุนของราคาสินค้า หากมีการปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อการปรับราคาสินค้าของผู้ประกอบการให้สามารถปรับราคาสินค้าลง หรือ ตรึงราคาสินค้าไว้ได้ ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศ ขยายตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสม
โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 9 เดือนแรก
ของปี 2554 ว่า อัตราเงินเฟ้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
ดัชนีในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.36 เครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.05 แต่
อย่างไรก็ตามยังมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีในปีนี้จะขยายตัวตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ร้อยละ 3.2-3.7
เนื่องจากในช่วงเดือน ก.ย.เป็นต้นไป ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อจะลดลง รวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อการปรับ
ราคาสินค้าน้อยมาก เนื่องจากมีการตรวจสอบการฉวยโอกาสขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า นโยบายในการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนของรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้น ทั้งนโยบายในการรับจำนำข้าวเปลือกที่อัตราตันละ 15,000-20,000 บาท การปรับเงินเดือนปริญญาตรีให้กับข้าราชการเดือนละ 15,000 บาท และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้กำลังการผลิตลดลง ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกให้ปรับราคาลดลงด้วย ทั้งนี้ต้นทุนพลังงาน ถือเป็นต้นทุนของราคาสินค้า หากมีการปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อการปรับราคาสินค้าของผู้ประกอบการให้สามารถปรับราคาสินค้าลง หรือ ตรึงราคาสินค้าไว้ได้ ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศ ขยายตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสม