กิตติรัตน์ยันค่าแรง300-15,000เริ่มปี55

กิตติรัตน์ยันค่าแรง300-15,000เริ่มปี55

กิตติรัตน์ยันค่าแรง300-15,000เริ่มปี55
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
บรรยากาศที่อาคารรัฐสภา ล่าสุด นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายรักฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจง นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยยืนยันว่า นโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ไม่ได้เป็นนโยบายประชานิยมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เป็นนโยบายที่มีความครอบคลุม มีความโปร่งใส ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง และสร้างความสมดุลให้กับเศรษฐกิจใระดับมหภาคในระยะยาว มีมาตรการรองรับเงินเฟ้อ อาทิ การชะลอการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาน้ำมันบางชนิดลดลง ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

ส่วนนโยบายรายได้ขั้นต่ำ 300 บาท และ ปริญญาตรี 15,000 บาท รัฐบาลมีความจริงใจที่จะเห็นแรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท และจะสามารถดำเนินการได้ทันที ในต้นปี 2555 โดยข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ จะได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ไม่รวมค่าล่วงเวลา ส่วนข้าราชการที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จะได้รายได้ 15,000 บาทต่อเดือน และผู้สำเร็จการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน ก็จะมีการพิจารณาปรับให้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ได้กล่าวชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรถึงนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และเงินเดือนข้าราชการ15,000 บาท/เดือน ที่ได้มีการหาเสียงไว้และมีการปรับเปลี่ยนเป็นแรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท/วัน นั้น มีคำจำกัดความแตกต่างกัน ซึ่งรัฐบาลจะเร่งจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายมี 2555 ให้เสร็จในต้นเดือน ก.ย.นี้ เพื่อจะนำมาดำเนินนโยบายดังกล่าวในทันทีหลังจากงบประมาณผ่านการอนุมัติจากสภาฯ ซึ่งยืนยันว่า รัฐบาลจะทำงานเต็มที่เพื่อให้แรงงานมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 300 บาท/วัน

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านได้ทวงถามให้ นายกิตติรัตน์ แจงการปรับเปลี่ยนนโยบายจากค่าแรงขั้นต่ำเป็นรายได้ขั้นต่ำ ซึ่งใช้คำพูดในสภาไม่ตรงกับการหาเสียง

นอกจากนี้นายกิตติรัตน์ ยังระบุว่า หลังจากที่มีการแถลงนโยบายเสร็จสิ้น รัฐบาลจะเร่งทำงานทันที และคาดว่าจะจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 เสร็จสิ้นในช่วงต้นเดือนกันยายน ขณะที่นโยบายการรับจำนำข้าว ที่ให้ข้าวหอมมะลิ เกวียนละ 20,000 บาท และข้าวเจ้า เกวียนละ 15,000 บาท รัฐบาลศึกษามาเป็นอย่างดี เพราะการประกันราคาพืชผลเกษตร ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณ 85,000 ล้านบาท และยังมียอดหนี้ที่ค้างอยู่ในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กว่า 30,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 140,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ไม่ถึงมือเกษตรกรโดยตรง แตกต่างกับนโยบายจำนำข้าว ที่ใช้งบเพียง 55,000 ล้านบาท ในการเก็บรักษาข้าว ซึ่งการจำนำจะคำนึงถึงกลไกการตลาดและศักยภาพของพืช อีกทั้ง ยังทำให้ข้าวของไทยมีราคาสูงในการส่งออกไปต่างประเทศ ขณะที่การประกันราคาข้าว จะทำให้ต่างประเทศซื้อข้าวได้ในราคาถูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล