กสิกรคาดGDP54แตะ4%ปี55ถึง5%

นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯ ได้มีการปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย หรือ จีดีพี ในปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.6 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวเศรษฐกิจภายในครึ่งปีหลัง ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 4.5 - 5.8 เนื่องจากการฟื้นตัวในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น ซึ่งรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะเป็นแรงผลักดันให้การส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวได้ร้อยละ 20 แม้เศรษฐกิจโลกจะยังมีความเปราะบาง
จากปัญหาทางการคลังของสหรัฐฯ และวิกฤติหนี้ในสหภาพยุโรป ก็ตาม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ทั้งในปีนี้และปีหน้า
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้านั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5 จากนโยบายการกระตุ้นบริโภคของภาครัฐ
ทั้งนี้ นางวิวรรณ ได้เปิดเผยว่า ความชัดเจนทางการเมืองหลังเลือกตั้ง จะช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นของภาคเอกชน รวมทั้งนโยบายการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลใหม่ ที่น่าจะมีการเริ่มดำเนินการได้บางส่วนในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ในด้านนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันนั้น หากมีการปรับขึ้นในครั้งเดียว อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อ พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ในปี 2555 รวทั้ง จะทำให้ภาคธุรกิจของไทยมีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 - 11 โดยในส่วนของกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่ม SME รายย่อย ที่มีการใช้แรงงานไร้ฝีมือ
จากปัญหาทางการคลังของสหรัฐฯ และวิกฤติหนี้ในสหภาพยุโรป ก็ตาม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ทั้งในปีนี้และปีหน้า
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้านั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5 จากนโยบายการกระตุ้นบริโภคของภาครัฐ
ทั้งนี้ นางวิวรรณ ได้เปิดเผยว่า ความชัดเจนทางการเมืองหลังเลือกตั้ง จะช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นของภาคเอกชน รวมทั้งนโยบายการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลใหม่ ที่น่าจะมีการเริ่มดำเนินการได้บางส่วนในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ในด้านนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันนั้น หากมีการปรับขึ้นในครั้งเดียว อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อ พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 5 ในปี 2555 รวทั้ง จะทำให้ภาคธุรกิจของไทยมีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 - 11 โดยในส่วนของกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่ม SME รายย่อย ที่มีการใช้แรงงานไร้ฝีมือ