ประเสริฐ แนะ รบ.ใหม่ ยกเครื่องพลังงาน

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ จะยกเครื่องการบริหารจัดการเรื่องพลังงานของประเทศใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้น เพราะการอุดหนุนราคาที่ผ่านมา ทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ การอุดหนุนราคาพลังงาน ทั้ง LPG ,NGV และ ดีเซล ที่ไม่ควรอุดหนุน แต่ควรเป็นการอุดหนุนเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น เพราะจะทำให้ รัฐบาล จะใช้งบประมาณจำนวนมาก
นอกจากนี้ นายประเสริฐ เห็นว่า ส่วนตัวแล้ว การยกเลิกการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้แต่ในระยะแรก จะต้องเป็นการจัดเตรียมเงินมาอุดหนุนราคา LPG และ NGV ต่อไป หรือ แหล่งเงินอาจจะมาจากการกู้เงิน ขณะที่ ระยะกลางและระยะยาว ต้องลดการอุดหนุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
ทั้งนี้ กล่าวว่า เป้าหมายการลงทุนในธุรกิจของ ปตท. จะมีกำลังการผลิตประมาณ 30-40 ล้านตัน ในปี 2015 และจะเพิ่มขึ้น เป็น 70 ล้านตันต่อปี ในปี 2020 ซึ่งรูปแบบการลงทุนจะขยายจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ และการขยายกิจการโดยขอสัมปทานใหม่ โดยได้ลงทุนผ่านบริษัท พีทีที เอเชีย แปซิฟิกไมนิ่ง จำกัดที่มีเหมืองอยู่ในอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิตรวม 10 ล้านต้นต่อปี ขณะที่ในประเทศที่ถือสัมปทานอยู่ ประกอบด้วยบรูไน เกาะมาดากัสการ์ และมองโกเลีย อยู่ระหว่างการดำเนินการขอสัมปทาน ซึ่งในบรูไน หากกระบวนการขอสัมปทานแล้วเสร็จ ปตท. จะเจรจากับพันธมิตรที่ถือหุ้นในสัมปทานดังกล่าว เพื่อขอถือหุ้นเพิ่ม
นอกจากนี้ นายประเสริฐ เห็นว่า ส่วนตัวแล้ว การยกเลิกการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้แต่ในระยะแรก จะต้องเป็นการจัดเตรียมเงินมาอุดหนุนราคา LPG และ NGV ต่อไป หรือ แหล่งเงินอาจจะมาจากการกู้เงิน ขณะที่ ระยะกลางและระยะยาว ต้องลดการอุดหนุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
ทั้งนี้ กล่าวว่า เป้าหมายการลงทุนในธุรกิจของ ปตท. จะมีกำลังการผลิตประมาณ 30-40 ล้านตัน ในปี 2015 และจะเพิ่มขึ้น เป็น 70 ล้านตันต่อปี ในปี 2020 ซึ่งรูปแบบการลงทุนจะขยายจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ และการขยายกิจการโดยขอสัมปทานใหม่ โดยได้ลงทุนผ่านบริษัท พีทีที เอเชีย แปซิฟิกไมนิ่ง จำกัดที่มีเหมืองอยู่ในอินโดนีเซีย มีกำลังการผลิตรวม 10 ล้านต้นต่อปี ขณะที่ในประเทศที่ถือสัมปทานอยู่ ประกอบด้วยบรูไน เกาะมาดากัสการ์ และมองโกเลีย อยู่ระหว่างการดำเนินการขอสัมปทาน ซึ่งในบรูไน หากกระบวนการขอสัมปทานแล้วเสร็จ ปตท. จะเจรจากับพันธมิตรที่ถือหุ้นในสัมปทานดังกล่าว เพื่อขอถือหุ้นเพิ่ม