เก่าในญี่ปุ่นแต่ใหม่ในต่างแดน เหตุผลที่รถไฟเก่าญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศ

เก่าในญี่ปุ่นแต่ใหม่ในต่างแดน เหตุผลที่รถไฟเก่าญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศ

เก่าในญี่ปุ่นแต่ใหม่ในต่างแดน เหตุผลที่รถไฟเก่าญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าประเทศไหนต่างก็ยอมรับในความทันสมัยของเทคโนโลยีการเดินรถไฟของประเทศญี่ปุ่น นอกจากญี่ปุ่นจะพัฒนาความล้ำหน้าของรถไฟในประเทศตัวเองแล้ว ในระยะหลังๆมานี้ประเทศญี่ปุ่นยังมีนโยบายในการส่งออกเทคโนโลยีการเดินรถไฟอันล้ำหน้าของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย เพื่อเพิ่มบทบาทในการช่วยพัฒนาสาธารณูปโภคในประเทศกำลังพัฒนา

ขบวนรถที่ขึ้นทะเบียนในระหว่างปี 1950-70 จะได้รับการเปลี่ยนให้เป็นขบวนรถใหม่ที่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ส่วนขบวนรถเก่าที่ถูกปลดระวาง จะได้รับการส่งมอบไปยังต่างประเทศในราคาที่แทบจะใกล้เคียงกับให้ฟรี โดยขบวนรถที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่ต่างประเทศนั้นในตอนนี้มีรวมทั้งหมดกว่า 1,100 ขบวน และกำลังทำหน้าที่ช่วยให้ชีวิตของผู้คนจำนวนมากในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สะดวกสบายขึ้น

 japan-train1

มาตรฐานด้านความปลอดภัยในประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างเข้มงวดมาก เมื่อนึกถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงรถไฟที่ผ่านการใช้งานมาหลายสิบปีแล้ว การเปลี่ยนเป็นรถไฟขบวนใหม่ที่มีคุณสมบัติช่วยประหยัดพลังงานได้น่าจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดกว่า แต่ขบวนรถไฟที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นก็มีความแข็งแรงทนทาน และได้รับการบำรุงรักษามาเป็นอย่างดีโดยตลอด จึงยังสามารถใช้งานวิ่งได้ตามปกติ ส่วนในประเทศกำลังพัฒนานั้นก็ต้องการขบวนรถมือสองที่ต้องจ่ายแค่ค่าขนส่งเท่านั้น มากกว่าที่จะต้องการขบวนรถใหม่เอี่ยมอ่องที่มีราคาต่อขบวนหลายร้อยล้านเยน และในบางครั้งทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือ ODA

ในส่วนของบริษัทรถไฟของญี่ปุ่นก็เช่นกัน การกำจัดรถไฟขบวนเก่า 1 ขบวนนั้นจะใช้ค่าใช้จ่ายหลายล้านเยน ดังนั้นหากมีที่ไหนอยากได้ขบวนเราเก่าไปใช้จึงถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆสำหรับบริษัทรถไฟ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท East JR เคยส่งมอบขบวนรถไฟมากกว่า 600 ขบวนให้กับประเทศอินโดนีเซียและเมียนมา และมีโครงการที่จะส่งมอบขบวนรถเพิ่มเติมให้กับทางอินโดนีเซีย ส่วนทาง Tokyo Metro ได้ส่งมอบขบวนรถไฟกว่า 131 ขบวนให้กับประเทศอาร์เจนตินา และ 400 ขบวนแก่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่เหตุผลที่ทำให้รถไฟเก่าของประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมนั้น ไม่ได้มีแค่ความคงทนแข็งแรง และราคาที่ถูกเท่านั้น เพราะมาตรฐานสากลของความกว้างของรางรถไฟจะอยู่ที่ 1,435 มิลลิเมตร แต่ของประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 1,067 มิลลิเมตร ส่วนประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะอยู่เท่าๆกับของญี่ปุ่นที่ประมาณ 1,000 มิลลิเมตร จึงสามารถนำเอาขบวนรถไฟของญี่ปุ่นไปใช้งานได้โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรมาก แถมรถไฟรุ่นใหม่ๆยังใช้ชิ้นส่วนไฟฟ้าที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีอันล้ำหน้าซึ่งซับซ้อน แต่รถไฟเก่านั้นยังเป็นเทคโนโลยีแบบเรียบง่าย ทำให้สามารถซ่อมบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า

 japan-train2

ถือว่าแนวคิดที่ดีมากๆนะคะให้การส่งออกรถไฟขบวนเก่าที่ไม่ใช้งานแล้วที่ประเทศญี่ปุ่น ให้ได้กลับมาวิ่งให้บริการผู้คนอีกครั้งในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากทางญี่ปุ่นจะประหยัดเงินในการทำลายรถไฟเก่าๆแล้ว ประเทศผู้รับก็ยังได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟเก่าเพื่อเติมเต็มให้สาธารณูปโภคในประเทศครบครันขึ้น สุดท้ายคนที่ได้ประเทศที่สุดก็เห็นจะไม่ใช่ใครที่ไหน ก็เป็นประชาชนในประเทศนั่นเองใช่ไหมละคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook