ประกันสังคม ขยายอายุผู้สมัครมาตรา 40 จากเดิมอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี

ประกันสังคม ขยายอายุผู้สมัครมาตรา 40 จากเดิมอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี

ประกันสังคม ขยายอายุผู้สมัครมาตรา 40 จากเดิมอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ขยายคุณสมบัติของบุคคลที่สมัครเข้าประกันตนตามมาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม จาก “ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์” เป็น “ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์” สืบเนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบันที่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและยังมีสุขภาพแข็งแรงสามารถทำงานหรือประกอบอาชีพอิสระได้ และเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกันตนตามมาตรา 40 คือ เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร รวมไปถึงพนักงานอิสระต่างๆ

จากการประมาณการข้อมูลประชากรเพศชายเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 61-65 ปี จำนวน 4 ล้านคน ในปี 63 คาดว่าจะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 63,768 คน เป็นเพศชาย 1.4% เพศหญิง 1.75% จำนวนเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลคิดเป็น 45,147,600 บาท การประกันตนมีสามทางเลือกด้วยกันคือ

  1. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท
  2. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท
  3. ผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เช่น เจ็บป่วยจะได้รับค่าชดเชยวันละ 300 บาท (ไม่เกิน 30 วันต่อปี) หากทุพพลภาพจะได้รับเงินทดแทน กรณีเสียชีวิตได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook