รู้ยัง! เงินฝากไม่มีการเคลื่อนไหว 10 ปี รัฐสามารถนำมาใช้ได้

กระทรวงการคลัง เตรียมออกกฎหมายบริหารจัดการเงินฝาก ให้อำนาจกระทรวงการคลังดึงเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปของประชาชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมบัญชีเงินฝาก ทั้งสกุลเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ เฉพาะในบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีกระแสรายวันบังคับใช้กับบัญชีที่ไม่มีการฝากถอน หรือ โอน เป็นระยะเวลา เกินกว่า 10 ปี โดยจะนับจากวันที่ 1 มกราคมของปีถัด จากวันสุดท้ายที่บัญชีมีการเคลื่อนไหวการติดตาม ทุกบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีบัญชีเงินฝากอื่นที่เคลื่อนไหวก็ตาม โดย สถาบันการเงินนำส่งเงินในบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวให้กับกรมบัญชีกลาง เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องให้กับเงินคงคลัง แต่เจ้าของบัญชีเงินฝาก หรือ ทายาทสามารถขอรับเงินคืนได้ที่กรมบัญชีกลาง โดยไม่มีดอกเบี้ย
แนวทางการบริหารจัดการเงินฝากในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า กรณีเงินฝากมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่า 2,000 บาท ธนาคารจะเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก (จนกระทั่งเงินในบัญชีหมด) กรณีบัญชีเงินมียอดเงินฝากคงเหลือสูงกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บค่ารักษาบัญชีได้ โดยธนาคารจะแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่นำกกหมายบริหารเงินฝากมาใช้ หลายประเทศได้ใช้กฎหมายนี้ ออสเตรเลีย, อังกฤษ, ไอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
แต่อย่าเพิ่งตกใจไปเนื่องจากว่ากฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการ เปิดรับฟังความคิดเห็นข้อคิดเห็น และเสนอแนะ จากทุกภาคส่วน ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม - 14 พฤศจิกายน 2560 ทาง Fax: 0 2618 3366 และ Email : fpo.hearing@gmail.com