ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น20.95จุด

ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น20.95จุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเมื่อคืนนี้ (13 ก.ค.)ที่ 21,553.09 จุด เพิ่มขึ้น 20.95 จุด หรือ +0.10% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,447.83 จุด เพิ่มขึ้น 4.58 จุด หรือ +0.19% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,274.44 จุด เพิ่มขึ้น 13.27 จุด หรือ +0.21%  โดยดาวโจนส์ปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร ก่อนที่เจพีมอร์แกน, ซิตี้กรุ๊ป และเวลส์ ฟาร์โก จะเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ในวันนี้ และจากแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีก นอกจากนี้ ตลาดยังได้ปัจจัยบวกจากการที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เน้นย้ำในการแถลงนโยบายรอบครึ่งปีเมื่อวานนี้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดได้เน้นย้ำในระหว่างการแถลงนโยบายรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อวานนี้เมื่อวานนี้ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่า การปรับลดงบดุลของเฟดจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 3,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 247,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 เดือน โดยตัวเลขผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังคงอยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 123 ติดต่อกัน ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970
ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ขยับขึ้น 0.1% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากทรงตัวในเดือนพ.ค. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พุ่งขึ้น 2.0% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PPI ทรงตัวในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบรายปี
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนี PPI ได้รับแรงบวกจากการปรับตัวขึ้นของค่าใช้จ่ายในภาคบริการ ขณะที่ราคาพลังงานปรับตัวลง
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย., ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook