ทีเอ็มบี ผนึก มจธ. นำอาร์แอนด์ดีช่วยต่อยอดเอสเอ็มอีไทย
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/mn/0/ud/90/452985/tmb.jpgทีเอ็มบี ผนึก มจธ. นำอาร์แอนด์ดีช่วยต่อยอดเอสเอ็มอีไทย

    ทีเอ็มบี ผนึก มจธ. นำอาร์แอนด์ดีช่วยต่อยอดเอสเอ็มอีไทย

    2017-01-12T11:03:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

         ทีเอ็มบี และ เคเอกซ์ พื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ของประชาคมจากทุกภาคส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกันสร้างศักยภาพให้เอสเอ็มอี ด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่ผู้ประกอบการ มุ่งช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยให้แข็งแกร่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอีที่เป็นสมาชิกโครงการ Lean Supply Chain by TMB สนับสนุนงานวิจัยของเอสเอ็มอี ต่อยอดศักยภาพธุรกิจ สร้างต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเอสเอ็มอีไทยพัฒนาตนเอง

         นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือกับ เคเอกซ์ มจธ. ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและความพร้อมให้กับเอสเอ็มอีที่เป็นสมาชิกในโครงการ Lean Supply Chain by TMB ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ อันเป็นความเชี่ยวชาญของ เคเอกซ์ มจธ. มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพตลอดทั้งซัพพลายเชน นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษามาสู่เอสเอ็มอีอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาและก้าวหน้าได้มากกว่าที่ดำเนินการกันเองภายในแต่ละบริษัท โดยทาง เคเอกซ์ มจธ. จะช่วยเอสเอ็มอีในโครงการฯ ด้วยการเข้าเยี่ยมกิจการ ตรวจวิเคราะห์สุขภาพธุรกิจ รวมทั้งการให้คำปรึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าไปใช้บริการ Co-working space เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ประกอบการต่างๆ ภายในอาคารเคเอกซ์ รวมไปถึงการจัดพื้นที่พิเศษ หรือ ‘Lean Supply Chain by TMB Corner’ บริเวณชั้น 12 ของอาคาร เพื่อแสดงรายละเอียดของโครงการ และกรณีศึกษาของเอสเอ็มอี เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการทั่วไปอีกด้วย พร้อมกันนี้ ทีเอ็มบี และ เคเอกซ์ มจธ. จะร่วมกันคัดเลือกโครงการจำนวน 5 โครงการที่มีกรณีศึกษาน่าสนใจมาให้การสนับสนุนทุนวิจัย โดยจะคัดเลือกโครงการที่มีความโดดเด่นด้านสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม จำนวน 2 โครงการที่ต่อยอดจากโครงการของ Lean Supply Chain by TMB ในระดับ Green Belt และโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาซัพพลายเชนอีก 3 โครงการ ที่มีความโดดเด่นชัดเจนในด้านการเรียนรู้จริง นำไปปฎิบัติใช้ได้จริง และเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม มาให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อสร้างเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จให้เอสเอ็มอีไทย เพื่อจะได้ช่วยกันจุดประกายแนวคิดการต่อยอดธุรกิจด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

         "ความร่วมมือระหว่างทีเอ็มบี และเคเอกซ์ มจธ. ในครั้งนี้ นับว่าเป็นมิติใหม่ของการยกระดับให้ความสนับสนุนเอสเอ็มอีของไทย ที่ภาคสถาบันการเงินร่วมกับภาคการศึกษาซึ่งจะเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหมดนี้ เป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ตรงจุด ตรงประเด็น และสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างแท้จริง และจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” นายบุญทักษ์ กล่าวสรุป

         รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “มจธ. ได้พัฒนาอาคารเคเอกซ์เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายที่จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการออกแบบ จากทั้งภายใน มจธ. และสถาบันเครือข่ายต่างๆ มาช่วยสร้างให้ผู้ประกอบการมีสมรรถนะความสามารถสูงขึ้น ทำให้การประกอบการมีคุณภาพดีขึ้น ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าและมูลค่าสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นวัตกิจ (Start ups) ประสบความสำเร็จได้ดีและเข้มแข็งยิ่งขึ้น ความร่วมมือกับทีเอ็มบีซึ่งเป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในครั้งนี้ จะเป็นการนำจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน มาเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถของ SMEs ในโครงการ Lean Supply Chain by TMB โดยจะมีอาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษา เข้าร่วมกับทีเอ็มบีและผู้ประกอบการ ในการกำหนดโจทย์/ปัญหาทางเทคโนโลยีจากสภาพที่เกิดขึ้นจริง นำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาให้เกิดผลเชิงนวัตกรรม คือเกิดความรู้ที่นำไปแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา และช่วยปลูกฝังให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ในความเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น และมองเห็นโอกาสในทางธุรกิจใหม่ๆ ช่วยสร้างโอกาสในการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เป็นการช่วยประเทศขับเคลื่อนระบบนวัตกรรม ที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศชาติต่อไป”

         โครงการ Lean Supply Chain by TMB
         โครงการ Lean Supply Chain by TMB เป็นหลักสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจทั้งซัพพลายเชนผ่านเทคนิค Lean Six Sigma มาช่วยค้นหาและกำจัดความสูญเปล่า (Waste) ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถทำงานได้อย่างคงที่สม่ำเสมอ จนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจอย่างสูงสุด และยังต่อยอดพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจไปสู่ซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมในอนาคต โดยแบ่งการอบรมเป็น 3 หลักสูตร คือ
         - White belt สร้างความรู้และเข้าใจพื้นฐาน
         - Blue belt การอบรมเชิงปฎิบัติการ
         - Green belt การลงมือปฎิบัติ ด้วยกรณีศึกษาในธุรกิจของตนเอง พร้อมกับที่ปรึกษามืออาชีพ

         ที่ผ่านมา ทีเอ็มบี ได้เปิดอบรมหลักสูตรนี้มาแล้วถึง 9 รุ่น ร่วมกับหน่วยงานชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้และกรณีศึกษา อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพและการโรงแรม สินค้าอุปโภค รถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติได้จริง เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดย 52 โปรเจกต์ของผู้ที่สำเร็จหลักสูตรระดับ Green Belt สามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้แล้วกว่า 580 ล้านบาท

         อาคารเคเอกซ์ (KX-Knowledge Exchange) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

         มจธ. เปิดอาคารเคเอกซ์ หรือ KX-Knowledge Exchange เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ระหว่างภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยในปี 2559 บนถนนกรุงธนบุรี โดยตัวอาคารมีความสูง 20 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 20,000 ตารางเมตร โดยประมาณ อาคารได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่แต่ละส่วนตามแนวคิด Interlocking in Space และมีความเป็นระบบนิเวศ (Eco System) ที่เอื้อต่อการสร้างนวตกิจ (Start ups) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านกิจกรรมภายในอาคารเคเอกซ์มีเป้าหมายเพื่อนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์โดยภาคอุตสาหกรรม และสร้างเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge exchange) ระหว่างประชาคมจากภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม ในลักษณะพันธมิตรอุตสาหกรรม (Industry Cluster) นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับบ่มเพาะนวตกิจ (Startup companies) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม รวมถึง Design hub อาทิ Maker Space และบริษัทออกแบบระดับโลก พร้อมด้วย Co-Working Space เพื่อสนับสนุนและให้บริการด้านการออกแบบแก่อุตสาหกรรม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจสมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้วกว่า 50 ราย

     

     

    [Advertorial]