จุฬาฯแนะโครงการพัฒนารถไฟไทยจีนต้องรอบคอบ

จุฬาฯแนะโครงการพัฒนารถไฟไทยจีนต้องรอบคอบ

จุฬาฯแนะโครงการพัฒนารถไฟไทยจีนต้องรอบคอบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะไทยรอบคอบโครงการพัฒนารถไฟไทย - จีน ชี้ ต้องใช้งบมหาศาล มีผลเศรษฐกิจ ขณะเผย ไทยควรเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีการพัฒนาระบบราง

นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแสดงความคิดเห็นถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟไทย-จีน ว่า ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลจีนในการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือ สแตนดาร์ดเกจ เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร

รวมถึงการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยการพัฒนาทางรถไฟร่วมกัน เป็นโจทย์ใหญ่ที่ไทยจะต้องพิจารณาถึงส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เนื่องจากการใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งจะมีภาระผูกพัน และอาจเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว จึงควรกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ

ขณะที่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมข้อเสนอในการพัฒนาระบบรางให้กับรัฐบาลพิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านนโยบายการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหาร การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง และการเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ตลอดจนบุคลากร เพื่อให้รัฐบาลได้คำนึงถึงว่ากรอบการกำหนดยุทธศาสตร์ของไทยเป็นไปอย่างรอบด้านและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบรางว่าจะสามารถคุ้มทุน โดยเฉพาะการนำเข้าและส่งออกผ่านระบบรางอาจจะแย่งตลาดในภายประเทศ รวมถึงอาเซียน

อย่างไรก็ตาม ต้องปฏิรูปปัญหาเชิงโครงสร้างองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. ที่ทำให้ระบบรางยังไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่ดูแลในเรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook