Daily View - บล.กสิกรไทย

Daily View - บล.กสิกรไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“Sell on Flood” แม้สโลวาเกียจะอนุมัติขยายกองทุน EFSF แล้ว แต่การปรับลดเครดิตสเปนและธนาคารในยุโรปและอาจลามไปถึงธนาคารในสหรัฐที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อาจส่งผลกดดันตลาดในระยะสั้น โดยเราคาดว่าความเสี่ยงจากฝั่งยุโรปที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภัยน้ำท่วมในประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้นักลงทุนมีเทขายทำกำไรออกมาในระยะสั้นเพื่อรอดูสถานการณ์อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่าระยะต่อไปตลาดจะมีการเก็งกำไรเรื่องผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยไตรมาส 3 ที่คาดว่าจะออกมาดี การชะลอตัวลงของเงินเฟ้อจีน (เดือนกันยายนอยู่ที่ 6.1%YoY ลดลงจาก 6.2%YoY) และแนวทางการจัดการหนี้ยุโรปที่มีพัฒนาการขึ้น แต่เรายังมีความกังวลว่าหลังยุโรปประกาศแผนแก้หนี้ยุโรปในช่วงปลายเดือนนี้แล้ว อาจมีการขายทำกำไรเมื่อข่าวดีออกมา อย่างไรก็ตามความเสี่ยงต่อคำแนะนำของเราคือภายในกลางเดือนหน้ายุโรปไม่มีแผน จัดการวิกฤติอย่างเด็ดขาด downside risk มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ถึง 730 จุด   กลยุทธ์การลงทุน: สำหรับนักลงทุนที่สะสมหุ้นตามคำแนะนำก่อนหน้านี้ หากเริ่มมีกำไรแนะนำให้ทยอยลดพอร์ต (เมื่อ SET หลุด 932) ออกไปก่อน เนื่องจากความเสี่ยงจากยุโรปที่ยังคงมีอยู่และยากแก่การคาดการณ์ แม้เรายังเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ก็ตาม แต่สำหรับท่านที่มีต้นทุนสูงและยังไม่ได้กำไร แนะนำให้ถือต่อไปโดยอาจทำ Hedging ด้วยการเปิด Short Futures ประกอบด้วย ส่วนการเก็งกำไรช่วงนี้จากตลาดที่ดูดีขึ้นให้เน้นไปที่กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลงมามากเช่น BANPU PTT STA TOP KSL เป็นต้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่เริ่มอ่อนค่าลง ประกอบกับไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขณะที่การเก็งกำไรประเด็นน้ำท่วม เราแนะนำให้ลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์หรือได้รับผลกระทบน้อย เช่น BIGC CPALL MAKRO HMPRO KH KBS KSL PTT BANPU TOP SAT   ปัจจัยสำคัญวันก่อนหน้า - S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน 1 อันดับ จาก AA สู่ AA- - Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ UBS ลง 1 อันดับ จาก A+ สู่ A พร้อมกับทบทวนอันดับเครดิตของธนาคารในสหรัฐและยุโรปอีก 8 แห่ง - รัฐบาลสโลวาเกียอนุมัติแผนขยายกองทุน EFSF เป็น 440,000 ล้านยูโร แล้ว - จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 404,000 ราย   ปัจจัยสำคัญวันนี้ - EU: CPI วันที่ 14 ต.ค. - US: Retail Sales, Consumer Sentiment วันที่ 14 ต.ค. - ปัญหาหนี้ยุโรป - ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย   ปัจจัยสำคัญในช่วงต้นสัปดาห์หน้า - US: Empire State Mfg Survey, Industrial Production วันที่ 17 ต.ค. - China: GDP, Industrial Production, Retail Sales วันที่ 18 ต.ค. - EU: Zew-Survey (Econ. Sentiment) วันที่ 18 ต.ค. - US: Producer Price Index, Housing Market Index วันที่ 18 ต.ค. - US: Consumer Price Index, US: Housing Starts วันที่ 19 ต.ค. - ติดตามผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ เช่น Citigroup, Well Fargo (17 ต.ค.), Apple, Bofa, Goldman Sachs, Coca-cola, IBM, Intel, Yahoo (18 ต.ค.)   สรุปตลาดต่างประเทศ: DJ+40.72/-0.35% S&P-3.59/-0.30% NASDAQ+15.51/+0.60% FTSE-38.42/-0.71% DAX-79.63/-1.33% CAC-42.82/-1.33% ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลง เนื่องจากแรงขายหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากผลประกอบการไตรมาส 3 ของ JPMorgan หดตัวลง อันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป โดยตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนด้วย   สรุปตลาด Commodity: Oil USD84.23/bbl/-1.34 Gold USD1,668.5/Once/-14.1 สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลัง EIA รายงานสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเกินคาด ขณะที่สัญญาทองคำปรับตัวลดลงจากการเทขายทำกำไรและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น   ECONOMICS & POLITICS - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนก.ย.54 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ 72.2 ลดลงจาก 73.8ในเดือนส.ค.54 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 73 จาก 74.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 110.3 จาก 102.1 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นประจำเดือนก.ย. อยู่ที่ 81.8 ลดลงจาก 83.4 ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ที่ 63.5 ลดลง 65 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ที่ 87.8 ลดจาก 89.6 สาเหตุที่ดัชนีลดลงเนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ รวมถึงผู้บริโภคกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังคงสูงต่อเนื่องแต่รายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย ประกอบกับความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และความไม่มั่นใจต่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล - คปภ. เผย 7 นิคมอุตสาหกรรมในพระนครศรีอยุธยาทำประกันวงเงิน 4.1 แสนล้านบาท คาดเสียหายเบื้องต้น 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่บริษัทประกันประเมินรถยนต์ได้รับเสียหายจากน้ำท่วม 5 พันคัน ค่าสินไหม1 พันล้านบาท   สรุปประเด็นวิกฤติน้ำท่วม - ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม ล่าสุด จนถึงวันที่ 12 ตุลาคม คาดว่าสูงกว่า 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรเสียหายกว่า 60,000 ล้านบาท กระทบต่อ GDP ในปีนี้ให้ขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.3-1.5 มาอยู่ที่ร้อยละ3-3.5 นอกจากนี้ยังแนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรึง หรือลดอัตราดอกเบี้ย ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ เพื่อเป็น ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศ   สรุปประเด็นการเมือง - \"ยุทธศักดิ์\" อ้างเสียงข้างมากในสภาแก้ พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมเปิดทางฝ่ายการเมืองแต่งตั้งโยกย้ายทหาร   INDUSTRY NEWS - กลุ่มยานยนต์และยางรถยนต์: สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) ระบุวันนี้ว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ของจีนในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 19.19% เมื่อเทียบรายเดือน มาแตะที่ 1.65 ล้านคัน ขณะที่ ยอดผลิตรถอยู่ที่ 1.60 ล้านคันเมื่อเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้น 15% จากเดือนส.ค. - กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม: นายกสมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว(แอตตา) เปิดเผยว่า ขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติอย่าง ไต้หวันฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทยอยยกเลิกการเดินทางมาประเทศไทยในปลายเดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้ เฉลี่ย 20% เนื่องจากไม่มั่นใจต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเกรงว่าจะไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติ   EXTERNAL FACTOR - ดัชนี DJ ปิดลบ 40.72 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 11,478.13 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 3.59 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 1,203.66 จุด ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 15.51 จุด หรือ 0.60% ปิดที่ 2,620.24 จุด ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐเปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 หดตัวลง 4% สู่ระดับ 4.26 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.02 ดอลลาร์ต่อหุ้น อันเนื่องมาจากการขาดทุนในตลาดปล่อยกู้จำนอง ผลประกอบการที่ลดลงของเจพีมอร์แกนทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าภาคธนาคารของสหรัฐอาจจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ แม้ผลประกอบการต่อหุ้นของเจพีมอร์แกนยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 96 เซนต์ก็ตาม ทั้งนี้ ผลประกอบการที่น่าผิดหวังได้ฉุดหุ้นเจพีมอร์แกนร่วงลง 4.8% และยังได้ฉุดหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มธนาคารร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ป อิงค์ ร่วงลง 5.3% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ร่วงลง 4.4% และหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 5.5% (เจพี มอร์แกนเป็นธนาคารรายแรกของสหรัฐที่เปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ส่วนสัปดาห์หน้าจะเป็นการรายงานผลประกอบการของธนาคารเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ และมอร์แกน สแตนลีย์) นอกจากนี้ตลาดหุ้นยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากสำนักงานศุลกากรจีนรายงานเมื่อวานนี้ว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือนก.ย. ร่วงลง 12.4% แตะที่ 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ส่วนยอดเกินดุลการค้าในช่วงเดือนม.ค.-ก.ย.หดตัวลง10.6% แตะ 1.07 แสนล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก เนื่องจากแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่คำนวณในดัชนีNasdaq พุ่งขึ้น 0.6% หุ้นยาฮู อิงค์ พุ่งขึ้น 1% จากการคาดการณ์ที่ว่าจะมีบริษัทที่แข็งแกร่งเข้าเทคโอเวอร์กิจการยาฮู หุ้นแอปเปิล อิงค์ พุ่งขึ้น 1.6% หุ้นกูเกิลดีดตัวขึ้น 5.4% ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นนุดวันที่ 8 ต.ค.ลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 404,000 รายสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 405,000 ราย - ราคาน้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง USD1.34bbl หรือ 1.59% ปิดที่ USD84.23/bbl เนื่องจาก(EIA) เปิดเผย สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเกินคาด ประกอบกับยอดเกินดุลการค้าของจีนร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทำให้นักลงทุนกังวลว่าความต้องการพลังงานอาจลดลง - สัญญาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง USD14.1 หรือ 0.8% ปิดที่ระดับ USD1,668.5เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร ประกอบกับการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ - ดัชนีค่าระวางเรือ ปิดที่ 2,155 เพิ่มขึ้น 28 จุด หรือ 1.31% - S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปน 1 อันดับ จาก AA สู่ AA- เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่อ่อนแอประกอบกับอตราว่างงานที่สูงถึง 21% - Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ UBS ลง 1 อันดับ จาก A+ สู่ A พร้อมกับทบทวนอันดับเครดิตของธนาคารในสหรัฐและยุโรปอีก 8 แห่ง ได้แก่ Barclays Bank, BNP Paribas, Credit Suisse, Deutsche Bank, Societe Generale, Bank of America, Morgan Stanley และ Goldman Sachs ซึ่งธนาคารทั้งหมดมีโอกาสที่จะถูกปรับลดอันดับเครดิตลงในอนาคต - รัฐบาลสโลวาเกียเป็นชาติสุดท้ายของสมาชิก 17 ประเทศยูโรโซนที่อนุมัติแผนขยายกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน (EFSF) เป็น 440,000 ล้านยูโร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 114 เสียงจากทั้งหมด 146 เสียง ลงมติสนับสนุนขยายกองทุนอีเอฟเอสเอฟและมอบเครื่องมือต่างๆแก่กองทุนนี้เพิ่มเติมเพื่อหยุดยั้งวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่กำลังลุกลาม - IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP ในภูมิภาคเอเชียลงมาอยู่ที่ระดับ 6.3% ในปี 2554 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 7% และได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 2555 ลงมาอยู่ที่ระดับ 6.7% จากเดิมที่ระดับ 7%เนื่องจากภาวะผันผวนที่เกิดขึ้นในยุโรป และความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว - สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในเดือนส.ค. มาเป็น 2.9%สูงกว่ารายงานก่อนหน้านี้ซึ่งประเมินไว้อยู่ที่ 2.8% ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 3 ปี - สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือนก.ย. 2554 ร่วงลง 12.4% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว แตะ 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์ - ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.25% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันในการประชุม 4 ครั้ง เนื่องจากความไม่แน่นอนในต่างประเทศ รวมถึงวิกฤตหนี้ยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก   TODAY’S REPORTS - PSL: เราคาดว่ากำไรงวด 3Q54 จะอยู่ที่ 357 ล้านบาท (-10.9%QoQ, +105.5%YoY)หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นรายงานว่า PSL จะรายงานกำไรงวด 3Q54 ประมาณ 370 ล้านบาท เนื่องจากการบันทึกรายการพิเศษจากการขายเรือ จำนวน 165 ล้านบาท โดยเราทำประมาณการกำไรของ PSL ที่ 357 ล้านบาท(-10.9%QoQ, +105.5%YoY) โดยเราคาดว่า PSL จะบันทึกรายการพิเศษจากการขายเรือประมาณ 153 ล้าน บาท ซึ่งถ้าไม่รวมรายการพิเศษ PSL จะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 204 ล้านบาท (-2.5%QoQ, -4.8%YoY)เนื่องจากจำนวนเรือที่ลดลง ขณะที่งวด 4Q54 เราคาดว่าผลประกอบการจะดีขึ้น QoQ เนื่องจากมีเรือใหม่เข้ามาเพิ่มจาก 22 ลำ เป็น 25 ลำ เรายังคงคำแนะนำ Neutral ราคาพื้นฐาน 21.5 บาท   ALTERNATIVE INVESTMENT STRATEGY สุชีล นารูลา (susheel.n@kasikornsecurities.com; Tel +662 696-0021)   Gold Futures: แนะนำให้เปิด Long กรณีที่ GV11 ทะลุ 24,870 ขึ้นไปได้จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ราคาทองโลก (RTXGL) กำลังแกว่งแต่ยังมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านบริเวณ$1,690-1,692 ซึ่งถ้าสามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ มีโอกาสขึ้นไปทดสอบที่ $1,700-1,710 และ $1,715-1,725 หรือสูงกว่านั้น ขณะที่แนวรับอยู่ที่ $1,665-1,670 และ $1,655 สำหรับ Gold Futures (GFV11) ทาง Technical กำลังแกว่งอยู่ในกรอบแนวต้านที่ 24,870 ซึ่งถ้าสามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านต่อไปที่ 25,000, 25,350 และ 25,650 หรือสูงกว่านั้น แต่ถ้าหลุด 24,500 ลงมา อาจแกว่งกลับลงไปที่ 24,350 หรือ 24,000-23,780 เราแนะนำให้รอดูจังหวะต่อไปก่อน โดยสามารถเปิดLong ได้ กรณีที่ GV11 สามารถทะลุผ่าน 24,870 ขึ้นไปได้ SET50 Futures: เราแนะนำ 2 กลยุทธ์จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ S50Z11 แกว่งลงมาแรงและหลุดแนวรับบริเวณ 643-642 ซึ่งมีโอกาสแกว่งลงไปทดสอบที่ 639-637 และ/หรือ 614-612 โดยมีแนวรับระหว่างทางที่ 627-625 สำหรับกรณีรีบาวด์ขึ้นมา มีแนวต้านที่ 674, 682 และ/หรือ 688-690 โดยรวมแล้วสถานการณ์ยังมีความเสี่ยงในระยะกลางถึงยาว กลยุทธ์ช่วงนี้ยังคงแนะนำให้ทำในวงจำกัด   กลยุทธ์การลงทุน : 1) กรณี Long แนะนำให้เปิด Long กรณีที่ S50Z11 รีบาวด์ขึ้นมาจากแนวรับบริเวณ 643-642 และถ้าทะลุ 648-650 และ 656 ขึ้นมา โดยใช้แนวรับดังกล่าว เป็น Stop loss 2) กรณี Short แนะนำให้ถือ Short หลังเปิดไปแล้วเมื่อวานนี้ เพื่อรอจังหวะลงไปแบ่งทำกำไรบริเวณ 639-637 และ/หรือ 614-612 โดยใช้ 656 เป็น Stop loss (S50Z11 มีแนวต้าน 674, 682 และ 688-690 แนวรับ 639-637, 627-625 และ 614-612)   MARKET EVENT   Thai Event - 17/10/11 ตลาดอนุพันธ์ เปิดซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า (Oil Futures) - 19/10/11 กนง. ประชุมนโยบายดอกเบี้ย - สัปดาห์ที่ 3 เดือนต.ค. ส.อ.ท. แถลงดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ - สัปดาห์ที่ 3 เดือนต.ค. กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกของไทย - 28/10/11 ธปท. รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ - สัปดาห์ที่ 4 เดือนต.ค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน - สัปดาห์ที่ 4 เดือนต.ค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน - สัปดาห์ที่ 4 เดือนต.ค. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง - 31/10/11 ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนก.ย. - 01/11/11 กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค.   World Event - 14/10/11 China: CPI* - 14/10/11 EU: CPI* - 14/10/11 EU: Trade Balance - 14/10/11 US: Retail Sales* - 14/10/11 US: Import and Export Prices - 14/10/11 US: Consumer Sentiment - 14/10/11 US: Business Inventories - 17/10/11 US: Empire State Mfg Survey - 17/10/11 US: Industrial Production* - 18/10/11 China: GDP* - 18/10/11 China: Industrial Production - 18/10/11 China: Retail Sales - 18/10/11 EU: Zew-Survey (Econ. Sentiment) - 18/10/11 US: Producer Price Index* - 18/10/11 US: Housing Market Index - 19/10/11 EU: Current Account - 19/10/11 EU: Construction Output - 19/10/11 US: Consumer Price Index* - 19/10/11 US: Housing Starts* - 20/10/11 EU: Consumer Confidence* - 20/10/11 US: Jobless Claims* - 20/10/11 US: Existing Home Sales* - 20/10/11 US: Philadelphia Fed Survey* - 21/10/11 EU: Govt Debt/ GDP Ratio* * Markets will pay more attention to these figures   กวี ชูกิจเกษม Kavee.c@kasikornsecurities.com, +662 696-0030 วิชญะ วงศ์ภาณุวิชญ์ Wichaya.w@kasikornsecurities.com, +662 696-0038   โดย บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 14 ต.ค. 2554

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook