กิจกรรมสานสัมพันธ์พนักงาน หลังเลิก WFH กลับเข้าทำงานออฟฟิศ

กิจกรรมสานสัมพันธ์พนักงาน หลังเลิก WFH กลับเข้าทำงานออฟฟิศ

กิจกรรมสานสัมพันธ์พนักงาน หลังเลิก WFH กลับเข้าทำงานออฟฟิศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนอาจจะไม่ได้นับเหมือนกันว่าเป็นเวลานานเท่าไร ที่เราทำงานจากบ้านเต็มเวลาในช่วงที่ผ่านมา รู้แต่ว่าก็หลายเดือนเอาการอยู่ ในช่วงเวลานั้นเราก็จะได้ติดต่องานกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ อาจรวมทั้งเจ้านายและลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์แทน บริษัทหลาย ๆ ที่ก็อาจจะประยุกต์ให้มีกิจกรรมสานสัมพันธ์ทีมงานแบบออนไลน์ ระหว่างที่พนักงานทั้งหมด WFH จริง ๆ ก็คงไม่มีใครรู้สึกชอบหรอก แต่ก็พอจะทำให้หายเบื่อ หายเหงา ไม่รู้สึกว่ากำลังทำงานอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย และยังรักษาสัมพันธภาพของทีมไว้ได้ เพื่อรอช่วงที่จะกลับมาเจอหน้ากันตามปกติ

มาถึงเวลานี้ พนักงานหลาย ๆ บริษัทก็เริ่มได้รับนโยบายให้กลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศแล้วเช่นกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสัมพันธ์หรือความสนิทที่เคยมีกับเพื่อนร่วมงานหลาย ๆ คนอาจเลือนรางไป ก่อนที่จะแยกย้ายไปทำงานบ้านใครบ้านมันก็ยังสนิทกันดีอยู่ แต่พอกลับเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบเห็นหน้ากันอีกครั้ง กลับรู้สึกไม่สนิทหรือคุ้นเคยกันแบบเดิม พาลให้เกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วนใจกันได้เวลาที่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะไม่คุ้นเคยกันแบบเดิม รวมถึงการประสานงานระหว่างกันก็อาจจะช้าลง

การสร้างทีมงานนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานเป็นทีม เป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น คุณภาพของการทำงานดีขึ้น เกิดความคิดสร้างสรรค์ ริเริ่มในสิ่งใหม่ เพื่อให้งานและองค์กรมีคุณภาพและมั่นคง นอกจากนี้ยังส่งเสริมการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี สร้างเครือข่ายสัมพันธภาพ และสร้างความสุขในการทำงานร่วมกัน

เวลานี้ อุตส่าห์ได้กลับมาทำงานด้วยกันทั้งทีในรอบหลายเดือน นี่ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ห่างหายไม่เจอกันนาน เราควรกลับมาเริ่มสร้างความสัมพันธ์กันใหม่อีกครั้ง เพื่อจูนความสัมพันธ์ที่ห่างเหินไปให้กลับมาดังเดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อการทำงานในรูปของทีมเวิร์กที่ดี มีกิจกรรมอะไรสนุก ๆ บ้าง ที่สามารถนำมาใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในทีม หลังจากได้กลับมาทำงานร่วมกัน

1. กินข้าวร่วมกัน
การกินข้าว พูดคุย และสังสรรค์ร่วมกันบนโต๊ะอาหาร ยังเป็นวิธีที่ดีในการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นใครหรือเคยห่างหายกันไปด้วยสถานการณ์ใดก็ตาม คนไทยเองก็ให้ความสำคัญกับการกินข้าวมากเช่นกัน เห็นได้จากการใช้เป็นคำทักทายเวลาเจอหน้ากันนั่นเอง ยิ่งถ้าคนระดับหัวหน้าหรือผู้บริหารได้ลงไปมีร่วมโต๊ะกับอาหารมื้อนั้น ๆ อย่างเป็นกันเองด้วยแล้ว ก็ช่วยให้คนบรรยาการในการทำงานผ่อนคลายลงมากกว่าเดิม แม้ว่าจำนวนโต๊ะอาจต้องมากกว่าที่เคย เนื่องจากเราต้องเว้นระยะห่างระหว่างกัน แต่ก็สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้ทุกโต๊ะ

2. พื้นที่ส่วนรวมใช้ร่วมกัน
ออฟฟิศบางแห่งถือโอกาสช่วงที่พนักงาน WFH กันหมด ปรับปรุงพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในออฟฟิศให้ต่างไปจากเดิม โดยอาจเตรียมพื้นที่ส่วนรวมสำหรับพนักงานไว้เพิ่มเติม ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เรายังต้องอยู่กับโรคระบาด และเพื่อเตรียมต้อนรับพนักงานทุกคนกลับมาเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศก็ได้ เช่น โต๊ะบอร์ดเกม โต๊ะบอลมือหมุน หรือมุมนั่งเล่น นั่งพูดคุย ช่วงระหว่างพักก็ให้พนักงานได้มีโอกาสมารวมตัวกันทำกิ จกรรมสนุก ๆ หรือพูดคุยกัน เพื่อผ่อนคลายความเครียดหรือปรึกษาหารือเรื่องงานในบรรยากาศที่แตกต่างจากห้องประชุม

3. กิจกรรมแลกของขวัญ
ไม่จำเป็นต้องทำใหญ่โต และไม่จำเป็นต้องแลกของราคาแพง แค่ให้พนักงานได้มีกิจกรรมทำในช่วงที่ต้องปรับตัวเข้าหาเพื่อนร่วมงาน ที่ถึงแม้จะเป็นเพื่อนร่วมงานที่เคยทำงานร่วมกันมานานแล้วก็จริง แต่หลังจากที่แยกย้ายไปทำงานบ้างใครบ้านมัน ก็อาจทำให้ไม่สนิทสนมกันเท่าที่เคย การแลกของขวัญในที่นี้ไม่ได้ให้ตั้งใจทำให้บรรยากาศออกมาเหมือนการจับของขวัญช่วงปีใหม่ แต่เหมือนเป็นการมอบมิตรภาพและน้ำใจ ฝากเนื้อฝากตัวให้กันมากกว่า

4. บริษัทพาไป Outing
Outing Trip หรือการท่องเที่ยวประจำปีของบริษัท คือการท่องเที่ยวที่บริษัทพาพนักงานทุกคนออกนอกสถานที่ไปพักผ่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงาน อาจเป็นแค่ทริปสั้น ๆ 2 วัน 1 คืน ก็ได้ ในระหว่างนี้พนักงานก็จะได้เชื่อมสัมพันธ์กัน ผ่านการเล่นเกม การ workshop หรือแม้แต่การที่พนักงานอาจเปิดใจพูดคุยกันเอง ปรับตัวเข้าหากัน มีส่วนช่วยในการสร้างทีมเวิร์ก เพราะมีการละลายพฤติกรรม เรียนรู้ที่จะได้อยู่ร่วมกันในเวลาอื่นที่ไม่ใช่เวลางาน รวมกับการสานสันพันธ์ให้คนในองค์กรได้มีความสนิทสนมกันมากขึ้น

5. กิจกรรมสร้างทีมเวิร์กแต่ไม่ใช่เนื้องาน
เป็นกิจกรรมที่ให้ทีมงานได้รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งร่วมกัน แต่ไม่ใช่งานที่ทำกันอยู่เป็นประจำ มอบหมายสิ่งที่พนักงานต้องทำ แล้วให้นำไปวางแผนกันในทีม ได้ผลลัพธ์อย่างไรก็มีการนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ประเมินการทำงานร่วมกัน แต่กิจกรรมนี้ควรกำหนดช่วงเวลาของกิจกรรมให้แน่นอน ไม่ต้องนานมาก เพราะอาจจะรบกวนกับการทำงานปกติของพนักงานได้

6. สวัสดิการเพิ่มเติมให้พนักงาน
คือการที่บริษัทมอบสวัสดิการต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากที่เคยมอบให้แก่พนักงาน เพื่อเป็นการสร้างสังคมอีกรูปแบบหนึ่งให้กับพนักงาน ที่ไม่ใช่ในที่ทำงาน เช่น อาจเป็นคูปองเข้าใช้บริการฟิตเนส ให้พวกเขาได้ไปใช้เวลาออกกำลังกายร่วมกัน ส่วนลดร้านอาหารที่บริษัทดีลได้ ให้พวกพนักงานได้ไปกินอาหารร่วมกันในราคาพิเศษเวลาที่ประชุมหรือพูดคุยงาน หรืออาจเป็นบริการสปอร์ตคลับ เพื่อให้พวกเขาได้ทำกิ จกรรมบางอย่างร่วมกัน เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook