วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาเมื่อมีคนป่วยในบ้าน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคติดต่อชาวญี่ปุ่น

วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาเมื่อมีคนป่วยในบ้าน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคติดต่อชาวญี่ปุ่น

วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาเมื่อมีคนป่วยในบ้าน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคติดต่อชาวญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเหตุให้สมาชิกในบ้านติดไวรัสมาโดยไม่รู้ตัว เพราะการจามและไอโดยใช้มือปิดปาก แล้วใช้มือนั้นสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ ในบ้าน อาจนำไปสู่การแพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัวได้ หากสมาชิกคนอื่นในครอบครัวไปจับหรือสัมผัสเชื้อ แล้วใช้มือตนเองจับปาก เขี่ยจมูก หรือขยี้ตา มารู้วิธีการดูแลบ้านเพื่อให้สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาตามที่คุณมิทสึโอะ คาคุ ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังด้านการป้องกันโรคติดต่อจาก Tohoku Medical & Pharmaceutical University แนะนำกันนะคะ

วิธีการดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนา

พื้นที่ที่สัมผัสบ่อย เช่น สวิตช์ไฟ ลูกบิดประตู โต๊ะ และรีโมททีวีหรือเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น อาจจะมีไวรัสติดอยู่ ดังนั้นควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจากสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ วันละ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตามการใช้คลอรีนน้ำเจือจางอาจทำให้เกิดสนิมกับโลหะได้ จึงควรเช็ดอีกครั้งด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด

เพื่อลดปริมาณไวรัสและลดการติดเชื้อ จึงควรเปิดหน้าต่างหรือประตูให้อากาศถ่ายเทวันละ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณไวรัสแล้ว ยังช่วยสร้างความสดชื่นให้สมาชิกในบ้านด้วย ในกรณีที่มีผู้ป่วยในบ้านควรแยกห้องจากสมาชิกทุกคน โดยห้องของผู้ป่วยควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดให้อากาศถ่ายเทได้ดี และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทเป็นเวลา 5-10 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง

ในกรณีที่มีผู้ป่วยในบ้านนั้น ควรแยกใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน และแก้วของตัวเองเท่านั้น ไม่ใช้ร่วมกัน และควรแยกรับประทานอาหาร หลังจากใช้งานแล้วให้นำจาน ชาม ช้อน และแก้วน้ำมาแช่ฆ่าเชื้อก่อน 5 นาที จากนั้นจึงล้างตามปกติ

เสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ป่วยอาจจะปนเปื้อนด้วยของเหลวจากร่างกาย เช่น น้ำมูก เสมหะ อาเจียน และอุจจาระ เป็นต้น วิธีการซักทำความสะอาดทำได้โดยการนำเสื้อผ้าผู้ป่วยมาแช่น้ำร้อนตั้งแต่ประมาณ 80 องศาเซลเซียสขี้นไปเป็นเวลา 10 นาที แล้วจึงนำมาซักรวมกับเสื้อผ้าของคนอื่นได้ แต่เพื่อความสบายใจจะซักแยกกันก็ดี ทั้งนี้หากเป็นเสื้อผ้าที่สีไม่ตกสามารถนำเสื้อผ้าผู้ป่วยมาแช่คลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์แทนการแช่น้ำร้อนก่อนซักก็ได้

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส หลังเข้าห้องน้ำเสร็จให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำทุกครั้งเพื่อลดการกระจายของเชื้อ จากนั้นให้ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และควรเปิดพัดลมถ่ายเทอากาศในห้องน้ำด้วย นอกจากนี้ก็ควรเช็ดฆ่าเชื้อบริเวณที่ผู้ป่วยสัมผัส ได้แก่ สวิตช์ไฟ ที่กดชักโครก และโถส้วม เป็นต้น ด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์

สำหรับกระดาษทิชชู่ที่เช็ดน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วย รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้พยาบาล ควรนำทิ้งในถังขยะที่รองไว้ด้วยถุงพลาสติกก่อน แล้วผูกถุงพลาสติกก่อนทิ้ง โดยระวังไม่ให้มือสัมผัสกระดาษทิชชู่หรือขยะอื่น ๆ โดยตรงขณะทิ้ง

หากมีของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย เช่น เสมหะ อาเจียน หรืออุจาระตกอยู่ที่พื้นห้อง ควรใช้กระดาษชำระสำหรับงานครัวหรือกระดาษอื่นที่คล้ายกันชุบด้วยด้วยแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือคลอรีนน้ำความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์ เช็ดทำความสะอาด แล้วทิ้งกระดาษที่ใช้เช็ดลงในถุงพลาสติกและผูกปากถุงทิ้งขยะ

วิธีการเตรียมน้ำคลอรีนเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ

วิธีการเตรียมคลอรีนน้ำสำหรับฆ่าเชื้อและทำความสะอาดบ้านสามารถทำได้โดยการเติมน้ำ 2 ลิตร ลงไปในขวดพลาสติกขนาด 2 ลิตร จากนั้นจึงเติมคลอรีนน้ำความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ 8 มิลลิลิตร หรือประมาณ 2 ฝาขวดพลาสติกลงไป เขย่าให้เข้ากัน จากนั้นสามารถนำมาใช้ฆ่าเชื้อได้เลย

อย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังในการใช้สารละลายคลอรีนน้ำคือ หากเช็ดวัตถุที่เป็นโลหะอาจทำให้เกิดสนิมได้ ดังนั้นหลังการเช็ดด้วยคลอรีนน้ำแล้วก็ควรเช็ดตามด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดอีกครั้ง

ดังกล่าวเป็นวิธีการดูแลรักษาบ้านให้สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาเมื่อมีคนในบ้านติดเชื้อมา อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีคนป่วยในบ้านก็ควรดูแลเปิดหน้าต่างหรือประตูให้อากาศถ่ายเทและคอยเช็ดทำความสะอาดโต๊ะ ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ ตลอดจนอุปกรณ์ที่คนในบ้านสัมผัสร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพของตัวเราและครอบครัวให้ปลอดภัยแข็งแรงไม่เจ็บป่วยกันนะคะ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนาเมื่อมีคนป่วยในบ้าน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคติดต่อชาวญี่ปุ่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook