7 วัสดุปูพื้นโรงจอดรถ แตกต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดี มาดูกันเลย

7 วัสดุปูพื้นโรงจอดรถ แตกต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดี มาดูกันเลย

7 วัสดุปูพื้นโรงจอดรถ แตกต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดี มาดูกันเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในการสร้างบ้านสักหลัง นอกเหนือจากตัวบ้านทีต้องพิถีพิถันการการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้าง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน และสะดวกต่อการอยู่อาศัยแล้ว "โรงจอดรถ" ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของบ้าน สำหรับเป็นพื้นที่จอดรถให้ปลอดภัย และป้องกันแดดและฝน

วันนี้ ในบ้าน จะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ 7 วัสดุปูพื้นโรงจอดรถ ที่มีให้เลือกหลากหลายชนิด การตัดสินใจเลือก อาจไม่ใช่เรื่องพื้นๆ อย่างที่คิด เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ การทำพื้นโรงจอดรถควรเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติทนต่อการเสียดสีของยางรถยนต์ได้ ไม่ลื่น ทำความสะอาดง่าย ซึ่งมีหลากหลายวัสดุให้เลือกใช้ ตั้งแต่การตกแต่งพื้นผิวคอนกรีตไปจนถึงการเทหรือปูวัสดุทับหน้าต่างๆ

ลองตามมาดูกันเลยครับ

 1. สีกรดย้อมคอนกรีต 

เป็นการเปลี่ยนพื้นโรงจอดรถปูนสีเทาธรรมดาให้มีสีสัน โดยใช้สีกรดย้อมผิวคอนกรีต สามารถใช้เทปกั้นทำลวดลายต่างๆ ได้ตามใจชอบ และเมื่อทำสีเสร็จจะต้องมีการใช้วัสดุเคลือบ กรณีต้องการให้พื้นผิวมีความทนทานต่อแรงขูดขีดสูงอาจเลือกใช้อีพอกซี่

2. หินแกรนิต 

เป็นหินธรรมชาติอีกชนิดที่แข็งแกร่งทนทาน มีความหนาประมาณ 3/4 นิ้ว และขนาดให้เลือกหลากหลาย หากเกิดรอยขีดข่วนบนพื้นผิวจะมองเห็นไม่ชัดมาก สำหรับหินแกรนิตที่นำมาใช้ปูพื้นที่จอดรถควรเป็นแบบผิวหยาบเรียบ ก่อนติดตั้งควรเคลือบด้วยน้ำยา Water Repellent ให้รอบแผ่น เพื่อป้องกันมิให้เชื้อรา ความชื้น และสิ่งสกปรก

3. กระเบื้องเซรามิก 

กระเบื้องเซรามิกปูพื้นลานจอดรถควรเลือกแบบพื้นผิวหยาบ ไม่ลื่น อย่างไรก็ตามหากต้องการให้พื้นผิวมีความทนทาน แนะนำให้ใช้กระเบื้องประเภท "แกรนิตโต้"  ผิวหน้าของแกรนิตโต้มีทั้งชนิดเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว มีขนาดหลากหลายให้เลือกใช้ซึ่งสามารถนำมาปูต่อกันเป็น Pattern ได้ด้วย

4. กรวดล้าง ทรายล้าง 

กรวดล้าง ทรายล้าง มีผิวสัมผัสหยาบขรุขระทำให้ไม่ลื่น แต่ซ่อมแซมและดูแลรักษาค่อนข้างยาก หลังติดตั้งควรเคลือบน้ำยาเพื่อป้องกันการสะสมของตะไคร่ตามซอกหลืบของเม็ดหิน

5. Stamped Concrete 

คือการพิมพ์ลายบนผิวคอนกรีตทับหน้าและเคลือบสี มีหลายสีและหลายลวดลายให้เลือก แต่เนื่องจากลักษณะพื้นผิวเหมือนผิวซีเมนต์ขัดมัน ผิวหน้าจึงอาจลื่นเมื่อเปียกน้ำ จึงควรเคลือบน้ำยากันลื่น

6. Stamped Asphalt  

คือยางมะตอยที่ผสมสีมาในตัวเม็ดแล้วนำมาบดอัดบนพื้นคอนกรีต พิมพ์ลวดลายและพื้นผิวได้ตามความต้องการ มีพื้นผิวหยาบไม่ลื่น ยึดเกาะกับล้อรถยนต์ได้ดี สามารถซ่อมแซมในพื้นที่เล็กๆ เฉพาะจุดได้

7. คอนกรีตบล็อคและกระเบื้องคอนกรีต

ผลิตจากวัสดุคอนกรีตโดยเคลือบสีที่ผิวด้านบน ปัจจุบันมีการพิมพ์ลายและผิวสัมผัสเลียนแบบธรรมชาติด้วย มีขนาดและรูปทรงหลากหลาย สามารถเรียงเป็นลวดลายได้ตามต้องการ การปูบล็อกคอนกรีตสามารถวางบนพื้นผิวทรายที่บดอัดแน่นได้เลย จึงง่ายในการติดตั้งและซ่อมแซม แต่มีจะต้องมีการทำขอบคันหินและปูด้วย Geo Textile เพื่อป้องกันมิให้ทรายไหล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook