6 ผลกระทบอันตรายของการใช้ชีวิตในบ้านรกรุงรัง

6 ผลกระทบอันตรายของการใช้ชีวิตในบ้านรกรุงรัง

6 ผลกระทบอันตรายของการใช้ชีวิตในบ้านรกรุงรัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จะปลายปีแบบนี้ลองสำรวจดูว่าบ้านของคุณมีสภาพเหมือนบ้านที่ผ่านพายุเฮอริเคนมาในแบบที่ไม่สามารถหาอะไรเจอได้ หรือคุณจำได้ไหมว่าคุณทำความสะอาดบ้านครั้งสุดท้ายไปเมื่อไร บางคนอาจคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในบ้านที่รกรุงรัง โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพที่เสียไป ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบ้านที่รกรุงรังนั้นสามารถส่งผลกระทบกับคุณได้มากมาย และนี่คือผลกระทบเหล่านั้น

istockphotoistockphoto

1.ความรกทำให้เกิดความสับสน

สภาพแวดล้อมที่คุณอยู่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ พื้นที่ที่ยุ่งเหยิงสะท้อนสภาพจิตใจที่รก  ดังนั้นหากคุณต้องการให้ชีวิตมีระเบียบ แบบแผน คุณควรมีวินัยในการทำความสะอาดบ้านของคุณ วางหนังสืออย่างเป็นระเบียบ ล้างจานชามในอ่างล้างจานให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังใช้งาน

2.ความยุ่งเหยิงทำให้เกิดความเครียด

จะเป็นอย่างไรเมื่อคุณเหนื่อยและเครียด แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้วเจอที่นอนปูเรียบร้อย ขึงผ้าจนตึง นั่นคงทำให้ความเครียดหรือความเหนื่อยของคุณหายเป็นปลิดทิ้ง ตรงกันข้ามหากคุณกลับไปถึงบ้านแล้วเจอเสื้อผ้าที่สกปรกวางทิ้งไว้บนโซฟา หนังสือพิมพ์ที่วางไม่เป็นที่ คราบกาแฟที่อยู่บนโต๊ะ สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้คุณรู้สึกเครียดอย่างแน่นอน

istockphotoistockphoto

3.ความยุ่งเหยิงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

บ้านรกเพิ่มโอกาสในการเดินสะดุดสิ่งของที่วางอย่างไม่เป็นระเบียบได้ง่ายขึ้น คิดง่ายๆ คือคุณหาแว่นตาไม่เจอแล้วพบว่าคุณนั่งทับมันไว้

4.ความรกทำให้คุณทานอาหารมากขึ้น

การศึกษาในปี 2560 ที่จัดทำร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มทานมากหรือดื่มมากเกินไปเมื่อพวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่รก จากการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างลงเอยด้วยการกินคุกกี้มากขึ้นเมื่อพวกเขามีขนมในห้องครัวที่รกกว่าตอนที่เมื่อพวกเขาจัดระเบียบห้องครัว

istockphotoistockphoto

5.ความรกทำลายสุขภาพจิตของคุณ

การใช้ชีวิตหรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งเหยิงทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า และไม่มีความสุข การศึกษาในปี 2560 เกี่ยวกับสถานที่ทำงานพบว่าสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคุณ 

6.ความยุ่งเหยิงทำให้การสื่อสารเป็นเรื่องยาก

การศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลในปี 2559 แสดงให้เห็นว่าคนที่อาศัยอยู่ท่ามกลางความยุ่งเหยิง มีข้อจำกัดในการเข้าถึงความรู้สึกของกันและกันมากกว่า เมื่อฉากหลังมีความวุ่นวายสูงผู้คนจะถูกรบกวนด้วยสิ่งเร้าต่างๆ รวมไปถึงการแสดงอารมณ์อื่นๆ ด้วย

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook