มาเตรียมความพร้อมให้บ้าน พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติกันดีกว่า

มาเตรียมความพร้อมให้บ้าน พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติกันดีกว่า

มาเตรียมความพร้อมให้บ้าน พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติกันดีกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าจะเป็นพายุ ผนกระหน่ำ หรือความกดอากาศต่างๆทั้งสูงทั้งต่ำ บางช่วงในหนึ่งวันก็มีมาครบ เช้าฝนตกกลางวันร้อนตับแตก กลางคืนเจอลมแรงหลังคาบ้านแทบหลุดอีก เรียกได้ว่าแทบปรับตัวเองแทบไม่ทัน และอาจไม่สบายเอาง่ายๆ บ้านของเราก็เช่นกัน ไม่ใช้ว่าจะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติต่างๆได้ชั่วอายุของเค้า แต่เราต้องเสริมสร้างความแข็งแรงซ่อมโน้นเติมนี้เพื่อปรับให้บ้านของเรา เป็นบ้านที่อยู่สบาย ตลอดไปถ้าพูดถึงชนิดของภัยธรรมชาติที่มักเกิดในบ้านเรา และมีผลกระทบกับบ้านแสนรักของเราแบบจะๆ แต่เราอาจสามารถรับมือได้ นั่นคือ ภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม และภัยธรรมชาติจากลมพายุ นอกจากนี้ล้วนป้องกันได้ยาก ทั้งดินถล่มหรือแผ่นดินไหว เป็นต้นหัวข้อนี้จึงขอนำเสนอวิธีป้องกันและเสริมความแข็งแรงของบ้านของเราเพื่อให้สามารถรับมือ จากภัยธรรมชาติที่เราสามารถ "ป้องกันได้" ในระดับหนึ่ง สำหรับบ้านแสนรักของเรา

1. ภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม : แน่นอนว่าปัญหาเรื่องน้ำท่วมเป็นปัญหาระดับชาติไปแล้ว ไม่ว่าฝนจะตกมากหรือน้อย มันก็ยังพยายามจะท่วมได้สิน่า คิดแล้วน่าปวดใจ งั้นเราลองมาดูวิธีรับมือกันดีกว่า

1.1 ในกรณีที่เรากำลังหาหรือกำลังจะสร้างบ้าน 

- ง่ายที่สุดก็คือหาบ้านที่อยู่ในภูมิศาสตร์ที่น้ำท่วมไม่ถึง และควรหาข้อมูลย้อนหลังไปซัก 5 ปี ถ้าไม่เคยหรือแค่นิดหน่อยก็พอรับได้ และก็ควรไปดูด้วยตัวเองด้วย ว่าถนนทางเข้าจากทางหลักเคยหรือมีโอกาสน้ำท่วมไหม ไม่ไช่เลือกบ้านที่ถนนทางเข้าน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตกอันนี้มันก็ดูจะลำบากเกินไป ก่อนซื้อก็ควรเลือกและหาข้อมูลให้เยอะหน่อยครับ

- ถ้าจำเป็นต้องสร้างบ้านในเขตที่มีความเสี่ยงหรือเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน อาจเพราะเป็นที่มรดก หรือครอบครัวอยู่ในแถบนั้นเป็นส่วนใหญ่ เราจำเป็นต้องรู้ระดับน้ำท่วมสูงสุดที่เคยมีมาในแถบนั้น แล้วกำหนดระดับดินถมให้สูงกว่าระดับนั้นเล็กน้อยหรือใกล้เคียง หรือจะเลือกทำเป็นแบบบ้านยกพื้นให้ระดับพื้นชั้นล่างสูงกว่าระดับน้ำท่วมก็ได้เช่นกัน หรือจะทำเป็นบ้านแบบมีใต้ถุนไปเลยก็เก๋ไม่เบา อาจทำใต้ถุนเป็นห้องรับแขกหรือจอดรถ และใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ outdoor เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากหากเกิดน้ำท่วม แค่นี้ก็พอทำให้ความเสี่ยงที่ข้าวของจะเสียหายหากเกินน้ำท่วมน้อยลงไปมาก

อาคารที่สร้างโดยไม่เช็กระดับน้ำท่วมสุดก็อาจเจอปัญหาเดิมซ้ำๆ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้

ถมระดับดินให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดช่วยลดความเสียงการเกิดน้ำท่วมซ้ำซ้อน 

หากไม่สามารถถมดินได้หรือมีข้อไม่สะดวกในการถมดินก็ใช้การยกระดับพื้นชั้นล่างให้สูงขึ้นแทน 

1.2 ในกรณีที่บ้านของเราอยู่ในเขตที่น้ำท่วมอยู่แล้ว ท่วมซ้ำท่วมซ้อนท่วมได้ทุกปีไป เราก็พอมีหนทางแห่งแสงสว่างกันอยู่บ้างครับ

- ยกบ้านให้สูง หรือที่ภาษาช่างเรียกว่าดีดบ้าน วิธีนี้ค่อนข้างยากและต้องให้วิศวกรผู้ชำนาญเป็นคนดูแล การยกบ้านจะใช้กับบ้านที่เป็นไม้เท่านั้นครับ งบประมาณสูงแต่ได้ผลแน่นอนแถมได้พื้นที่ใต้ถุนไว้ใช้งานด้วย

- ถ้าบ้านเราเป็นบ้านหลายชั้นก็ควรจัดเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ ไว้ในส่วนที่น้ำท่วมไม่ถึง ปรับเฟอร์นิเจอร์ที่เสียหายได้จากน้ำท่วม เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด หรือ MDFแล้วเปลี่ยนเป็นไม้จริง หรือวัสดุทนน้ำชนิดอื่นแทน เป็นต้น

- ตรวจสอบระบบระบายน้ำภายในบริเวณบ้านเป็นประจำอย่าให้อุดตัน โดยอาจจะใช้โซดาไฟ ราดทำความสะอาดคูน้ำเดือน 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรกที่อุดตัดท่อออกไป เมื่อเจอฝนหนักก็จะได้ไม่มีน้ำท่วมเอ่อจากการระบายไม่ทัน

- เตรียมน้ำใช้สำรอง น้ำท่วม....แล้วจะต้องเตรียมน้ำทำไม ถึงเราจะมีน้ำมากมายในช่วงน้ำท่วมแต่เราคงไม่คิดว่าน้ำเหล่านั้นจะนำมาใช้มาดื่มได้จริงใช่ไหมครับ การเตรียมน้ำสำรองก็ควรจะมีเพียงพอสำหรับ 2-3 วัน คิดคำนวณง่ายคือ 1 คนใช้น้ำ 180 ลิตร/คน/วัน บ้านเรามีกี่คนก็คูณจำนวนแล้วคูณวันเอา ก็จะได้ขนาดถังน้ำสำรองที่ควรมี

2. ภัยธรรมชาติจากลมฝนและพายุ : ลมพายุไม่ว่าจะเป็นพายุฝนหรือลมกรรโชกก็ล้วนแต่มีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายให้บ้านเราได้ทั้งสิ้น โดยความแรงของลมนั้นจะแปรผันตามสภาพความกดอากาศ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูเช่น ฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน หรือ ฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาว หรือ ฤดูหนาวไปฤดูร้อน เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะเกิดความกดอากาศเปลี่ยนอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดลม (ในภาคเหนือ กลาง ตะวันออก ตะวันตก กลาง) และฝนหนักกว่าปกติ (ภาคใต้) หากเราไม่ได้เตรียมบ้านของเราให้พร้อมรับสถานการณ์เช่นนี้ ก็อาจจะเกิด ความเสียหายที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้ แล้วเราจะทำอย่างไรได้บ้าง

2.1 ในกรณีที่เรากำลังจะสร้างบ้าน ควรเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาหรือรูปแบบหลังคาให้เหมาะกับสถานที่ตั้ง เช่น บ้านที่อยู่ในเมืองจะโดนผลกระทบน้อยกว่าบ้านที่อยู่ริมทะเลหรือบนภูเขาที่มักจะรับลมรับฝนโดยตรง เป็นต้น

2.2 หากเรามีบ้านอยู่แล้ว ควรสำรวจตามฝ้าเพดานรอบๆ บ้านว่ามีรอยด่างเหมือนน้ำหยดไหม ถ้ามีแสดงว่าอาจมีกระเบื้องหลังคาบางแผ่นแตกหรือรั่ว ให้รีบแก้ไขเปลี่ยนกระเบื้องเสียตั้งแต่ยังไม่เข้าฤดูฝน หรือ หากบ้านเราอยู่ในเขตที่ลมพัดแรง ทุกครั้งที่มีพายุก็เหมือนว่าหลังคาจะบิ่นไปกับมันด้วยทุกครั้ง การทำฝ้าเพดานใต้ชายหลังคานอกบ้านก็เป็นการลดแรงลมทำให้ลมไม่พัดโดนแผ่นหลังคาโดยตรงแบบนี้ก็ปลอดภัยแล้วครับ หรือบ้านไหนที่มีปัญหาฝนสาดเข้าบ้านเวลาเจอพายุฝนชนิดที่เปียกตั้งแต่ชานบ้านทะลุไปถึงหลังบ้าน อันนี้เราก็ควรทำกันสาดที่สามารถกันฝนกันลม เพื่อชะลอความแรงของลมและฝนลงช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีครับ 

นี้อาจเป็นเพียงแนวทางบางส่วนที่ช่วยลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เรามิอาจควบคุมมันได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหาลงได้ เพื่อให้เราอยู่รวมกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุขครับ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ มาเตรียมความพร้อมให้บ้าน พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติกันดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook