ห้องเรียน แผ่นดิน ไหวอยู่ “โรงเรียนบ้านหนองบัว” สถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งปี ใช้ความเรียบง่ายเป็นหลัก

ห้องเรียน แผ่นดิน ไหวอยู่ “โรงเรียนบ้านหนองบัว” สถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งปี ใช้ความเรียบง่ายเป็นหลัก

ห้องเรียน แผ่นดิน ไหวอยู่ “โรงเรียนบ้านหนองบัว” สถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งปี ใช้ความเรียบง่ายเป็นหลัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางตอนเหนือของไทย เมื่อปี พ.ศ.2557 ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อวงกว้างโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย กว่า 73 โรงเรียนได้รับความเสียหาย นักเรียนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน นั่นเป็นเหตุให้องค์กร  D4D (Design for Disasters ) ร่วมกับสถาปนิก 9 ทีมในประเทศที่เข้ามาช่วยเหลือแบบสมัครใจ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระนักพัฒนาสังคม ท่าน ว.วชิรเมธี จากความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสู่การเกิดโครงการ  “ห้องเรียนพอดีพอดี”  ขึ้นมา เพื่อคืนโรงเรียนให้แก่นักเรียนที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ และพร้อมสร้างมาตรฐานของอาคารเรียนใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในเขตแผ่นดินไหวของไทย

บนคำจำกัดความคำว่า “พอดี” ของโครงการนี้ คือ การเลือกใช้วัสดุและวิธีการที่ประหยัด หาได้ง่าย และสามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว  “โรงเรียนบ้านหนองบัว” 1 ใน 9 โรงเรียนจากโครงการ “ห้องเรียนพอดีพอดี” โดยบริษัท  Junsekino Architecture and Design ออกแบบมาตอบโจทย์นี้ได้อย่างชัดเจน และมากไปกว่านั้น ล่าสุด ผลงานนี้ยังไปคว้ารางวัลชนะเลิศการออกแบบระดับเอเชียมาให้คนไทยได้ภูมิใจกัน กับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งปี (Building of the Year) และรางวัล Gold Winner ประเภท B3 Public Amenity Buildings ในงาน ARCASIA Awards for Architecture 2018 (AAA) ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

FB : Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์FB : Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

โรงเรียนบ้านหนองบัว ออกแบบมาเพื่อพร้อมรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว ด้วยวัสดุและดีไซน์ที่โดดเด่น เริ่มต้นด้วยการตกแต่งด้านหน้าอาคารเรียนที่ใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นรั้ว ส่วนอาคารโครงสร้างเหล็กใช้แผ่นซีเมนต์บอร์ดเป็นวัสดุหลัก และนำแผ่นหลังคาลอนใสมาใช้ทั้งในส่วนของผนังและหลังคา ด้วยการสะท้อนแสงของฉนวนกันความร้อนที่หลังคายังให้แสงสะท้อนเข้าไปสู่ส่วนใช้งานในตัวอาคารได้ นอกจากพื้นที่ภายในที่แบ่งออกเป็นห้องเรียนได้ถึง 4 ห้องแล้ว ชานด้านหน้าก็ออกแบบมาให้นักเรียนสามารถวิ่งเล่นและนั่งจับกลุ่มทำกิจกรรมกันได้

Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

“ตัวอาคารแห่งนี้ มีการใช้โครงสร้างเหล็กเป็นวัสดุหลัก การออกแบบโครงสร้างเหล็กโครงกระดูกมีความยืดหยุ่น โครงสร้างสามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังง่ายและรวดเร็วในการสร้างสำหรับสร้างท้องถิ่น โดยโรงเรียนจะมี 4 ห้องเรียนที่กั้นผนัง และพื้นที่ด้านหน้าเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยใช้วัสดุก่อสร้างหลักเป็นเหล็ก และไม้ไผ่เพื่อความแข็งแรง เพิ่มยืดหยุ่นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวอีก ยกเพดานสูงเหมาะกับอากาศของเมืองไทย” คุณจูน เซคิโน สถาปนิกแห่ง  Junsekino Architect and Design บอกเล่าถึงคอนเซ็ปต์การออกแบบ

Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในการออกแบบ นอกจากวัสดุที่ให้ความสำคัญแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สถาปนิกคนนี้ไม่พลาดที่จะใส่ใจในทุกรายละเอียด ทั้งสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ประโยชน์ใช้สอย รวมถึงประสานกับวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นได้อย่างลงตัว คุณจูน เซคิโน ได้ออกแบบให้ช่องหน้าต่างและรั้วด้านหน้าของอาคารใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ มีการใช้ไม้ไผ่เข้ามาผสม มีเหล็กดัด และผ้าตาข่าย คาแรกเตอร์อาคารบางและเบามีลักษณะศาลา แบบสถาปัตยกรรมตามต่างจังหวัดของไทย การยกฝ้าสูงเพื่อแสงที่สะท้อนเข้าห้องเรียนในตอนกลางวัน การระบายอากาศแบบธรรมชาติ การไม่เก็บความชื้น ไม่มีมุมมืดในห้อง มีชายคาที่ยืดยาวบังแดดบังฝนแต่รับลมได้เต็มที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้สถาปัตยกรรมแลดูกลมกลืนไปกับความเป็นอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนและอาจารย์รู้สึกว่าเป็นเจ้าของอาคารหลังนี้อย่างแท้จริง

Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

“ความคิดที่สำคัญที่สุดคือการที่งานออกแบบนี้สามารถพัฒนาต่อได้โดยผู้ใช้จริงคือเด็กและครู ในอนาคตพวกเขาจะสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นตามที่พวกเขาต้องการได้ เช่น พวกเขาสามารถรวมให้สองห้องเรียนเป็นหนึ่งโดยการลบพาร์ทิชันระหว่างสองชั้น หรือในการเลือกใช้ไม้ไผ่ พวกเขาก็สามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายและดีต่อการรับแรงและยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว” คุณจูนบอกเล่าถึงคอนเซ็ปต์การออกแบบที่ต้องการให้ผู้ใช้จริงได้สามารถพัฒนาต่อยอดดัดแปลงอาคารเรียนแห่งนี้ได้ด้วยตัวเอง ด้วยเพราะเขาเป็นเพียงแค่ผู้เริ่มต้นซ่อมแซมในสิ่งที่พังทลายไปเท่านั้น แต่ผู้ที่จะใช้มันและพัฒนามันต่อไปก็คือตัวนักเรียนและคนที่ใช้งานจริงเท่านั้น

Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์Page สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ความมีเสน่ห์รอบด้านของานนี้ ไม่ได้ตอบโจทย์แค่ผู้ใช้งานจริงเท่านั้น แต่ยังสะท้อนกลับมาจากรางวัลอีกมากมายที่เขาได้รับ นอกจากรางวัลที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านหนองบัว โดยการออกแบบของ Junsekino Architect and Design ยังได้รับรางวัลอื่นๆ จากนานาประเทศรอีกทั้งสิ้นรวม 5 รางวัล คือ รางวัล Jury Winner in Primary & High Schools - Finalist in Architecture +Learning จาก Architizer awards 2017 สหรัฐอเมริกา ,รางวัล Winner .architectute and design จาก GERMAN DESIGN AWARD 2017 เยอรมัน ,รางวัล A’Design award and competition . italy -Golden A’design award winner in architecture จาก Building and structure design category 2017-2018 อิตาลี และ Archmarathon international awards milan 2016 finalist อิตาลี

นี่คือหนึ่งในความภาคภูมิใจจากสถาปนิกไทยที่ดอกผลแห่งความตั้งใจดีนี้ไปงอกงามถึงแดนไกล จากเมล็ดพันธุ์ของผู้ให้ ที่ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่หากทำทุกสิ่งด้วยใจ ด้วยความมุ่งมั่น และหวังมอบสิ่งนั้นแก่ผู้รับเพื่อที่จะให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ นี่จึงเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของทุกคน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ รางวัลเหล่านี้จึงตอบแทนทุกคน และตอบแทนสิ่งที่เขาได้ทุ่มเท แต่เหนือสิ่งอื่นใด สำหรับเขาแล้ว   เขาทิ้งท้ายให้เราว่า “สิ่งที่ได้ให้ไปนั้นมีค่ามากมายกว่าสิ่งที่ได้รับกลับมา”

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ ของ ห้องเรียน แผ่นดิน ไหวอยู่ “โรงเรียนบ้านหนองบัว” สถาปัตยกรรมดีเด่นแห่งปี ใช้ความเรียบง่ายเป็นหลัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook