5 วิธีเก็บขยะอันตรายในบ้าน พร้อมวิธีทิ้งที่ถูกต้อง

5 วิธีเก็บขยะอันตรายในบ้าน พร้อมวิธีทิ้งที่ถูกต้อง

5 วิธีเก็บขยะอันตรายในบ้าน พร้อมวิธีทิ้งที่ถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวันๆ หนึ่งเราสร้างขยะต่างๆ มากมายทั้งเศษอาหาร พลาสติก ขยะเปียก ขยะแห้ง รวมไปถึงขยะอันตรายต่างๆ อย่างเช่นถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ น้ำยาทำความสะอาด ยาและเครื่องสำอางหมดอายุ น้ำยาทาเล็บ น้ำยาเปลี่ยนสีผม กระจกเงา กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก ตัวทำละลาย ทินเนอร์ กาว ปากกาเคมีฯ หรือบรรจุภัณฑ์ของสิ่งเหล่านี้ล้วนมีสารเคมีที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน สารที่ทำปฏิกิริยาเคมีสามารถระเบิด ติดไฟ หรือมีความเป็นพิษ

ดังนั้นเราควรรู้จักวิธีจัดเก็บขยะอันตรายเหล่านี้ให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษที่อาจเป็นอันตรายกับเราหรือชุมชน โดยคุณวรรณดี สนชัย ผู้อำนวนการเขตดอนเมืองได้แนะนำถึงการจัดเก็บขยะอันตรายในบ้านให้ปลอดภัยไว้ 5 วิธีด้วยกัน

1.ปิดฝาภาชนะให้แน่นเพื่อมิให้ผลิตภัณฑ์ระเหยหรือรั่วไหลได้

2.เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้ที่ล็อกหรือให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

3.เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้งและเย็นให้ห่างไกลจากแหล่งที่มีความร้อนหรือที่สามารถติดไฟได้

4.ให้เก็บผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุเดิมที่มีสัญลักษณ์หรือข้อความระบุชัดเจน ถ้าภาชนะบรรจุเสื่อมหรือชำรุดให้ใส่ผลิตภัณฑ์พร้อมภาชนะที่บรรจุนั้นลงในถังพลาสติกพร้อมปิดฝาให้สนิท

5.ให้แยกเก็บผลิตภัณฑ์ตามลักษณะความเป็นอันตราย สำหรับวิธีทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้ว คือ เก็บรวบรวมถ่านเก่าใส่ไว้ในถุงดำ แล้วติดป้ายว่า “ขยะพิษ”(เพื่อแจ้งให้คนเก็บขยะทราบ หรือหากมีซากถ่านไฟฉายเป็นจำนวนมาก

โดยสามารถแจ้งฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักเขตที่พักอาศัย วิธีการเช่นนี้สามารถใช้ได้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องสเปรย์ หรือตลับหมึกพิมพ์ด้วย หากในพื้นที่ใดไม่มีถังขยะสำหรับขยะมีพิษให้รวบรวมใส่ถุงพลาสติก เช่นเดิม แล้วเขียนหน้าถุงว่าขยะอันตราย เจ้าหน้าที่จะได้นำไปกำจัดได้ถูกวิธี เพระหากนำไปรวมกับขยะทั่วไป อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนกับดินได้ และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook