"บ้านหลวงพรหมภักดี" บ้านอายุ 86 ปี ของผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก ตอนนี้เป็นบ้านสีฟ้าริมทะเล

"บ้านหลวงพรหมภักดี" บ้านอายุ 86 ปี ของผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก ตอนนี้เป็นบ้านสีฟ้าริมทะเล

"บ้านหลวงพรหมภักดี" บ้านอายุ 86 ปี ของผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก ตอนนี้เป็นบ้านสีฟ้าริมทะเล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากความสวยงามเป็นธรรมชาติของเกาะหมากแล้ว เกาะหมากยังมีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเกาะหมากเป็นเกาะหนึ่งที่อยู่ในทะเลตราดฝั่งอ่าวไทย ในอดีตเมื่อยุคล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตกเกาะหมากเป็นเกาะหนึ่งในเส้นทางการเสด็จประพาสของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โดยพระองค์เคยเสด็จถึง 2 ครั้งและโปรดให้เรือพระที่นั่งจอดบริเวณอ่าวเพื่อประทับแรม

หลวงพรหมภักดีหลวงพรหมภักดีหลวงพรหมภักดี

พื้นที่ 9,500 ไร่ของเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นสวนยางพาราและมะพร้าวที่มีการบุกเบิกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 กระทั่งปี พ.ศ. 2447 หลวงพรหมภักดี หรือนายเปลี่ยน ตะเวทีกุล ซึ่งขณะนั้นเป็นปลัดจีนอยู่ที่จังหวัดประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกงของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) ซื้อเกาะหมากจากเจ้าของเดิมเจ้าสัวเส็ง ปลัดจีนในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงแรกหลวงพรหมภักดีส่งบุตรชายทั้ง 3 คนคือนายอู๋ นายเอิบ และนายอาบ ตะเวทีกุลมาทำสวนมะพร้าวอยู่ก่อน กระทั่งต่อมาหลวงพรหมภักดีจึงได้ย้ายเข้ามาตั้งรกรากบนเกาะหมาก ทำสวนมะพร้าวประมาณ 3-4 พันไร่สร้างเรือนไม้อันสวยงามบนอ่าวสวนใหญ่ หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า ‘บ้านสวนใหญ่’ หรือบ้านเกาะหมาก

หลังจากบ้านสวนใหญ่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมานายอาบ บุตรชายคนเล็กของหลวงพรหมภักดีได้สร้างบ้านสวนพรหมประสาทขึ้นและในปีพ.ศ. 2475 และสร้างส่วนอื่นเพิ่มเติมจนเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2496 เพื่อใช้เป็นที่อยู่ ที่ทำกินอย่างถาวรบนเกาะ คุณน้อง ตะเวทีกุล บุตรชายคนเล็กของนายอาบ และนางเกศศรี ตะเวทีกุล ซึ่งนับเป็นหนึ่งในทายาทรุ่นหลานของหลวงพรหมภักดี และเป็นผู้ครอบครองบ้านหลังนี้ในปัจจุบันเล่าให้ฟังว่า “ตนเองเกิดที่บริเวณชั้น 2 ของบ้านหลังนี้ อาศัยอยู่จนกระทั่งอายุ 3 ขวบก่อนจะนั่งเรือไปเรียนต่อที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพฯ จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศด้านกฎหมาย กระทั่งจบการศึกษาจึงกลับมาดูแลบ้านสืบต่อจากคุณพ่อ”

คุณน้องย้อนเล่าว่าไม้ที่ใช้สร้างบ้านหลังนี้ถูกขนใส่เรือเมล์เหล็กมาจากกรุงเทพฯ โดยไม้แยกมาเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบเป็นตัวบ้าน ซึ่งคุณพ่อได้ว่าจ้างนายช่างสถาปนิกจากวิทยาลัยเพาะช่างในสมัยนั้นมาออกแบบ มีแปลนเขียวมาจากกรุงเทพฯ ตัวบ้านออกแบบโดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 สังเกตได้จากบ้านมีประตูทางเข้าออก 4 ด้าน นอกจากนี้ลักษณะพืิ้นที่ยังมีลักษณะเป็นท้องมังกรตามตำราซินแสแบบจีน ตัวบ้านแบ่งเป็นเรือนพัก โรงครัว และโรงเก็บสินค้า กระเบื้องมุงหลังคาสั่งนำเข้าจากเบลเยียม กระเบื้องปูพื้นบ้านชั้นล่างจากประเทศอิตาลีซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ตามแบบดั้งเดิม ส่วนไม้เดิมสีธรรมชาติได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นไม้ใหม่และทาสีฟ้าเฉกเช่นปัจจุบันแทนการเป็นสีไม้แบบดั้งเดิม

นอกจากนี้รอบๆ ตัวบ้านยังพบบ่อน้ำเก่า ส่วนโรงครัวมีเตาอบขนมปังขนาดใหญ่ โรงอบยาง อยู่ท่ามกลางป่ามะพร้าวที่มีวิวด้านหน้าติดทะเล แม้ปัจจุบันบ้านแห่งนี้จะถูกปรับเปลี่ยนทาสีภายนอกใหม่แล้วก็ตาม แต่ภายในยังคงรูปแบบการออกแบบในสมัยอดีต เฟอร์นิเจอร์บางชิ้นเป็นของดั้งเดิม มีบางส่วนการใช้งานที่ยังคงรูปแบบเดิมไว้เช่นบันไดบ้าน ห้องใต้บันได ราวผ้าม่าน ช่องลมต่างๆ ฯลฯ

เตาอบขนาดใหญ่เตาอบขนาดใหญ่เตาอบขนาดใหญ่

ในปัจจุบันพื้นที่ส่วนหนึ่งของบริเวณบ้านแบ่งสรรเป็นบังกะโล Happy Day ให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก มีบริการร้านอาหาร และยังมีกิจกรรมพิเศษให้นักท่องเที่ยวร่วมสนุกทั้งการทดลองปลูกมะพร้าวในสวนมะพร้าว การทำน้ำมันมะพร้าวแบบสกัดร้อน นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้ามาติดต่อสอบถามรายละเอีียดเพิ่มเติมได้ที่ 089 934 6323,082 488 9844

อ่านเพิ่มเติม >> ฟ้าสวย น้ำใส "เกาะหมาก" ไปครั้งแรกหลงรักเลย

 

 

 

 

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ "บ้านหลวงพรหมภักดี" บ้านอายุ 86 ปี ของผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก ตอนนี้เป็นบ้านสีฟ้าริมทะเล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook