บ้านวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลือ

บ้านวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลือ

บ้านวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลือ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าตัวละครใดจะเปิดตัวออกมา ต้องบอกว่าเรียกกระแสจากคอละครบุพเพสันนิวาสได้หมด เช่นเดียวกับ 'คอนสแตนติน ฟอลคอน' อีกหนึ่งบุคคลในประวัติศาสตร์ซึ่งถูกนำมาเล่าเป็นตัวละครหนึ่งในละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งรีบบทโดยหลุยส์ สก๊อต เองก็ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ฟอลคอน เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาในแผ่นดินอยุธยาและมีบทบาทมากในสมัยนั้น และเพราะการได้รับความไว้ใจและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่คนไทยและถูกประหารชีวิตในท้ายที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >> ค้นข้อมูล "เจ้าพระยาวิชเยนทร์" บุคคลในประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหา

Sanook! Home จึงไปขอข้อมูลจากเพจโบราณนานมาเกี่ยวกับรายละเอียดของบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เพื่อให้เห็นว่าบ้านของคอนสแตนติน ฟอลคอนยังคงหลงเหลือเรื่องราวและร่องรอยจากในอดีต

บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทูตจากประเทศฝรั่งเศสเป็นชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พัก ณ สถานที่ แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า บ้านหลวงรับราชทูต และเนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางสำคัญในสมัยนั้นด้วย แต่ในภายหลังจึงได้ ชื่อว่า 'บ้านวิชาเยนทร์' อีกชื่อหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ ณ ถนนวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น 3 ส่วน สังเกตได้จาก ประตูเข้าด้านหน้า ซึ่งสร้างไว้สำหรับเป็นทางเข้าออกแต่ละส่วนคือ ส่วนทิศตะวันตก ส่วนกลาง และส่วนทาง ทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกเป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่ตึก 2 ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบ ยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ส่วนกลางมีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเข้าใจว่า เป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ 2 ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้ม ประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียว กันกับทางทิศตะวันตก

ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออกก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะ ศิลปะตะวันตก แบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน และที่สำคัญอีกคือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนา ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วมีเสาปลายเป็น รูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแห่งไทย โบสถ์เหล่านี้ถือว่าเป็นโบสถ์คริสตศาสนาหลังแรกในโลก ที่ตกแต่งด้วย ลักษณะ ของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ บ้านวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ยังหลงเหลือ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook