สำรวจตัวเอง คุณกำลังอยู่ในภาวะ “Loop Addict” อาการของคนตกเป็นทาส “ชีวิตวนลูป” อยู่หรือเปล่า

สำรวจตัวเอง คุณกำลังอยู่ในภาวะ “Loop Addict” อาการของคนตกเป็นทาส “ชีวิตวนลูป” อยู่หรือเปล่า

สำรวจตัวเอง คุณกำลังอยู่ในภาวะ “Loop Addict” อาการของคนตกเป็นทาส “ชีวิตวนลูป” อยู่หรือเปล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      ผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทย จากสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอยูโพล เปิดเผย พบว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเบื่อหน่าย (ร้อยละ 70.59) ไม่มีความสุขเลย (ร้อยละ 62.86) รู้สึกหมดกำลังใจ (ร้อยละ 49.46) และไม่อยากพบปะผู้คน (ร้อยละ 41.82) เป็นครั้งคราวถึงบ่อยๆ

      จากผลสำรวจทำให้อดคิดไม่ได้ว่าคนไทยเข้าข่ายอาการของโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า? แต่จริงๆ แล้วอาการเหล่านี้ยังไม่บ่งชี้วัดถึงภาวะซึมเศร้าได้อย่างชัดเจนเสียทีเดียว แต่อาจจะเป็นตัวชี้ว่าคุณอาจจะติดอยู่ใน “ชีวิตวนลูป” หรือ “Loop Addict” แบบไม่รู้ตัว

“ชีวิตวนลูป” ทำให้คนเราตกอยู่ในสภาวะของ “ความเครียด” !


     คนเรามักจะมีกิจวัตรประจำวันที่ทำเหมือนเดิมในทุกๆ วัน ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว ออกจากบ้านไปทำงาน กลับบ้าน อาบน้ำ แล้วเข้านอน วันถัดไปก็ทำเหมือนเดิม มันคือการที่ทำอะไรซ้ำๆ วนๆ ที่เรานิยามมันว่า “ชีวิตวนลูป”

     อริสโตเติล นักปรัชญากรีกโบราณผู้ยิ่งใหญ่ เคยกล่าวไว้ว่า “คุณเป็นในสิ่งที่คุณทำอยู่ซ้ำๆ ความเป็นเลิศ จึงไม่ใช่แค่การกระทำ แต่มันเป็นนิสัย” อย่างบางคนมีชีวิตวนลูปที่ขยันตื่นมาทำงานทุกๆ วันจนได้เลื่อนตำแหน่ง ใช่อยู่ว่าความสำเร็จมาจากการที่ขยันตื่นมาทำงานในทุกๆ วัน แต่ในบางกรณี ในบางคนการที่ขยันตื่นมาทำงานในทุกๆ วัน ที่แม้จะเป็นลูปชีวิตที่ดี แต่เขาอาจจะรู้สึกว่าเป็นชีวิตวนลูปที่แสนน่าเบื่อ รู้สึกเหมือนชีวิตเดินไปข้างหน้าแต่สุดท้ายมันก็กลับมาที่เดิม ท้ายที่สุดเขาก็จะไม่สามารถรับมือกับความรู้สึกเหล่านี้ได้ จนพัฒนากลายเป็น “ความเครียด”

     และบางครั้งคนเราก็เป็นทาสของชีวิตวนลูป ลองถามตัวเองดูว่าคุณรู้สึกผิดไหมหากไม่ได้ทำตามแบบแผนที่วางไว้ในทุกๆ วัน ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” นั่นแสดงว่าคุณเป็นทาสของชีวิตวนลูป หรือเป็น “Loop Addict” ซึ่งการมีชีวิตวนลูปที่เคร่งครัดจนตกเป็นทาสของมัน สามารถทำให้เกิดความเครียดได้เมื่อไม่ได้ทำตามชีวิตวนลูปเดิมๆ

      นอกจากนี้ชีวิตวน ลูปยังทำให้เราเกิด “ความเครียด” สะสม จากสิ่งเร้าภายนอกที่เราควบคุมได้ยากซึ่งเราต้องใช้ชีวิตวนลูปเจอในทุกๆ วัน เช่น การจราจรแสนติดขัดในกรุงเทพฯ, สภาพเศรษฐกิจแย่ๆ ที่ไม่ก้าวไปไหนมีแต่ถดถอยลง, เพื่อนร่วมงานที่คอยสร้างแต่มลพิษในที่ทำงาน, เพื่อนบ้านจอมยุ่งที่ยุ่งชีวิตส่วนตัวไม่เลิก หรือแฟนที่แสนขี้งอน งอนได้แม้กระทั้งลมหายใจ เป็นต้น


ถึงเวลาออกจาก “ชีวิตวนลูป”

     เมื่อเรารู้แล้วว่า “ชีวิตวนลูป” นั้นสามารถทำให้เราเกิดความเครียดได้ ก็ถึงเวลาที่จะก้าวออกมาจากมัน ด้วยเทคนิคต่างๆ เหล่านี้

     - หยุดพักจากชีวิตวนลูป

     เมื่อคุณสำรวจแล้วว่าคุณเป็น “Loop Addict” จนร่างกายเครียดสะสม เสียสมดุลของชีวิต สิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรกเลยคือพยายามหยุดชีวิตวนลูปนี้ให้ได้ เช่น ชีวิตวนลูปของคุณคือการที่ต้องนำงานกลับมาทำที่บ้านทุกครั้ง เลิกงานแล้วแต่ก็กลับมาทำงานที่บ้านต่อ อยากให้ลองเดินออกจากลูปแบบนี้บ้างเพื่อที่จะได้จัดการกับความเครียด ฟื้นฟูร่างกาย อารมณ์และจิตใจให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลอีกครั้ง ด้วยการหากิจกรรมอย่างอื่นทำอย่างไปออกกำลังกายหลังเลิกงาน ว่ายน้ำพร้อมดูพระอาทิตย์ตกดิน ดูหนัง หรือออกไปพบปะสังสรรค์พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวก็ได้

     - อยู่ในสถานที่ที่จะสร้างความแปลกใหม่ให้คุณได้ตลอดเวลา

     การพาตัวเองออกไปเจอสิ่งแปลกใหม่ ใช้ชีวิตที่หลุดจากลูป จะช่วยสร้างความตื่นเต้นให้คุณได้ ซึ่งความตื่นเต้นจากการเจอสิ่งแปลกใหม่นั้นจะทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขหรือโดพามีนออกมา ทำให้เรามีความสุขและผ่อนคลายจากความเครียดได้ ดังนั้นการพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่ต่างออกไปจากเดิม หรืออยู่ในสถานที่ที่มีความหลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการจะยิ่งช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้ชีวิตได้ไม่เบื่อ เช่น หาแหล่งท่องเที่ยวแปลกๆ ใหม่ๆ ให้ตัวเองได้ออกไปเที่ยว หรือถ้าไม่มีเวลามากนักลองทำให้ที่อยู่อาศัยของเราให้มีความหลากหลายในที่เดียว เช่น ทำห้องๆ หนึ่งที่เมื่อเราทำงานเบื่อๆ ก็ลุกขึ้นมาเล่นปิงปองคลายเครียด ดูหนัง เล่นเกม หรือจะปูเสื่อเล่นโยคะตรงนั้นเลย นอกจากจะช่วยลดความน่าเบื่อ ความเครียด ยังช่วยให้ได้ไอเดียใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย

     - สร้างเรื่องราวดีๆ ให้ชีวิตด้วยธรรมชาติ

     มีการศึกษาของสถาบันเพื่อการพัฒนามนุษย์ Max Planck ที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Nature Scientific Reports พบว่าคนที่อาศัยอยู่ใกล้ป่ามีแนวโน้มที่จะจัดการกับอาการเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าได้ดีกว่า เพราะคนที่อยู่ในเมืองมักต้องเผชิญหน้ากับอัตราที่สูงของความท้าทายทางร่างกายและจิตใจ นักวิจัยบอกว่าแม้จะอยู่ในตัวเมือง แต่ถ้าปลูกบ้านอยู่ใกล้ป่า หรือมีพื้นที่สีเขียวในบ้านมาก ยิ่งใกล้ธรรมชาติมาก ยิ่งทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข ดังนั้น เราอาจจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้านให้มากขึ้น หาเวลาพาตัวเองเข้าไปอยู่ในพื้นที่สีเขียวบ่อยๆ หรือใครกำลังเลือกซื้อที่อยู่อาศัยลองเลือกโครงการที่มีพื้นที่สีเขียว เน้นความเป็นธรรมชาติก็เป็นตัวเลือกที่ดี



     ลองจัดการกับ “ชีวิตวนลูป” นี้ดู แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าจะทำได้ เพียงแค่เรารู้วิธีจัดการมันให้อยู่ในระดับที่ทำให้เกิดความเครียดที่พอเหมาะเราก็ไม่ตกเป็นทาสของชีวิตวนลูปหรือ Loop Addict อีกต่อไป

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook