7 เทคนิคจัดการบ้านรก ๆ เพื่อฮวงจุ้ยและชีวิตที่ดีขึ้น

7 เทคนิคจัดการบ้านรก ๆ เพื่อฮวงจุ้ยและชีวิตที่ดีขึ้น

7 เทคนิคจัดการบ้านรก ๆ เพื่อฮวงจุ้ยและชีวิตที่ดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนเคยได้ยินมาแล้วว่า บ้านที่สะอาดเรียบร้อย ไม่รกเลอะเทอะ ทำให้พลังชีวิตในบ้านเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ดีขึ้น แน่นอนว่าคำกล่าวนี้เป็นเรื่องจริง เพราะหลาย ๆ คนได้เห็นกันมาแล้วว่าการจัดบ้านให้เรียบร้อยนั้น ทำให้ชีวิตเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้หากเราตั้งใจไว้ว่า จะกำจัดข้าวของบางอย่าง เพื่อให้บ้านสะอาดเรียบร้อย เพื่อให้ชีวิตมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็ควรจะเริ่มให้เป็นขั้นเป็นตอนดังนี้

1.ลองมองดูรอบ ๆ บ้านและพื้นที่ก่อน ว่ามีสิ่งไหน ที่เราจะนำออกไปทิ้งได้บ้าง สำรวจข้าวของต่าง ๆ ที่เรามีว่าสิ่งใดบ้างที่สมควรจะไปอยู่ในถังขยะ และสิ่งใดบ้างสมควรจะนำไปบริจาค เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะจัดการกับของเหล่านั้นด้วยวิธีใด ก็ให้ลงมือจัดการทันที อย่าผัดวันประกันพรุ่ง สิ่งไหนควรทิ้ง ให้นำออกไปทิ้งเลย ส่วนของบริจาคก็เตรียมไว้ แล้วควรนำไปบริจาคภายในวันหรือสองวัน ไม่เช่นนั้นเราอาจจะไปรื้อออกมาใหม่ด้วยความเสียดายอีก

2.ตั้งคำถามในทุกห้อง เมื่อเวลาที่คุณลงนั่งที่โต๊ะรับประทานอาหาร เพื่อรับประทานอาหารเช้า ก็ให้มองไปรอบ ๆ ห้อง ดูว่ามีอะไรที่เราไม่ใช้บ้าง มีอะไรที่ซื้อมาเก็บไว้เพราะลดราคา หรือของที่มีคนให้มาแล้วไม่ได้ใช้ ก็ให้นำไปให้กับคนที่ต้องการใช้จริง ๆ ลองถามตัวเองว่า เราต้องการใช้ของสิ่งนั้นอยู่หรือไม่ จะนำออกมาใช้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็ให้บริจาคไป และตั้งคำถามนี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในห้องทุกห้อง

3.งานศิลปะ ภาพถ่าย ของขวัญ หรือของแต่งบ้าน ให้เลือกเก็บไว้เฉพาะสิ่งที่ให้ความทรงจำที่ดี ของสะสมต่าง ๆ มักจะมีเรื่องราว ความทรงจำอยู่ ควรเลือกเก็บไว้เฉพาะสิ่งที่เป็นความทรงจำที่ดี เช่น ภาพถ่ายติดผนังในวันรับปริญญา ที่คุณถ่ายกับญาติ แต่กลับไม่มีรูปพ่อแม่ เพราะท่านไม่ว่าง ไม่สามารถมาร่วมงานได้ ภาพที่มีความทรงจำลักษณะนี้ ไม่เหมาะที่จะเก็บไว้ เพราะแฝงไว้ด้วยความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้น อะไรที่เป็นความทรงจำที่ให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ควรเก็บไว้

4.ทำให้ทุกมุมในบ้านเต็มไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น ยินดีต้อนรับ มีความรู้สึกเชิงบวก อะไรที่ทำให้ดูน่าหงุดหงิด ให้นำออกไปไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ภาพถ่าย หรือว่าเฟอร์นิเจอร์ ลองคิดถึงเครื่องปั่นจักรยานเพื่อออกกำลังกายในห้องนั่งเล่น ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้ ตู้เก็บเครื่องมือขนาดใหญ่ในครัว อุปกรณ์ทำอาหารขนาดใหญ่ที่วางจนเต็มเคาน์เตอร์ ทำให้ไม่มีพื้นที่เหลือทำอย่างอื่นอีก ลองถามตัวเองว่า ได้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้บ้างหรือไม่ หากไม่ได้ใช้ ก็ไม่ควรนำมาวางไว้เกะกะและน่ารำคาญใจ

5.ทำให้การจัดเก็บบ้านเป็นเรื่องสนุก ทำให้การจัดบ้านเป็นกิจกรรมของครอบครัว หากบ้านเต็มไปด้วยงานศิลปะและของเล่นของเด็ก ๆ และของพวกนี้ก็กินพื้นที่มาก ก็ควรให้เด็ก ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด ให้ตัดสินใจว่า จะเลือกอะไรไว้ อะไรจะทิ้งหรือจะบริจาค บางทีการนำของเล่นออกไปบ้าง ก็ไม่ได้ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่ดีแต่อย่างใด ในทางกลับกันพวกเขาอาจจะชอบ ที่หาของที่ต้องการเล่นได้ง่ายขึ้น

6.เก็บไว้เฉพาะของที่ใช้งานเท่านั้น วัตถุ สิ่งของทุกอย่างที่มี เราควรจะใช้ อย่าปล่อยให้พลังของวัตถุเหล่านั้นเปล่าประโยชน์ และเปลืองพื้นที่ เช่น หากคุณเก็บเสื้อผ้าที่เคยใช้ตอนตั้งครรภ์ไว้ และไม่ได้คิดว่าจะมีลูกอีก ก็ควรเอาของเหล่านั้นไปให้กับคนที่ต้องการจะใช้ เช่นเดียวกับของเล่นที่ลูกไม่เล่นแล้ว เครื่องดนตรี เครื่องกีฬา ที่ไม่ได้เล่นแล้ว เป็นต้น

7.ไม่ต้องเผื่อไว้ก่อน : หลาย ๆ คน ชอบซื้อของมาเผื่อ เช่น เครื่องครัว ชนิดเดียวกัน ซื้อเผื่อไว้ ยิ่งเผื่อ ก็ยิ่งมีของมากทำให้รก หากจะซื้อของใช้ เผื่อหมดแล้วไม่มีเวลาไปซื้อ ก็เผื่อได้ แต่ไม่ควรเผื่อในปริมาณที่มากเกินไปนัก

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook